วช. เปิดเวทีเสวนา “สู้ภัยน้ำท่วม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” พร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ
เมื่อ : 16 ก.ย. 2565 ,
368 Views
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเสวนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “สู้ภัยน้ำท่วม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อรายงานสถานการณ์ระบบน้ำของประเทศในระยะ 14 วัน และ 3 เดือน ที่ผ่านมา รวมทั้งสร้างการรับรู้และเข้าใจทางวิชาการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งเป็นพลังขับเคลื่อนให้ประชาชนและชุมชนรอดพ้นจากวิกฤตน้ำท่วมไปด้วยกัน ผ่านรูปแบบ Online Conference โปรแกรม Zoom และ Facebook Live โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวนำประเด็นภาพรวมของระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศและสู้ภัยวิกฤตน้ำท่วมในปัจจุบัน ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำของ วช. กล่าวถึง ยุทธศาสตร์เป้าหมายแผนงานบริหารจัดการน้ำ ดร.กนกศรี ศรินนภากร แห่งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) นำเสนอ ระบบคาดการณ์ฝน ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำ และ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการนำแพลตฟอร์มการสื่อสารแก้ไขปัญหาน้ำ ต่อเวทีการเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานเพื่อพัฒนาโจทย์และนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วิกฤตน้ำท่วมในทุกครั้งของประเทศส่งผลต่อความเป็นอยู่ การเดินทาง คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากและมหภาคของประชาชน วช.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขและพัฒนาประเทศ ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมด้านการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนทุนวิจัยให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อนำนวัตกรรมและองค์ความรู้จากการวิจัยในการรับมือปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบในทุกมิติ โดยส่งผ่านงานวิจัยและทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น ทั้งในเชิงนโยบาย เชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมระดับชุมชน
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนปัจจุบันน้อยกว่าปี 2554 แต่ถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย อีก 15 วัน คาดว่าจะมีพายุเข้ามาอีก 1 ลูก ซึ่งทำให้น้ำในเขื่อนมีประมาณ 70 % ทำให้เรามีน้ำเพียงพอในหน้าแล้ง ปีนี้น้ำไม่ได้มาจากแม่น้ำแต่ตกโดยตรงในพื้นที่ถึงมากกว่า 300 mm. ปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องใช้เวลา 2-3 วันในการระบายลงเจ้าพระยา โจทย์ใหม่ตอนนี้ คือ การแก้ปัญหาฝนตกในเขตเมือง ปัจจุบันเรามี One Map ทุกกรมจะอิงข้อมูลจากฐานเดียวกัน วิธีการต่างกันก็มาคุยกันเพื่อดูผล และถกเถียงแก้ปัญหาบนฐานเดียวกัน
ดร.กนกศรี ศรินนภากร นำเสนอต่อเวทีเสวนาถึงระบบคาดการณ์ฝนกึ่งฤดูกาล หรือข้ามฤดูกาลใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกับ AI / Machine learning ร่วมกับดัชนีทางมหาสมุทร รูปแบบลานีญาของ 2554 มีฝนค่อนข้างมากตลอดทั้งปี ซึ่งแตกต่างกับปี 2565 ช่วง 10 ปี ล่าสุดเราพบภาวะอากาศรุนแรง ฝนแล้ง ฝนมาก ทำลายสถิติอย่างละ 2 ครั้ง โดยทำลายสถิติในรอบ 40 ปี ตอนนี้เราอยู่ในช่วง Triple-drip พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ยังมีความเสี่ยงฝนตกหนัก
ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ กล่าวถึงการจำลองเพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยใช้ข้อมูลฝนคาดการณ์ ร่วมกับการปล่อยน้ำจากเขื่อน สถานการณ์น้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้ ไม่เกิดผลกระทบรุนแรงเหมือนปี 2554 จะต้องดูข้อมูลในแต่ละวันตลอดเวลา เพื่อให้บริหารจัดการได้ถูกต้อง
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ นำเสนอถึงระบบป้องกันน้ำเหนือเป็นระบบ holder system มีคันกั้นน้ำรอบพื้นที่ ส่วนภายในเป็นคลองเพื่อระบายน้ำ กรุงเทพมหานครเหมือนแอ่งกระทะ ที่เมื่อมีฝนจะที่ต้องอาศัยระบบสูบน้ำขนาดใหญ่ ระบายจากถนนไปสู่คูคลองและแม่น้ำเจ้าพระยา โครงสร้างคูคลอง บ่อพักน้ำ อุโมงค์ และเทคโนโลยีใหม่อย่าง water bank เพื่อรับน้ำในพื้นที่ต่ำจึงมีความสำคัญ ประเด็นสำคัญที่ทำให้การระบายน้ำช้า เนื่องจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็กและอุดตัน เราอาจจะ upgrade ท่อเก่าหรือขยายท่อด้วยเทคโนโลยีใหม่ หรือการทำ pipe jacking แต่เกิดปัญหาหลุมยุบ เราคุ้นเคยกับการอยู่ในที่แห้ง ยิ่งถมยิ่งทำให้น้ำไม่มีที่ไป การสู้กับ extreme event จะต้องมีการปรับตัว ด้วยโครงสร้างการพักน้ำในพื้นที่ตนเอง
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ในฐานะผู้ทรงวุฒิ วช. กล่าวว่า วช. ยังเน้นการประสานงานเพื่อให้ทุกหน่วยงานทำงานด้วยกันได้บนฐานข้อมูลเดียวกันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามในระยะอันใกล้ยังต้องการงานวิจัยด้านการประเมินพื้นที่หน่วงและเก็บน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณฝนที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดภาวะน้ำรอการระบายสั้นที่สุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ในปีหน้าระบบงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำน่าจะมีการตั้งรับที่ดีขึ้น โดยใช้ข้อมูลและการคาดการณ์ที่แม่นยำเพื่อป้องกันในทุกภัยของวิกฤตน้ำ โดยนักวิจัยจะให้ข้อมูลผู้บริหารแต่ละพื้นที่ว่าน้ำท่า และน้ำฝนเป็นอย่างไร เพื่อให้บริหารจัดการได้ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาพใหญ่ รวมถึงการวิจัยในเชิงนโยบายเพื่อปรับเชิงโครงสร้าง และมีกลุ่มงานวิจัยที่ทำงานเชิงพื้นที่ และการสำรองน้ำใต้ดินเพื่ออนาคต ในปีหน้าเราน่าจะมีการตั้งรับที่ดีขึ้น รวมถึงการให้ข้อมูลเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุอุทกภัย
โดย วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย ได้สนับสนุนงานวิจัยเรื่องการบริหารจัดการน้ำของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อการอุปโภคบริโภค การจัดการน้ำเสีย รวมถึงผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายประเด็น “น้ำท่วม น้ำแล้ง” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่ประสบภัยมาโดยตลอด สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่ง วช. ได้สนับสนุนงบประมาณแก่แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการนำความรู้ วิชาการต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และสื่อสารให้สังคมและชุมชนรับรู้ เข้าใจ และเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการผันแปรของสภาพภูมิอากาศ สู้วิกฤตน้ำท่วมด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วิกฤตน้ำท่วมในทุกครั้งของประเทศส่งผลต่อความเป็นอยู่ การเดินทาง คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากและมหภาคของประชาชน วช.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขและพัฒนาประเทศ ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมด้านการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนทุนวิจัยให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อนำนวัตกรรมและองค์ความรู้จากการวิจัยในการรับมือปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบในทุกมิติ โดยส่งผ่านงานวิจัยและทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น ทั้งในเชิงนโยบาย เชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมระดับชุมชน
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนปัจจุบันน้อยกว่าปี 2554 แต่ถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย อีก 15 วัน คาดว่าจะมีพายุเข้ามาอีก 1 ลูก ซึ่งทำให้น้ำในเขื่อนมีประมาณ 70 % ทำให้เรามีน้ำเพียงพอในหน้าแล้ง ปีนี้น้ำไม่ได้มาจากแม่น้ำแต่ตกโดยตรงในพื้นที่ถึงมากกว่า 300 mm. ปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องใช้เวลา 2-3 วันในการระบายลงเจ้าพระยา โจทย์ใหม่ตอนนี้ คือ การแก้ปัญหาฝนตกในเขตเมือง ปัจจุบันเรามี One Map ทุกกรมจะอิงข้อมูลจากฐานเดียวกัน วิธีการต่างกันก็มาคุยกันเพื่อดูผล และถกเถียงแก้ปัญหาบนฐานเดียวกัน
ดร.กนกศรี ศรินนภากร นำเสนอต่อเวทีเสวนาถึงระบบคาดการณ์ฝนกึ่งฤดูกาล หรือข้ามฤดูกาลใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ร่วมกับ AI / Machine learning ร่วมกับดัชนีทางมหาสมุทร รูปแบบลานีญาของ 2554 มีฝนค่อนข้างมากตลอดทั้งปี ซึ่งแตกต่างกับปี 2565 ช่วง 10 ปี ล่าสุดเราพบภาวะอากาศรุนแรง ฝนแล้ง ฝนมาก ทำลายสถิติอย่างละ 2 ครั้ง โดยทำลายสถิติในรอบ 40 ปี ตอนนี้เราอยู่ในช่วง Triple-drip พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ยังมีความเสี่ยงฝนตกหนัก
ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ กล่าวถึงการจำลองเพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยใช้ข้อมูลฝนคาดการณ์ ร่วมกับการปล่อยน้ำจากเขื่อน สถานการณ์น้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้ ไม่เกิดผลกระทบรุนแรงเหมือนปี 2554 จะต้องดูข้อมูลในแต่ละวันตลอดเวลา เพื่อให้บริหารจัดการได้ถูกต้อง
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ นำเสนอถึงระบบป้องกันน้ำเหนือเป็นระบบ holder system มีคันกั้นน้ำรอบพื้นที่ ส่วนภายในเป็นคลองเพื่อระบายน้ำ กรุงเทพมหานครเหมือนแอ่งกระทะ ที่เมื่อมีฝนจะที่ต้องอาศัยระบบสูบน้ำขนาดใหญ่ ระบายจากถนนไปสู่คูคลองและแม่น้ำเจ้าพระยา โครงสร้างคูคลอง บ่อพักน้ำ อุโมงค์ และเทคโนโลยีใหม่อย่าง water bank เพื่อรับน้ำในพื้นที่ต่ำจึงมีความสำคัญ ประเด็นสำคัญที่ทำให้การระบายน้ำช้า เนื่องจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็กและอุดตัน เราอาจจะ upgrade ท่อเก่าหรือขยายท่อด้วยเทคโนโลยีใหม่ หรือการทำ pipe jacking แต่เกิดปัญหาหลุมยุบ เราคุ้นเคยกับการอยู่ในที่แห้ง ยิ่งถมยิ่งทำให้น้ำไม่มีที่ไป การสู้กับ extreme event จะต้องมีการปรับตัว ด้วยโครงสร้างการพักน้ำในพื้นที่ตนเอง
ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ในฐานะผู้ทรงวุฒิ วช. กล่าวว่า วช. ยังเน้นการประสานงานเพื่อให้ทุกหน่วยงานทำงานด้วยกันได้บนฐานข้อมูลเดียวกันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามในระยะอันใกล้ยังต้องการงานวิจัยด้านการประเมินพื้นที่หน่วงและเก็บน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณฝนที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดภาวะน้ำรอการระบายสั้นที่สุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ในปีหน้าระบบงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำน่าจะมีการตั้งรับที่ดีขึ้น โดยใช้ข้อมูลและการคาดการณ์ที่แม่นยำเพื่อป้องกันในทุกภัยของวิกฤตน้ำ โดยนักวิจัยจะให้ข้อมูลผู้บริหารแต่ละพื้นที่ว่าน้ำท่า และน้ำฝนเป็นอย่างไร เพื่อให้บริหารจัดการได้ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาพใหญ่ รวมถึงการวิจัยในเชิงนโยบายเพื่อปรับเชิงโครงสร้าง และมีกลุ่มงานวิจัยที่ทำงานเชิงพื้นที่ และการสำรองน้ำใต้ดินเพื่ออนาคต ในปีหน้าเราน่าจะมีการตั้งรับที่ดีขึ้น รวมถึงการให้ข้อมูลเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุอุทกภัย
โดย วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย ได้สนับสนุนงานวิจัยเรื่องการบริหารจัดการน้ำของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อการอุปโภคบริโภค การจัดการน้ำเสีย รวมถึงผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายประเด็น “น้ำท่วม น้ำแล้ง” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่ประสบภัยมาโดยตลอด สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่ง วช. ได้สนับสนุนงบประมาณแก่แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการนำความรู้ วิชาการต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และสื่อสารให้สังคมและชุมชนรับรู้ เข้าใจ และเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการผันแปรของสภาพภูมิอากาศ สู้วิกฤตน้ำท่วมด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป