เบื้องหลังเพลง “ทน” กว่าจะขึ้นชาร์ตวันนี้
เมื่อ : 30 ส.ค. 2565 ,
439 Views
“ทน” หนึ่งในผลงานเพลงของ SPRITE x GUYGEEGEE สองศิลปินแรปเปอร์จากค่าย Hype Train ของโปรดิวเซอร์ชื่อดัง NINO ที่ได้สร้างปรากฎการณ์ปังปุริเย่สะท้านวงการบันเทิงไปเมื่อปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นเพลงไทยเพลงแรกบนชาร์ต Billboard Global และแม้ว่า “ทน” จะไม่ใช่เพลงในกระแสปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ดีที่นำมาเรียนรู้ถึงเรื่องของ Power Skill ที่เด็กรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่ยาก
หากมองย้อนกลับไปว่าทำไมเพลงนี้จึงได้รับความนิยมทั้งจากยอดผู้ชมตรง ไม่ว่าจะจากช่องทาง YouTube หรือ Spotify หรือการถูกนำไปใช้ในแอปพลิเคชัน TikTok จนทำให้เพลงติดอันดับ 89 ของชาร์ตในที่สุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ กาย-กล้าไม้ ไมเกิ้ล และ สไปรท์-ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ สองศิลปินคู่ดูโอ้เจ้าของเพลงทน ช่วยกันเล่าถึงเพลงนี้ว่า นอกจากเนื้อร้องของเพลงที่ตรงกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โควิด-19 แพร่ระบาด ที่สะท้อนถึงสภาพสังคมในขณะนั้น ที่ฟังกี่ครั้งกี่รอบก็ “โดนใจ” เมื่อนำมาผสานกับความรักความชอบในการแต่งเพลงของเขาทั้งคู่ การใส่ท่วงทำนอง จังหวะ ของดนตรีที่โดนใจคนรุ่นใหม่ ทำให้เพลงทน ได้รับความนิยมในที่สุด “ด้วยสถานการณ์ตอนนั้น คนลำบากจริงๆ “พี่มีแต่หนี้ก้อนโต” ที่อยู่ในเนื้อเพลง ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมขณะนั้น” สไปรท์กล่าว โดยมีกายช่วยเสริมว่า “เหตุการณ์ ณ ตอนนั้น อะไรก็ปิดหมด ผับปิด นักดนตรีตกงาน พนักงานตกงาน โรงงานปิดกันหลายที่ มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงสภาพสังคมตอนนั้นจริงๆ”
กายและสไปรท์ ช่วยกันเล่าย้อนเหตุการณ์ที่ประทับใจในครั้งนั้นต่อไปอีกว่า หลังได้ทราบข่าวว่าเพลงทนติดอันดับ 89 Billboard ตอนแรกก็รู้สึกแปลกใจ ไม่คิดว่าเพลงจะติดอันดับเพราะเนื้อร้องของเพลงที่เป็นภาษาไทย แต่ก็ทำให้เขาทั้งคู่รู้สึกดีใจ เหมือนเป็นพลังเติมชีวิตหลังจากที่ทุ่มเททำงานกันมาอย่างหนัก ซึ่งการทำงานในเพลงทนนี้ ทีมงานทุกคนต้องใช้ power skill ที่หลากหลายมาก “ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารกันในการทำงาน การคิดคอนเซ็ปต์สร้างเพลง การจัดเวลาที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้งานออกมาตามกำหนด และการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นในทีม และอีกหลายๆ skill” สไปรท์กล่าวพร้อมทั้งเสริมร่วมกับกายเพิ่มเติมว่า หากเพลงไม่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างที่เป็นอยู่นี้ พวกเขาก็คงจะมีความรู้สึกท้อแท้กันบ้าง แต่ก็สามารถจัดการกับความผิดหวังด้วยการเก็บความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ถือเป็นประสบการณ์ที่นำมาพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ในข้อผิดพลาดเพื่อนำมาพัฒนาการทำงานครั้งต่อไป คลิกเพื่อชมคลิปพูดคุยเรื่องนี้
หากมองย้อนกลับไปว่าทำไมเพลงนี้จึงได้รับความนิยมทั้งจากยอดผู้ชมตรง ไม่ว่าจะจากช่องทาง YouTube หรือ Spotify หรือการถูกนำไปใช้ในแอปพลิเคชัน TikTok จนทำให้เพลงติดอันดับ 89 ของชาร์ตในที่สุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ กาย-กล้าไม้ ไมเกิ้ล และ สไปรท์-ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ สองศิลปินคู่ดูโอ้เจ้าของเพลงทน ช่วยกันเล่าถึงเพลงนี้ว่า นอกจากเนื้อร้องของเพลงที่ตรงกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โควิด-19 แพร่ระบาด ที่สะท้อนถึงสภาพสังคมในขณะนั้น ที่ฟังกี่ครั้งกี่รอบก็ “โดนใจ” เมื่อนำมาผสานกับความรักความชอบในการแต่งเพลงของเขาทั้งคู่ การใส่ท่วงทำนอง จังหวะ ของดนตรีที่โดนใจคนรุ่นใหม่ ทำให้เพลงทน ได้รับความนิยมในที่สุด “ด้วยสถานการณ์ตอนนั้น คนลำบากจริงๆ “พี่มีแต่หนี้ก้อนโต” ที่อยู่ในเนื้อเพลง ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมขณะนั้น” สไปรท์กล่าว โดยมีกายช่วยเสริมว่า “เหตุการณ์ ณ ตอนนั้น อะไรก็ปิดหมด ผับปิด นักดนตรีตกงาน พนักงานตกงาน โรงงานปิดกันหลายที่ มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงสภาพสังคมตอนนั้นจริงๆ”
กายและสไปรท์ ช่วยกันเล่าย้อนเหตุการณ์ที่ประทับใจในครั้งนั้นต่อไปอีกว่า หลังได้ทราบข่าวว่าเพลงทนติดอันดับ 89 Billboard ตอนแรกก็รู้สึกแปลกใจ ไม่คิดว่าเพลงจะติดอันดับเพราะเนื้อร้องของเพลงที่เป็นภาษาไทย แต่ก็ทำให้เขาทั้งคู่รู้สึกดีใจ เหมือนเป็นพลังเติมชีวิตหลังจากที่ทุ่มเททำงานกันมาอย่างหนัก ซึ่งการทำงานในเพลงทนนี้ ทีมงานทุกคนต้องใช้ power skill ที่หลากหลายมาก “ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารกันในการทำงาน การคิดคอนเซ็ปต์สร้างเพลง การจัดเวลาที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้งานออกมาตามกำหนด และการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นในทีม และอีกหลายๆ skill” สไปรท์กล่าวพร้อมทั้งเสริมร่วมกับกายเพิ่มเติมว่า หากเพลงไม่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างที่เป็นอยู่นี้ พวกเขาก็คงจะมีความรู้สึกท้อแท้กันบ้าง แต่ก็สามารถจัดการกับความผิดหวังด้วยการเก็บความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ถือเป็นประสบการณ์ที่นำมาพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ในข้อผิดพลาดเพื่อนำมาพัฒนาการทำงานครั้งต่อไป คลิกเพื่อชมคลิปพูดคุยเรื่องนี้
มูลนิธิเอสซีจี ยังมุ่งมั่นทำกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ตามแนวคิด “Learn to Earn” ในการเสริมความรู้และทักษะที่ใช้ในการทำงาน (Hard skill) และ ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Soft skill) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARN
#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #รุ่นนี้ต้องรอด #มูลนิธิเอสซีจี
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARN
#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #รุ่นนี้ต้องรอด #มูลนิธิเอสซีจี