ย้อนรอย 1 ปี สภาองค์กรของผู้บริโภค เชื่อมโยง “ทุกข์ของผู้บริโภค” สู่ ครม. และ กทม.
เมื่อ : 05 ก.ค. 2565 ,
297 Views
(วันที่ 29 มิถุนายน 2565) ก้าวก้าวแรกของสภาองค์กรของผู้บริโภค ในหนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำการแก้ปัญหาผู้บริโภครายบุคคลกว่า 8,000 เรื่องลุล่าว นำเรื่องที่เป็นทุกข์ซ้ำซากของผู้บริโภคเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ กสทช รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ให้แก้ไขเชิงนโยบายที่จะสามารถปลดล๊อก อุปสรรคต่อผู้บริโภคได้ครั้งละหลายสิบล้านคน พร้อมๆ กัน ทำให้เห็นถึงศักยภาพ และความก้าวหน้าเชิงรุกของการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ที่ล้ำหน้าประเทศในอาเซียน ภายใต้ พรบ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พศ, 2562 ที่ขยายศักยภาพจากการเรียกร้องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศ ไปสู่อำนาจทางกฏหมาย
ในการแถลงข่าว “ก้าวต่อไปของสภาองค์กรของผู้บริโภค เสียงสะท้อนเรื่อง “ทุกข์ของผู้บริโภค” นำมาจากทั่วทุกสาระทิศในประเทศในการประชุมสามัญประจำปีที่จัดในโอกาสเดียวกัน รวมทั้งได้เห็นถึงการผลักดันแก้ไขทุกข์สาธารณะตั้งแต่สินค้ารถยนต์ส่วนบุคคลราคาหลายล้าน ไปจนถึงการต่อรองบริการมูลค่าที่ต่างกันเพียง 15 บาท
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงการต่อสู้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้รถไฟฟ้าสาธารณะได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาสูงสุดต่อเที่ยว ที่ 44 บาท ที่ต่างจากราคาที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งไว้ที่ 59 บาท เพียง 15 บาท ที่กำลังเป็นกระแสข่าวร้อน สารี กล่าวว่า “เป็นความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ กับการใช้บริการรถไฟฟ้าที่ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะขึ้นไม่ได้ทุกวัน ด้วยราคารถไฟฟ้าของไทยแพงเกือบที่สุดของโลก นี่จึงเป็นที่มาของข้อเสนอจากสภาองค์กรของผู้บริโภค” อีกสาเหตุหนึ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องคัดค้านราคา 59 บาทนั้น เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ราคา 59 บาท คนไทยใช้บริการรถไฟฟ้าไม่ได้ มีคนจ่ายค่าบริการราคานี้ได้ไม่ถึง 3% ของผู้ใช้บริการขนส่งมวลชน
ข้อเสนอนี้ สารีอธิบายว่า ได้แบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ ขอให้พิจารณาราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ในราคา 44 บาทก่อนหมดสัมปทานปี 2572
“ข้อเสนอหลังหมดสัญญาสัมปทาน สามารถทำค่าโดยสารในราคา 25 บาทได้ ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมที่ประชาชนทุกคนใช้รถไฟฟ้าได้ทุกวัน เรามั่นใจ 25 บาทที่เสนอผู้ว่าฯ ทำได้จริง ขณะที่การจ้างเดินรถเกินสัญญาสัมปทานถึงปี 2585 หรือ อีก 13 ปี นั้น เสนอให้ผู้ว่าฯ จะแก้สัญญามรดกบาปนี้ได้หรือไม่ ทำอย่างไร รวมถึงการนำตั๋วเดินกลับมาใช้ และดูราคาที่ผู้ประกอบการจะกำหนดในอนาคตด้วย”
ขณะที่ บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงอดีตการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความยากลำบาก ตั้งแต่การล่ารายชื่อ การเดินทางไปยื่นหนังสือ ซึ่งเหมือนเป็นเศษกระดาษหน่วยงานราชการรับฟังบ้างไม่รับฟังบ้าง จนรัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นองค์กรอิสระ แต่ผ่านไปเป็นสิบๆ ปี เคลื่อนไหวมาทุกรูปแบบ จนกระทั่งผ่านเป็นกฎหมาย ให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรผู้บริโภคที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 46 และตาม ‘พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562’ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 ซึ่งได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา
“ กฎหมายฉบับนี้ระบุให้สภาฯ เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำข้อเสนอแนะคุ้มครองผู้บริโภคไปถึงรัฐบาล และเป็นตัวแทนฟ้องร้องให้กับผู้บริโภค” ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าว และว่า ก้าวต่อไปสภาองค์กรของผู้บริโภคกับการคุ้มครองผู้บริโภคไทย เชื่อว่า สภาฯ ต้องแบกรับความคาดหวังไว้มาก
สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงกฎหมายการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่มีสภาองค์ของผู้บริโภคเกิดขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมา สภาฯ ทำหน้าที่ ข้อแรกคือ “เพิ่มพลัง” ให้ผู้บริโภคแก้ไขปัญหาของตนเอง มีสมาชิกแล้ 39 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายคือการมีสมาชิกในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เรามีหน่วยงานประจำจังหวัด 13 จังหวัด คอยเป็นแขนเป็นขา ลุกขึ้นมาคุ้มครองสิทธิ์ และพิทักษ์สิทธิ์ให้กับคนทุกกลุ่ม ข้อที่สอง คือทำหน้าที่ “ลด” ความซ้ำซ้อนซ้ำซากปัญหาที่ผู้บริโภคพบเจอ โดยสภาฯ ทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การถูกหลอกจากแก๊งคอลเซนเตอร์ และ ข้อที่สาม การทำรายงานประชาชน จัดทำรายงานปัญหาผู้บริโภคไปยังหน่วยงานต่างๆ ๆ เช่น เรื่องพลังงาน การศึกษา เป็นต้น
“วันนี้มีเรื่องร้องเรียนมาที่สภาฯ ตัวเลข ณ เดือนกุมภาพันธ์ไม่ต่ำกว่า 5,300 เรื่อง อันดับ 1 คือเรื่องการเงินการธนาคาร การถูกหลอก อันดับ 2 เรื่องสินค้าและบริการ” สุภาพร ให้ข้อมูล และยืนยันถึงการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคว่า ไม่ได้เป็นก้างขวางคอ ไม่ได้ทำให้ใครเสียผลประโยชน์ เราพยายามสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดี นี่คือเป้าหมายร่วมกัน
กชนุช แสงแถลง ผู้แทนองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงการทำงานช่วงที่ผ่านมา ทั้งการผลักดันกฎหมาย โดยประชาชน การผลักดันกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. กฎหมายองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการล่ารายชื่อมีความยุ่งยาก ยากลำบาก ดังนั้น การมีสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่เป็นองค์กรแม่คอยมอง หนุน นำ และช่วยสร้างพลังให้กับผู้บริโภค ถือเป็นการหาเพื่อนเกี่ยวร้อย เชื่อมประสาน นี่คือสิ่งที่เราทำมาตลอดคือการสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพราะเราเชื่อว่า ร้องทุกข์หนึ่งครั้งดีกว่าบ่นพันครั้ง
ชยาพร สะบู่ม่วง ผู้แทนคนรุ่นใหม่ กล่าวถึงการที่สภาฯ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมเรื่องการพิทักษ์สิทธิ์คุ้มครองผู้บริโภค หน้าที่ที่สำคัญ คือการสร้างผู้บริโภคให้รู้เท่าทัน และรู้สิทธิ์ของตนเอง โดยเฉพาะกรณีถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าและบริการ
ส่วนบทบาทช่วยผู้บริโภคในพื้นที่นั้น สมศักดิ์ ชมภูบุตร ผู้แทนหน่วยงานประจำจังหวัด/หน่วยงานเขตพื้นที่ และผู้แทนผู้บริโภค กล่าวว่า สภาฯ ถือเป็นองค์กรน้องใหม่ ช่วงเวลาปีกว่าหลังมีกฎหมายการจัดตั้งเกิดขึ้น ความท้าทายคือทำอย่างไรให้ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานภาครัฐยอมรับและเต็มใจเข้ามาทำงานร่วมแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค
จากนั้น เวทีมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตัวแทนผู้บริโภค ที่ประสบปัญหาจากการถูกหลอกขายคอร์สสุขภาพ ในโรงพยาบาล มีสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นที่พึ่งช่วยทำหนังสือยกเลิกคอร์ส และช่วยเจรจาขอคืนเงิน จนได้เงินคืนเต็มจำนวน และกรณีของ “กอล์ฟ” เบญจพล เชยอรุณ นักแสดง บอกเล่าประสบการณ์จากการซื้อรถยนต์ป้ายแดง ที่เจอปัญหาระบบไฟ เกียร์ หลังใช้มาแค่ 1 สัปดาห์
“ผมซื้อรถก็ต้องการของใหม่ ต้องการความสบายใจ ไม่ต้องการรถที่มีปัญหา ผมพยายามติดต่อบริษัทขอเปลี่ยนคันใหม่ แต่ก็ถูกบ่ายเบี่ยง เลยหาข้อมูลจนพบมีสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาฯ ได้เข้ามาช่วยเจรจา จนได้เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ เชื่อว่า หากไม่ได้สภาฯ ระหว่างทางคงจะยุ่งยาก เนื่องจากรายละเอียดเยอะ กระบวนการเหล่านี้เองที่ทำให้หลายคนถอดใจ หากไม่มีองค์กรกลางมาช่วย ทำด้วยตนเองอาจไม่สำเร็จ ฉะนั้น อยากจะบอกว่า ผู้บริโภคมีโอกาสโดนเอารัดเอาเปรียบทุกวัน อย่ามองข้าม เรื่องการรู้สิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ”
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีการประชุมสามัญประจำปี “รู้จัก รู้จริง รู้ใจ” ร่วมกับสมาชิกสภาองค์ของผู้บริโภคกว่า 273 องค์กร ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ สะท้อนการทำงานตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภค และองค์กรสมาชิก พร้อมนำเสนอทิศทางการทำงานช่วยเหลือ คุ้มครอง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 273 องค์กร โดยยึดโยงกับสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคไทยเป็นที่ตั้ง ภายใต้แนวคิดที่ว่า “พลังผู้บริโภค คือ พลังพลเมือง”
ในการแถลงข่าว “ก้าวต่อไปของสภาองค์กรของผู้บริโภค เสียงสะท้อนเรื่อง “ทุกข์ของผู้บริโภค” นำมาจากทั่วทุกสาระทิศในประเทศในการประชุมสามัญประจำปีที่จัดในโอกาสเดียวกัน รวมทั้งได้เห็นถึงการผลักดันแก้ไขทุกข์สาธารณะตั้งแต่สินค้ารถยนต์ส่วนบุคคลราคาหลายล้าน ไปจนถึงการต่อรองบริการมูลค่าที่ต่างกันเพียง 15 บาท
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงการต่อสู้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้รถไฟฟ้าสาธารณะได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาสูงสุดต่อเที่ยว ที่ 44 บาท ที่ต่างจากราคาที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งไว้ที่ 59 บาท เพียง 15 บาท ที่กำลังเป็นกระแสข่าวร้อน สารี กล่าวว่า “เป็นความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ กับการใช้บริการรถไฟฟ้าที่ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะขึ้นไม่ได้ทุกวัน ด้วยราคารถไฟฟ้าของไทยแพงเกือบที่สุดของโลก นี่จึงเป็นที่มาของข้อเสนอจากสภาองค์กรของผู้บริโภค” อีกสาเหตุหนึ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องคัดค้านราคา 59 บาทนั้น เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ราคา 59 บาท คนไทยใช้บริการรถไฟฟ้าไม่ได้ มีคนจ่ายค่าบริการราคานี้ได้ไม่ถึง 3% ของผู้ใช้บริการขนส่งมวลชน
ข้อเสนอนี้ สารีอธิบายว่า ได้แบ่งเป็น 2 จังหวะ คือ ขอให้พิจารณาราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ในราคา 44 บาทก่อนหมดสัมปทานปี 2572
“ข้อเสนอหลังหมดสัญญาสัมปทาน สามารถทำค่าโดยสารในราคา 25 บาทได้ ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมที่ประชาชนทุกคนใช้รถไฟฟ้าได้ทุกวัน เรามั่นใจ 25 บาทที่เสนอผู้ว่าฯ ทำได้จริง ขณะที่การจ้างเดินรถเกินสัญญาสัมปทานถึงปี 2585 หรือ อีก 13 ปี นั้น เสนอให้ผู้ว่าฯ จะแก้สัญญามรดกบาปนี้ได้หรือไม่ ทำอย่างไร รวมถึงการนำตั๋วเดินกลับมาใช้ และดูราคาที่ผู้ประกอบการจะกำหนดในอนาคตด้วย”
ขณะที่ บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงอดีตการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความยากลำบาก ตั้งแต่การล่ารายชื่อ การเดินทางไปยื่นหนังสือ ซึ่งเหมือนเป็นเศษกระดาษหน่วยงานราชการรับฟังบ้างไม่รับฟังบ้าง จนรัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นองค์กรอิสระ แต่ผ่านไปเป็นสิบๆ ปี เคลื่อนไหวมาทุกรูปแบบ จนกระทั่งผ่านเป็นกฎหมาย ให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรผู้บริโภคที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 46 และตาม ‘พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562’ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 ซึ่งได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา
“ กฎหมายฉบับนี้ระบุให้สภาฯ เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำข้อเสนอแนะคุ้มครองผู้บริโภคไปถึงรัฐบาล และเป็นตัวแทนฟ้องร้องให้กับผู้บริโภค” ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าว และว่า ก้าวต่อไปสภาองค์กรของผู้บริโภคกับการคุ้มครองผู้บริโภคไทย เชื่อว่า สภาฯ ต้องแบกรับความคาดหวังไว้มาก
สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงกฎหมายการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่มีสภาองค์ของผู้บริโภคเกิดขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมา สภาฯ ทำหน้าที่ ข้อแรกคือ “เพิ่มพลัง” ให้ผู้บริโภคแก้ไขปัญหาของตนเอง มีสมาชิกแล้ 39 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายคือการมีสมาชิกในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เรามีหน่วยงานประจำจังหวัด 13 จังหวัด คอยเป็นแขนเป็นขา ลุกขึ้นมาคุ้มครองสิทธิ์ และพิทักษ์สิทธิ์ให้กับคนทุกกลุ่ม ข้อที่สอง คือทำหน้าที่ “ลด” ความซ้ำซ้อนซ้ำซากปัญหาที่ผู้บริโภคพบเจอ โดยสภาฯ ทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การถูกหลอกจากแก๊งคอลเซนเตอร์ และ ข้อที่สาม การทำรายงานประชาชน จัดทำรายงานปัญหาผู้บริโภคไปยังหน่วยงานต่างๆ ๆ เช่น เรื่องพลังงาน การศึกษา เป็นต้น
“วันนี้มีเรื่องร้องเรียนมาที่สภาฯ ตัวเลข ณ เดือนกุมภาพันธ์ไม่ต่ำกว่า 5,300 เรื่อง อันดับ 1 คือเรื่องการเงินการธนาคาร การถูกหลอก อันดับ 2 เรื่องสินค้าและบริการ” สุภาพร ให้ข้อมูล และยืนยันถึงการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคว่า ไม่ได้เป็นก้างขวางคอ ไม่ได้ทำให้ใครเสียผลประโยชน์ เราพยายามสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดี นี่คือเป้าหมายร่วมกัน
กชนุช แสงแถลง ผู้แทนองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงการทำงานช่วงที่ผ่านมา ทั้งการผลักดันกฎหมาย โดยประชาชน การผลักดันกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. กฎหมายองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการล่ารายชื่อมีความยุ่งยาก ยากลำบาก ดังนั้น การมีสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่เป็นองค์กรแม่คอยมอง หนุน นำ และช่วยสร้างพลังให้กับผู้บริโภค ถือเป็นการหาเพื่อนเกี่ยวร้อย เชื่อมประสาน นี่คือสิ่งที่เราทำมาตลอดคือการสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพราะเราเชื่อว่า ร้องทุกข์หนึ่งครั้งดีกว่าบ่นพันครั้ง
ชยาพร สะบู่ม่วง ผู้แทนคนรุ่นใหม่ กล่าวถึงการที่สภาฯ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมเรื่องการพิทักษ์สิทธิ์คุ้มครองผู้บริโภค หน้าที่ที่สำคัญ คือการสร้างผู้บริโภคให้รู้เท่าทัน และรู้สิทธิ์ของตนเอง โดยเฉพาะกรณีถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าและบริการ
ส่วนบทบาทช่วยผู้บริโภคในพื้นที่นั้น สมศักดิ์ ชมภูบุตร ผู้แทนหน่วยงานประจำจังหวัด/หน่วยงานเขตพื้นที่ และผู้แทนผู้บริโภค กล่าวว่า สภาฯ ถือเป็นองค์กรน้องใหม่ ช่วงเวลาปีกว่าหลังมีกฎหมายการจัดตั้งเกิดขึ้น ความท้าทายคือทำอย่างไรให้ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานภาครัฐยอมรับและเต็มใจเข้ามาทำงานร่วมแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค
จากนั้น เวทีมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตัวแทนผู้บริโภค ที่ประสบปัญหาจากการถูกหลอกขายคอร์สสุขภาพ ในโรงพยาบาล มีสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นที่พึ่งช่วยทำหนังสือยกเลิกคอร์ส และช่วยเจรจาขอคืนเงิน จนได้เงินคืนเต็มจำนวน และกรณีของ “กอล์ฟ” เบญจพล เชยอรุณ นักแสดง บอกเล่าประสบการณ์จากการซื้อรถยนต์ป้ายแดง ที่เจอปัญหาระบบไฟ เกียร์ หลังใช้มาแค่ 1 สัปดาห์
“ผมซื้อรถก็ต้องการของใหม่ ต้องการความสบายใจ ไม่ต้องการรถที่มีปัญหา ผมพยายามติดต่อบริษัทขอเปลี่ยนคันใหม่ แต่ก็ถูกบ่ายเบี่ยง เลยหาข้อมูลจนพบมีสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาฯ ได้เข้ามาช่วยเจรจา จนได้เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ เชื่อว่า หากไม่ได้สภาฯ ระหว่างทางคงจะยุ่งยาก เนื่องจากรายละเอียดเยอะ กระบวนการเหล่านี้เองที่ทำให้หลายคนถอดใจ หากไม่มีองค์กรกลางมาช่วย ทำด้วยตนเองอาจไม่สำเร็จ ฉะนั้น อยากจะบอกว่า ผู้บริโภคมีโอกาสโดนเอารัดเอาเปรียบทุกวัน อย่ามองข้าม เรื่องการรู้สิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ”
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีการประชุมสามัญประจำปี “รู้จัก รู้จริง รู้ใจ” ร่วมกับสมาชิกสภาองค์ของผู้บริโภคกว่า 273 องค์กร ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ สะท้อนการทำงานตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภค และองค์กรสมาชิก พร้อมนำเสนอทิศทางการทำงานช่วยเหลือ คุ้มครอง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 273 องค์กร โดยยึดโยงกับสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคไทยเป็นที่ตั้ง ภายใต้แนวคิดที่ว่า “พลังผู้บริโภค คือ พลังพลเมือง”