เมื่อ : 28 พ.ย. 2567 , 82 Views
ภัยเงียบ โซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส บ่อเกิดของโรค NCDs  และสถานการณ์โซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ปี 2567 เน้นเตือนอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค

เวลา 09.30 – 12.00 น. (28 พฤศจิกายน  2567) สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย : นายธนพลธ์  ดอกแก้ว  นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย  ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย  และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสำรวจข้อมูลโภชนาการในผลิตภัณฑ์อาหาร 2567 สุ่มสำรวจอ่านฉลากค่าโซเดียมกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป  จำนวน 302 ตัวอย่าง และเครื่องปรุงรส จำนวน 105 ตัวอย่าง  ได้จัดแถลงข่าวเพื่อให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือนภัยใกล้ตัว  จากภัยเงียบโซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส บ่อเกิดของโรค NCDs  โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูฉลากอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ  2. เพื่อรณรงค์ให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการลดปริมาณโซเดียมในอาหาร 3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเก็บภาษีโซเดียม เน้นสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารในทางธุรกิจ  4. เพื่อสำรวจการแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารของเครื่องปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว  และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ    

 

เวลา 09.30 – 12.00 น. (28 พฤศจิกายน  2567) สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย : นายธนพลธ์  ดอกแก้ว  นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย  ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย  และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสำรวจข้อมูลโภชนาการในผลิตภัณฑ์อาหาร 2567 สุ่มสำรวจอ่านฉลากค่าโซเดียมกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป  จำนวน 302 ตัวอย่าง และเครื่องปรุงรส จำนวน 105 ตัวอย่าง  ได้จัดแถลงข่าวเพื่อให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือนภัยใกล้ตัว  จากภัยเงียบโซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส บ่อเกิดของโรค NCDs  โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูฉลากอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ  2. เพื่อรณรงค์ให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการลดปริมาณโซเดียมในอาหาร 3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเก็บภาษีโซเดียม เน้นสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารในทางธุรกิจ  4. เพื่อสำรวจการแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารของเครื่องปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว  และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ    

 

ด้วยปัจจุบันอาหารกึ่งสำเร็จรูปได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก เพราะมีให้เลือกหลากหลายรสชาติ และสามารถเตรียมเสร็จพร้อมรับประทานได้ภายใน 3 นาที  อาหารกึ่งสำเร็จรูปเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ด้วยปัจจุบันตกอยู่ในภาวะที่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา ทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารเพื่อรับประทาน อาหารกึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือโซเดียม และไม่ว่ารสชาติเดิมจากผลิตภัณฑ์จะอร่อยแค่ไหน บางคนก็หนีไม่พ้นกับการปรุงเพิ่ม โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสเค็ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสถั่วเหลือง ผงปรุงรส  ซึ่งปกติคนเราหากกินโซเดียมไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากกว่าที่คิด ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
 

ด้านนางสาวศศิภาตา  ผาตีบ  ผู้สำรวจและนักวิจัย สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ผลสุ่มสำรวจฉลากโภชนาการในกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส   ประจำปี 2567  เริ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์  ในเดือนพฤษภาคม - เดือนกรกฎาคม  พ.ศ.2567  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ  ซื้อจากร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป จำแนกออกเป็น กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 302 ตัวอย่าง กลุ่มเครื่องปรุงรส จำนวน 105 ตัวอย่าง   พบว่าในซองผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย ฉลากอาหาร   ฉลากโภชนาการ (แบบเต็มและแบบย่อ) และฉลากโภชนาการแบบ GDA  ที่มีข้อมูลแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์   สิ่งสำคัญที่สุดคือก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต้องอ่านฉลากทุกครั้ง   ในส่วนของผลสุ่มสำรวจปริมาณโซเดียมในฉลากโภชนาการกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป  จำนวน 302 ตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 3 ประเภท  พบว่า มีปริมาณโซเดียมดังนี้ 

 

1) ประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น จำนวน  236 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่  210 –7200  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 1425.75 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 98 ตัวอย่างและผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 138 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 84 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60.86  มีการปรับราคาลดลงจำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.69  มีค่าโซเดียมที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.42   ค่าโซเดียมที่มีการปรับลดลงอีกจำนวน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.86   10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) อิสึกิ ราเมง คิวชู ฮะกะตะ โอสโซย ดราย (ราเมงกึ่งสำเร็จรูป รสซุปกระดูกหมู) รสหอมน้ำมัน มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 7200 มิลลิกรัม 

2) อิสึกิ ราเมง คิวชู คุรุเมะ โฮโตเมกิ  ดราย (ราเมงกึ่งสำเร็จรูป รสซุปกระดูกหมู) รสกลมกล่อม มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 7200 มิลลิกรัม 

3) อิสึกิ ราเมง คุมาโมโตะ สไปซี่  ดราย (ราเมงกึ่งสำเร็จรูป รสเผ็ด) รสspicy มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 6700 มิลลิกรัม

4) อิสึกิ ราเมง คุมาโมโตะ โมคโคส  ดราย (ราเมงกึ่งสำเร็จรูปรสซุปกระดูกหมู) รสพริกไทยดำ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 6600 มิลลิกรัม 

5) วีฟง เฝอ อินสแตนท์ ไรซ์ นู้ดเดิ้ล วิท ชิคเก้น (ก๋วยเตี๋ยวเฝอกึ่งสำเร็จรูปรสไก่มาพร้อมเนื้อไก่ตุ๋น) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 5400 มิลลิกรัม 

6) มารุไท มิยาซากิ คาระเมน ราเมน (ราเมนกึ่งสำเร็จรูปพร้อมซองเครื่องปรุงรสเผ็ด) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 3780 มิลลิกรัม 

7) ตุ๋นสยาม ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นสมุนไพร มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 3050 มิลลิกรัม 

8) นิสชิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนิสชิน ราโอ รสโซยุ แบบซอง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 2470 มิลลิกรัม  

9) จินไมลาง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสซุปเนื้อเผ็ด มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 2350 มิลลิกรัม และ 

10) ลิตเติ้ลกุ๊ก ราเมงกึ่งสำเร็จรูป ไก่เผ็ดเกาหลี มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 2250 มิลลิกรัม    

 

2) ประเภท โจ๊ก ข้าวต้ม จำนวน 47 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่  0 – 1420  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 587.28 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 24 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 23 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60.86  มีการปรับราคาลดลงจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.04  มีค่าโซเดียมที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.34 ค่าโซเดียมที่มีการปรับลดลงอีกจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.39  10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) มาม่า ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปรสเล้งแซบ (ชนิดซอง) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1420 มิลลิกรัม 

2) มาม่า โจ๊กคัพ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1210 มิลลิกรัม 

3) มาม่าข้าวต้มคัพ ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป รสปลาทรงเครื่อง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1020  มิลลิกรัม 

4) ซื่อสัตย์ ข้าวต้มชามกึ่งสำเร็จรูปรสซุปปลาหมึกแห้ง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1000 มิลลิกรัม 

5) นำเชาซุปเปอร์ไบท์ โจ๊กข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูปผสมปลาซอสเทอริยากิและขิง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 930  มิลลิกรัม 

6) มาม่าโจ๊กคัพ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสไก่ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 880  มิลลิกรัม 

7) คนอร์บิ๊กคัพโจ๊ก โจ๊กข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูปรสหมู มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 870  มิลลิกรัม 

8) คนอร์บิ๊กคัพโจ๊ก โจ๊กข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป รสหมูสาหร่าย มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 870 มิลลิกรัม 

9) มาม่าโจ๊กคัพ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสมาม่าเป็ดพะโล้ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 850 มิลลิกรัม และ

10) คนอร์บิ๊กคัพโจ๊ก โจ๊กข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป รสไก่ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 840  มิลลิกรัม  

 

3) ประเภท  ซุปต่างๆ จำนวน 19 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่  170 – 810  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 471.58 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 10 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ในส่วนของค่าโซเดียมยังคงเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนจากปี 2564   10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) มารุโคเมะ ซุปเต้าเจี้ยวบดกึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 810  มิลลิกรัม   

2) โอทาโกะ ซุปซีฟูดส์สาหร่ายวากาเมะ กึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 690 มิลลิกรัม 

3) โอทาโกะ ซุปมิโสะ กึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 660 มิลลิกรัม 

4) โอทาโกะ ซุปไข่ผสมผักโขม กึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 660 มิลลิกรัม 

5) เลดี้แอนนา ซุปครีมรสเห็ดสองชนิดกึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 560 มิลลิกรัม 

6) โพลาโพร่า ซุปครีมบีทรูทกึ่งสำเร็จรูป ชนิดผง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 530 มิลลิกรัม 

7) เลดี้แอนนา ซุปครีมรสคาบนาร่ากึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 520 มิลลิกรัม 

8) โพลาโพร่า ซุปครีมผักโขมกึ่งสำเร็จรูป ชนิดผง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 490 มิลลิกรัม 

9) โพลาโพร่า ซุปครีมข้าวโพดกลิ่นชีสกึ่งสำเร็จรูป ชนิดผง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 490 มิลลิกรัม และ 

10) โพลาโพร่า ซุปครีมรสกุ้งกึ่งสำเร็จรูป ชนิดผง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 450 มิลลิกรัม


ในส่วนของผลสุ่มสำรวจปริมาณโซเดียมในฉลากโภชนาการกลุ่มเครื่องปรุงรส  จำนวน 102 ตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 4 ประเภท  พบว่า มีปริมาณโซเดียมดังนี้  1)ประเภท ซอส ซีอิ้ว น้ำมันหอย น้ำปลา  จำนวน 69 ตัวอย่าง  มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 85-2560 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 841.09 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 22 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 47 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า  มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 33 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 70.21  มีการปรับราคาลดลงจำนวน 6 ตัวอย่าง ดเป็นร้อยละ 12.76   มีค่าโซเดียมที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.25  มีการปรับค่าโซเดียมลดลงอีกจำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14.89  10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 1)ตราเอ็ม.ยู.เอ็ม น้ำปลาร้าปรุงสุก มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 2560  มิลลิกรัม 2)ตราหอยนางรม น้ำปลาแท้ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1660  มิลลิกรัม 3)ตราชั่ง น้ำปลาแท้ตรา ตราชู มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1620 มิลลิกรัม 4)ตราทิพรส น้ำปลาแท้ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1590 มิลลิกรัม 5) ตราเชฟซีเลคชั่น น้ำปลาผสม มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1540 มิลลิกรัม 6)ตราเมกาเชฟ น้ำปลาแท้ชั้นคุณภาพพิเศษ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1520 มิลลิกรัม 7)ตราปลาหมึก น้ำปลาแท้สูตรออริจินัล มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1490 มิลลิกรัม 8)คนแบกกุ้ง น้ำปลาแท้ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1470 มิลลิกรัม 9)ตราคุ้มค่า น้ำปลาผสมมีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1410 มิลลิกรัม และ 10)ตราหอยเป๋าฮื้อ น้ำปลาแท้ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1380 มิลลิกรัม   2) ประเภท  น้ำปรุงรส พริกแกง กะปิ  จำนวน 20 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 65-1490 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 608.15 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 6 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 14 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 92.85  มีการปรับราคาลดลงจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.14  มีค่าโซเดียมที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.14 ยังไม่มีการปรับค่าโซเดียมลดลงจากปี 2564 10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) ตราชั่ง กะปิตรา ตราชู มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1490 มิลลิกรัม 

2) ตราแม่ประนอม กะปิ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1410 มิลลิกรัม 

3) ตรากุ้งไทย กะปิตรากุ้งไทย มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1220 มิลลิกรัม

4) ตรารอยไทย น้ำแกงส้มพร้อมปรุง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 840 มิลลิกรัม

5) ตราแม่พลอย น้ำพริกแกงส้ม มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 690 มิลลิกรัม

6) ตราแม่พลอย น้ำพริกแกงเขียวหวาน มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 610 มิลลิกรัม 

7) ตราแม่พลอย น้ำพริกแกงพะแนง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 580 มิลลิกรัม 

8) ตรารอยไทย น้ำแกงเขียวหวานพร้อมปรุง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 570 มิลลิกรัม 

9) ตราแม่พลอย น้ำพริกแกงกะหรี่ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 570 มิลลิกรัม และ 

10) ตราแม่พลอย น้ำพริกแกงเผ็ดแดง มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 570 มิลลิกรัม   3) ประเภท ผงปรุงรส  จำนวน 6 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 10-950 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 409.34  เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นำมาสุ่มสำรวจทั้งหมด  6 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) ตรารสดี ผงปรุงอาหารรสหมู สูตรลดโซเดียม มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 950 มิลลิกรัม 

2) ตราเทสตี้ฟิต ผงปรุงรสธรรมชาติ รสผักรวม มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 640 มิลลิกรัม 

3) ตราเทสตี้ฟิต ผงปรุงรสธรรมชาติ รสไก่ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 600 มิลลิกรัม 

4) ตราศาลาแม่บ้าน เครื่องพะโล้เลิศรส มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 240 มิลลิกรัม 

5) ตรานกกระจอกเทศ กานพลู มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 16 มิลลิกรัม และ

6) ตรานกกระจอกเทศ เม็ดยี่หร่า มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 10 มิลลิกรัม

 

4) ประเภท  เนย ชีส  จำนวน 10 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 55-280 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ค่าเฉลี่ย 174.50 โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 2 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์เดิมของปี 2564  จำนวน 8 ตัวอย่าง เปรียบเทียบความต่างพบว่า มีราคาที่เพิ่มขึ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100  มีการปรับค่าโซเดียมลดลงจำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 10 อันดับต้นของผลิตภัณฑ์ยอดเค็ม ดังนี้ 

1) ตราอลาวรี่ เชดด้าชีสสไลซ์โปรดักส์(ซิงเกิ้ล)(ผลิตภัณฑ์จากชีส) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 280 มิลลิกรัม 

2) ตราอิมพีเรียล เชดด้าชีส ชนิดแผ่นห่อเดี่ยว มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 280 มิลลิกรัม 

3) ตราอิมพีเรียล ดูโอ้ชีส มิกซ์ สไลซ์ โปรดักท์ (ผลิตภัณฑ์จากชีส) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 250 มิลลิกรัม 

4) ตราอลาวรี่ อีดัมชีสสไลซ์โปรดักส์ (ผลิตภัณฑ์จากชีส) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 210 มิลลิกรัม 

5) ตราอลาวรี่ ผลิตภัณฑ์เชดด้าชีสชนิดแผ่นห่อเดี่ยวกลิ่นพิซซ่า มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 210 มิลลิกรัม 

6) ตราอลาวรี่ เกาด้าชีสสไลซ์โปรดักส์ (ผลิตภัณฑ์จากชีส) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 200 มิลลิกรัม 

7) ตรา บลูแบนด์ มาร์การีน รสออริจินอล(เนยเทียม) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 110 มิลลิกรัม 

8) ตราคิวพี มายองเนส มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 85 มิลลิกรัม 

9) ตราอิมพีเรียล เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น โอลีฟ สเปรด มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 65 มิลลิกรัม และ

10) ตราอลาวรี่ เนยกระเทียมและสมุนไพร (ผลิตภัณฑ์เนยผสม) มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 55 มิลลิกรัม

 

ปัญหาในการสุ่มเก็บตัวอย่างพบว่า 

1.ไม่มีวันผลิตแต่มีวันหมดอายุระบุไว้ในภาชนะบรรจุ  

2. มีบางผลิตภัณฑ์หมดอายุแล้วแต่ยังมีวางจำหน่าย 

3. เครื่องปรุงบางชนิดไม่มีฉลากโภชนาการแต่มีฉลาก GDA  

4. ฉลากโภชนาการมีขนาดเล็กทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงยาก 

5. ผลิตภัณฑ์นำเข้าบางชนิด ไม่ติดฉลากภาษาไทย


ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี และหัวหน้าศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การลดบริโภคเกลือ (โซเดียม) มีผลดีต่อสุขภาพและยังช่วยลดค่ารักษาพยาบาลของประเทศ การรณรงค์ให้ได้ผลดีต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน และต้องใช้มาตราการต่างๆ ร่วมกันทั้งการสร้างความตระหนักรู้ การปรับสูตรอาหาร มาตรการทางกฏหมายและข้อบังคับเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศไทย กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขและทุกภาคส่วนได้ ดำเนินแผนยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยปี 2559-2568 และตั้งเป้าหมายลดบริโภคเกลือโซเดียม 30% ในปี 2568 เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี โดยจัดตั้งการให้บริการอาหารสุขภาพลดเค็มใน 83 โรงพยาบาล และชุมชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งการให้บริการอาหารสุขภาพลดเค็มในมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งที่ศาลายาและพญาไท โดยการรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค สอนผู้ประกอบการในการปรับสูตรอาหารเป็นเมนูทางเลือก และใช้เครื่องวัดความเค็มที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการทดสอบอาหาร นอกจากนี้เครือข่ายลดบริโภคเค็มยังร่วมมือกับเชฟอาจารย์ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยและสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจร้านอาหาร สมาคมภัตตาคารไทยได้มีส่วนร่วมในการจัดอาหารที่ดีต่อสุขภาพในร้านอาหาร


ในส่วนอาหารอุตสาหกรรม พบว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กซอง ขนมกรุบกรอบ ยังมีปริมาณโซเดียมในระดับที่สูงมากโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขควรเข้ามามีบทบาทในการกำหนดเพดานโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย รวมทั้งการควบคุมการตลาดของอาหารที่เป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ ในขณะเดียวกันกระทรวงการคลัง ควรจัดเก็บภาษีโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูงเกินค่าที่ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่งเสริมผู้ผลิตให้มีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อลดโซเดียม อย่างที่เห็นผลมาแล้วจากการจัดเก็บภาษีความหวานในเครื่องดื่ม


ด้าน Christine Johnson Resolve to Save Lives กล่าวว่า เรา (Resolve to Save Lives) มีความยินดีที่ได้ร่วมในการแถลงข่าวข้อมูลด้านสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการกำหนดเป้าหมายการลดปริมาณโซเดียมในอาหารตามข้อแนะนำด้านสุขภาพระดับโลก ในนามของ Resolve to Save Lives ขอแสดงความยินดีกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม และหน่วยงานภาคีที่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณโซเดียม และเราขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยเดินหน้านโยบายการปรับสูตรเพื่อลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารแบบภาคบังคับ


Resolve to Save Lives ในฐานะองค์กรสาธารณสุขระดับโลกที่มุ่งมั่นในการช่วยชีวิตประชาชนผ่านมาตรการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด แนะนำมาตรการต่างๆ เพื่อลดการบริโภคโซเดียมจากอาหารสำเร็จรูป รวมถึงนโยบายระดับชาติที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารที่มีโซเดียมต่ำและดีต่อสุขภาพ นโยบายและมาตรการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลประกอบด้วย การกำหนดเพดานปริมาณโซเดียมสูงสุด การติดฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ การเก็บภาษีอาหารที่มีโซเดียมสูง และการควบคุมการทำการตลาดหรือโฆษณาอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก การกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูปเป็นหนึ่งใน “Best Buy” ขององค์การอนามัยโลก หมายความว่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการ ข้อเสนอของเครือข่ายลดบริโภคเค็มในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารพร้อมรับประทาน ซอส และเครื่องปรุงรส สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับโลกและเป็นมาตรการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในประเทศอื่น ๆ เมื่อครั้งที่ดิฉันได้ทำงานที่สำนักอนามัยของนครนิวยอร์ก เราได้กำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูปหลากหลายประเภท ในช่วงห้าปีที่เราติดตามการปรับสูตรของภาคอุตสาหกรรม เราพบว่าปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูปนั้นลดลงเกือบ 7% ประเทศอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในประเทศที่บุกเบิกการใช้นโยบายบังคับเพื่อลดการบริโภคโซเดียม ปัจจุบันอาร์เจนตินามีการกำหนดเพดานปริมาณโซเดียมที่บังคับใช้ในอาหารหลากหลายประเภท โดยมีการบังคับใช้อย่างเข้มข้นในหลายหมวดหมู่อาหาร


เมื่อมองมายังประเทศไทย มีการศึกษาล่าสุดโดยองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การศึกษาพบว่าปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชีย แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมสูงนั้นสามารถปรับสูตรให้มีโซเดียมน้อยลงได้ การบังคับใช้มาตรการปรับสูตรเพื่อลดปริมาณโซเดียมและการเก็บภาษีอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นนโยบายที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ การดำเนินนโยบายเหล่านี้จะช่วยรักษาชีวิตคนไทยและลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของภาครัฐไทยได้หลายล้านบาท และยังเป็นการแสดงบทบาทนำของรัฐบาลไทยในการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทยอีกด้วย


ด้านนางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า  จากข้อมูลของ World Instant Noodles Association ปี 2566คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปริมาณ  3950 ล้านเสิร์ฟ เป็นอันดับ 9 ของโลก ในยุคแห่งการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ หลายคนชอบกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะอิ่มท้อง ปรุงง่าย และรสชาติอร่อย แต่ก็จัดเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งเกิดจากการ“กินเค็มมากเกินไป” ทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโรคไตวายตามมาได้ 


จากโครงการสำรวจครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” มีคำแนะนำว่า การเลือกซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูปต้องเลือกที่ระบุชื่อของผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตอย่างชัดเจน มีเลขสารบบอาหาร ซึ่งแสดงว่าได้ขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าจาก อย.เรียบร้อยแล้ว ต้องบอกปริมาณเป็นระบบเมตริก เพื่อให้เปรียบเทียบกับสินค้าอย่างเดียวกัน แต่คนละยี่ห้อได้ ซึ่งจะทำให้ได้สินค้าที่สมกับราคา ผู้บริโภคต้องอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารก่อนทุกครั้ง และควรระวังเด็กๆ ที่ชอบกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยไม่ได้ต้มก่อน เพราะเมื่อบะหมี่ตกถึงกระเพาะจะดูดน้ำจากส่วนอื่นของร่างกายทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ถ้ากินมากๆ และไม่ดื่มน้ำตามก็อาจจะเกิดอาการวิงเวียนหรือหน้ามืดได้
- หากไม่อยากได้รับโซเดียมจากการกินราเมง หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกินไป ให้ต้มเส้นในน้ำเดือด 1-2 นาที แล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นเติมน้ำต้มจนสุก ไม่ใส่ผงปรุงรสหมดซอง ใส่แค่ครึ่งเดียวและใส่น้ำน้อยๆ และไม่ซดน้ำซุปจนหมดเกลี้ยงถ้วย 
- ไม่กินเป็นอาหารหลัก ควรเพิ่มผัก ไข่ เนื้อสัตว์ หรือเต้าหู้ เพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารให้ได้ครบหมู่
- ไม่ควรกินเกินวันละ 1 ซอง / ไม่เกินสัปดาห์ละ 2-3 ซอง และไม่ควรกินดิบ
- เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้ง ห่างไกลจากมดและแมลงจะเจาะเข้าไปได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรค
- การดื่มน้ำมากๆ เมื่อบริโภคอาหารที่มีโซเดียมปริมาณมาก ไม่ได้ช่วยให้โซเดียมในร่างกายลดลง แต่ทำให้เลือดมีปริมาตรเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้  
ด้านนายธนพลธ์  ดอกแก้ว  นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย  กล่าวทิ้งท้ายว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 1 ของโครงการสำรวจข้อมูลโภชนาการในผลิตภัณฑ์อาหารในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นการติดตามสถานการณ์โซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ปี 2567 และติดตามการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ที่เคยนำมาสำรวจตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 ในปีนี้ยังเน้นย้ำเช่นเดิมคือให้ผู้บริโภคหันมาอ่านฉลากกันแบบจริงจังก่อนที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทุกวันนี้โรค NCDs เกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยสูงมากเนื่องจากการบริโภคโซเดียมเกินปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ในข้อมูลจากผลสำรวจ ทั้งสองกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้รวบรวมปัญหาหลายๆด้านออกมาเป็นข้อเสนอดังนี้  ข้อเสนอต่อผู้บริโภค 1)เพื่อให้ผู้บริโภคต้องอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อลดภาวะเลี่ยงเกิดโรค NCDs
ข้อเสนอต่อผู้ประกอบการ  

 

1) ให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร  

2) ให้ผู้ประกอบการจัดทำฉลากให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่าย  และ

3) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทต้องมีฉลาก GDA  ข้อเสนอต่อหน่วยงาน 

 

1) ให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร   

2) สนับสนุนให้เกิดมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเก็บภาษีโซเดียม เน้นสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารในทางธุรกิจ  

3) ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผลักดันฉลากสีสัญญาณไฟจราจร เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการอ่านฉลาก  4) ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุหลักสูตรเรื่องการอ่านฉลากให้กับเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา (สุขภาพดีแต่วัยเด็ก) 

5) ให้มีมาตรการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก   

6) ให้มีกฎหมายควบคุมเพดานปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์   

7) ให้ภาครัฐสนับสนุนและชดเชยสินค้าประ.เภทลดโซเดียม   และ 

8) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทมีฉลาก GDA

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ