ถอดหลักสูตร “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวแซ่บ” รร.ผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 7 จ.ขอนแก่น มิติใหม่ของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่วัดผลได้จริง
เมื่อ : 17 ม.ค. 2565 ,
967 Views
“เพลงผู้สูงอายุฟันแข็งแรงแปรง 222” “เพลงฟันดีร้อยปี” รวมไปถึง คู่มือฉบับพกพา “ฟันดี กินได้ กลืนง่าย” เหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการต่อยอดในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภายใต้การดำเนิน “โครงการการพัฒนาและประเมินผลแผนการเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 7” โดย ดร.ทพญ. ศริญทิพย์ ชาลีเครือ และคณะมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งยังเป็นโครงการที่ได้รับรางวัลจากการประกวด “ไลอ้อนเพื่อสุขภาพช่องปาก” (Lion Oral Health Award) ประจำปี พ.ศ.2564 โดยชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยการสนับสนุนของสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
ดร.ทพญ.ศริญทิพย์ ชาลีเครือ
“แนวคิดโครงการฯ มาจากการเล็งเห็นว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการดูแลในระยะยาว โรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เราค้นพบได้ว่าการที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีควรจะเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ท่านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มติดบ้านติดเตียง ดังนั้นกลุ่มงานทันตจึงมีการลงพื้นที่โดยบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ทันตบุคลากร จิตอาสาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพองค์รวมที่ดี” ดร.ทพญ.ศริญทิพย์ ชาลีเครือ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กล่าว
การดำเนินการเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อดูว่าแต่ละแห่งนั้นมีการทำกิจกรรมใดบ้าง หลังจากนั้นนำมาจัดทำหลักสูตรที่มีชื่อว่า “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวแซ่บ” และได้นำไปใช้กับผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 7 จ.ขอนแก่น ภายใต้สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม โดยไม่เน้นเพียงแค่การดูแลสุขภาพช่องปาก แต่มุ่งดูแลสุขภาพองค์รวม ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลความพึงพอใจ สุขภาพ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่
นอกจากนี้ยังได้สร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ด้วยการคิดโครงการออกกำลังกายโดยการฟ้อนรำ ซึ่งได้มีการแต่งเพลงขึ้นมา ได้แก่ เพลงผู้สูงอายุฟันแข็งแรงแปรง 222, เพลงฟันดีร้อยปี และ การจัดทำคู่มือ “ฟันดี กินได้ กลืนง่าย” ฉบับพกพาขนาดเล็ก เป็นต้น โดยเนื้อหาของเพลงและคู่มือจะเกี่ยวข้องกับการแปรงฟันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อสร้างการจดจำและให้ผู้สูงอายุนำไปใช้ในการดูแลตนเอง
สำหรับผลการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2560 - 2563 หลังจากมีการจัดการอบรมอย่างต่อเนื่อง พบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้านร่างกาย อารมณ์ ซึ่งก่อนที่จะมาเรียนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ค่อยดีนัก ซึ่งโครงการนี้จะได้ขยายผล ไปสู่โรงเรียนผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆ ต่อไป
ดร.ทพญ.ศริญทิพย์ ชาลีเครือ
“แนวคิดโครงการฯ มาจากการเล็งเห็นว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการดูแลในระยะยาว โรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เราค้นพบได้ว่าการที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีควรจะเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ท่านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มติดบ้านติดเตียง ดังนั้นกลุ่มงานทันตจึงมีการลงพื้นที่โดยบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ทันตบุคลากร จิตอาสาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพองค์รวมที่ดี” ดร.ทพญ.ศริญทิพย์ ชาลีเครือ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กล่าว
การดำเนินการเริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อดูว่าแต่ละแห่งนั้นมีการทำกิจกรรมใดบ้าง หลังจากนั้นนำมาจัดทำหลักสูตรที่มีชื่อว่า “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวแซ่บ” และได้นำไปใช้กับผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 7 จ.ขอนแก่น ภายใต้สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม โดยไม่เน้นเพียงแค่การดูแลสุขภาพช่องปาก แต่มุ่งดูแลสุขภาพองค์รวม ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลความพึงพอใจ สุขภาพ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่
นอกจากนี้ยังได้สร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ด้วยการคิดโครงการออกกำลังกายโดยการฟ้อนรำ ซึ่งได้มีการแต่งเพลงขึ้นมา ได้แก่ เพลงผู้สูงอายุฟันแข็งแรงแปรง 222, เพลงฟันดีร้อยปี และ การจัดทำคู่มือ “ฟันดี กินได้ กลืนง่าย” ฉบับพกพาขนาดเล็ก เป็นต้น โดยเนื้อหาของเพลงและคู่มือจะเกี่ยวข้องกับการแปรงฟันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อสร้างการจดจำและให้ผู้สูงอายุนำไปใช้ในการดูแลตนเอง
สำหรับผลการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2560 - 2563 หลังจากมีการจัดการอบรมอย่างต่อเนื่อง พบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้านร่างกาย อารมณ์ ซึ่งก่อนที่จะมาเรียนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่ค่อยดีนัก ซึ่งโครงการนี้จะได้ขยายผล ไปสู่โรงเรียนผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆ ต่อไป