เมื่อ : 12 ม.ค. 2565 , 840 Views
กทปส. หนุนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมสัญชาติไทย
สำหรับภารกิจของ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือ กองทุน กทปส. คือเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี รวมถึงการให้ทุนเพื่อหวังเป็นอีกฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศ

 

 
 
นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุน กทปส. เปิดเผยว่า ทิศทางการสนับสนุนการพัฒนาวิจัย ยังคงมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สาธารณะและหวังให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อย่างครอบคลุม ผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนา การเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อทุกมิติ และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การคุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องตามนโยบายของรัฐ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพงานวิจัยสู่การใช้งานจริง โดย กองทุนฯ ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติการกองทุนระยะ 4 ปี พ.ศ. 2563-2566 เช่น แผนเอไอแห่งชาติ รวมถึงนโยบายแห่งรัฐที่มีการกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 
 
ล่าสุด  กทปส. ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย โดยมีตู้รวมไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการป้องกันความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และทราบถึงสาเหตุของปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่เกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งเตือนความผิดปกติของปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อช่วยในการประหยัด  โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี HoME@Cloud  ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 ของนักวิศวกรไทย เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้ายุคดิจิทัล

“โครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งสำคัญคือการจัดการองค์รวมของระบบ IoT โดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อการป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เยาว์และผู้ด้อยโอกาส  นอกจากนี้ยังติดตั้งและใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง  โดยในวันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินการติดตั้งและใช้ระบบ ณ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และบริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี  ทั้ง 2 แห่งซึ่งรูปแบบารใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพที่รองรับการใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กจนถึงใหญ่” ขอบคุณข่าวโดยเช้านี้ที่หมอชิต ช่อง 7
 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ