ตีโจทย์การพัฒนาธุรกิจใหม่: ผสานศักยภาพ Ai และ Expertise เพื่อสร้างหน่วยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน
LiB Consulting เผย 6 ขั้นตอนการพัฒนาธุรกิจใหม่ ร่วมกับการใช้ Ai สนับสนุนการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบรับทุกการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งที่รวดเร็ว ซึ่งคำว่า “Business Disruption” ได้ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลาหลายปีและกำลังส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อย ในยุคแห่ง “AI Disruption” ที่ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำงานของเราทุกคน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจชั้นนำในปัจจุบันยังใช้ AI มาสนับสนุนการวิเคราะห์และสร้างฉากทัศน์ธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปสู่การสร้างโมเดลและกลยุทธ์ธุรกิจสู่ความสำเร็จต่อไป โดย LiB Consulting เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ความสามารถของ AI มาสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญของบริษัทในการสร้างสรรค์หน่วยธุรกิจใหม่ให้แก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ
กรณีศึกษาการใช้ AI วิเคราะห์ขีดความสามารถการแข่งขันและแนวทางธุรกิจใหม่ บริษัทแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจการผลิตยางรถยนต์ ต้องการทำธุรกิจใหม่โดยใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ทว่า ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ดังนั้น LiB Consulting จึงใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ทรัพยากร โดยให้คนวิเคราะห์จุดแข็งต่าง ๆ ของบริษัทออกมาก่อน และมาเขียน prompt ให้ AI เรียนรู้ว่าบริษัทมีขีดความสามารถใดบ้าง และใส่ฐานข้อมูลธุรกิจทั่วโลกเข้าไปเพื่อให้ AI คัดกรองข้อมูลเบื้องต้นออกมา
AI สามารถผลิตไอเดียธุรกิจใหม่ได้กว่า 10000 ไอเดีย ในเกือบ 100 อุตสาหกรรม และเรียงลำดับคะแนนความน่าสนใจ ซึ่งคะแนนนี้คำนวณจากความเหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง ความต้องการของตลาด และ ความยากในการเข้าสู่ตลาด เป็นต้น ด้วยความช่วยเหลือและการแนะแนวจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้ AI Support สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลไปได้กว่าครึ่ง ซึ่งกระบวนการใช้ AI นี้ ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ในการสร้างสรรค์หน่วยธุรกิจใหม่นั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อมีความรู้ด้านธุรกิจและมีการใช้ AI ควบคู่ไปอย่างถูกต้อง ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น LiB Consulting ได้เรียบเรียง 6 ขั้นตอนสู่การพัฒนาธุรกิจใหม่อย่างยั่งยืนเพื่อให้ผู้ประกอบการรับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในปัจจุบันไว้ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Setting Objectives and Goals) องค์กรควรเริ่มต้นด้วยวิเคราะห์ฉากทัศน์ในอนาคต ซึ่งต้องพิจารณาถึงผู้บริหารและองค์กรเพื่อสร้าง “ความเข้าใจร่วมกัน” และ “ขอบเขตความสนใจ” ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ให้ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น นับตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ / พันธกิจใหม่และวัตถุประสงค์ใหม่ ไปจนถึงการวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญคือการพิจารณาถึงทรัพยากรและจุดแข็งในปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้ในธุรกิจใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะทำให้การกำหนดขอบเขตธุรกิจมีความชัดเจนและสอดคล้องกับความเป็นจริง
2. การสำรวจความท้าทายของตลาด/ธุรกิจในปัจจุบัน (Explore Market Issues) จุดประสงค์เพื่อสำรวจถึงปัญหาหรือความท้าทายในหลาย ๆ มิติ โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่
- การวิเคราะห์สภาวะภาพรวมตลาด (Environmental Analysis)
- การระบุปัญหาสำคัญ (Identification of Critical Troublesome Children)
- การประเมินความเสียหายจากปัญหาและฉากทัศน์ที่อาจเกิดขึ้น (Assessment of the Trouble Child Definition of the Scenario)
ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในอุตสาหกรรมผสานการทำงานของ Ai ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่แม่นยำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ และเข้าสู่การกำหนด “แคปซูลมูลค่า” (Value Capsule)
3. การค้นหาโซลูชันที่จำเป็น (Searching for Solutions)
ผู้ประกอบการควรทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลมาตรฐานทางธุรกิจของอุตสาหกรรมใหม่และบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตลอดจนการสำรวจรายงานผลการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง:
- แคปซูลมูลค่า (Value Capsule) เพื่อประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งคาดว่าจะช่วยให้บริษัทสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ข้อมูลด้านมาตรฐาน (Benchmark) ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจใหม่
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตและความสำเร็จของธุรกิจ
4. การสร้างสมมติฐานโมเดลธุรกิจ (Business Model Hypothesis Planning)
ผู้เชี่ยวชาญจะทำการค้นหาขอบเขตธุรกิจในระยะยาว เพื่อการจัดลำดับความสำคัญและเป้าหมายทางธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ได้ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Business Feasibility Indicators) เพื่อสร้างสมมติฐานเวอร์ชันที่ 2 ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
5. การวางแผนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจตามสมมติฐาน (Planning for a Hypothetical Business Feasibility Study)
โดยพิจารณาผลลัพธ์ 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ผลตอบแทนจริง (Return) ความเสี่ยงของธุรกิจ (Risk) และ ผลกระทบที่สำคัญต่อองค์กร (Impact) เพื่อสร้างแผนโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) และกรอบการทำงานของโครงสร้างธุรกิจในสถานะพิมพ์เขียว ซึ่งจะช่วยให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานมองเห็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
6. การดำเนินงานตามแผนและการประเมินผล (Execution & Evaluation)
และสุดท้ายคือขั้นตอนการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจตามแผนที่กำหนดไว้ หลังจากนั้น ผู้ประกอบการยังต้องทำการประเมินผลและการแก้ไขโมเดลธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์สภาวะเศรษฐกิจให้มากที่สุด
จากทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพัฒนาธุรกิจใหม่ ไม่ใช่แค่การค้นหาไอเดียแล้วทุกอย่างจะเกิดขึ้นแบบสำเร็จรูป หากต้องอาศัยกระบวนการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด ผู้ประกอบการจึงควรมีที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจใหม่เกิดขึ้นได้จริง และสามารถแข่งขันในโลกธุรกิจได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ดี LiB Consulting ยังได้มอบข้อเสนอว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการควรได้รับมุมมองที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการใช้ AI มาพิจารณาประกอบกัน เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ทั้งหมด เนื่องจากเราไม่สามารถแข่งขันได้ในทุก ๆ ธุรกิจ แต่เราควรแข่งขันในสนามที่เราแข่งได้เท่านั้น (โดยบริษัทของคุณต้องมีข้อได้เปรียบด้วย) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องคำนึงว่าเราควรดำเนินงานและปรับตัวอย่างฉับไวโดยไม่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ตลอดจนต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกของผู้บริหารและบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างมั่นคงในทุก ๆ สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต