เมื่อ : 13 มิ.ย. 2567 , 220 Views
 ไทยเบฟ สร้างสรรค์คุณค่า พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการ eisa  (Education Institue Support Activity) / โครงการ ชุมชนดีมีรอยยิ้ม / บริษัท น้ำตาลทิพย์กำแพงเพชร จำกัด กลุ่มธุรกิจในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับ ชุมนุม SIFE (Student in Free Enterprise) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงพื้นที่รอบที่ 2  ณ กลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่ม จังหวัดกำแพงเพชร หลังจากลงพื้นที่รับโจทย์ความต้องการของกลุ่มบ้านพริกแกงและปัญหาในการบริหารจัดการธุรกิจ เนื่องจากตลาดของกลุ่มฯจะขายตามออเดอร์ ทั้งคนรู้จักและผ่าน FB และส่งขายจังหวัดปทุมธานี ระยอง ชลบุรี และในพื้นที่กำแพงเพชรมีรายได้หมุนเวียนเดือนละ 7500 -12000 บาท ปัญหาของชุมชนคือวัตถุดิบในท้องถิ่นไม่เพียงพอ แต่มีมาตรฐานสินค้าปลอดภัยภายใต้ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี สมาชิกกลุ่มมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ทางชุมชนได้แจ้งความประสงค์กับทางโครงการฯ ถึงความต้องการเพิ่มในด้านช่องทางตลาด / การทำแบรนด์สินค้าแปรรูปภายใต้แบรนด์เดียวของชุมชนเอง / การพัฒนาแพ็คเกจจิ้ง

 

การวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการสินค้าจากนิสิตดังกล่าว จะทำให้กลุ่มพริกแกงสามารถดำเนินกิจการของกลุ่มได้โดยไม่ประสบปัญหาใด และมีการดำเนินงานที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีประธานกลุ่ม ผู้ใหญ่สมจิตร ชมดี และรองประธานกลุ่ม นางสำเนียง ไทยภักดี เป็นผู้นำ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย SIFE ได้ตั้งบริบทในการจะส่งเสริมและบูรณาการชุมชนด้วยหลักการ 

 

- ภูมิปัญญาชาวบ้าน

- แหล่งวัตถุดิบตามธรรมชาติ

- กำลังพลที่มีความสามัคคี

- เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

- ความรู้ความสามารถด้านการตลาด /การเงินและบัญชี

- แผนการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

- จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย

- มาตรฐานของกระบวนการผลิต           - เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวก

- มาตรฐาน อ.ย.

 

สำหรับการพัฒนากลุ่มพริกแกงบ้านบึงหล่มนิสิตจุฬาฯ จะใช้เนื้อหาในเรื่องของการขยายตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า โดยมีเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สถานการณ์ ผลกระทบต่อชุมชนและความยั่งยืน เป็นหลัก

วัตถุประสงค์โครงการ

  • การลงพื้นที่ครั้งที่ 2 จะมีความแตกต่างจากการลงพื้นที่ครั้งแรกที่จะไม่ใช่แนะนำและเก็บข้อมูลชุมชนเบื้องต้น แต่เป็นการนำผลงานไปพรีเซนต์และต่อยอด บวกกับส่งต่องานบางส่วนที่ชุมชนสามารถลองทำด้วยตนเอง
  • เพื่อศึกษามูลเหตุของการเกิดอาชีพพื้นบ้าน วัตถุดิบและกรรมวิธีผลิตที่ใช้ในแต่ละท้องถิ่น รูปแบบ ผลิตภัณฑ์พริกแกงและการตลาด พร้อมนำข้อมูลมาทำการบ้านพัฒนาในรูปแบบสมัยใหม่แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของบ้านบึงหล่ม
  • เพื่อมุ่งเน้นให้นิสิตจุฬาได้นำวิชาเรียนมา ตอบโจทย์ชุมชน อย่างเป็นระบบ เป็นการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนรวมถึงให้นิสิตได้สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

ความพิเศษของโครงการฯนี้

  • สื่อ  content ของโครงการฯ จะถูกนำไปจัดแสดงภายในงาน SX 2024 ทั้งในส่วนของ Exhibition @ Life Long  Learning Zone 
  • การต่อยอดการพัฒนาชุมชนในเครือข่ายภายใต้โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม ซึ่งชุมชนเป็นพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญของบริษัท และอยู่ในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก