ปปส.ภาค1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ การดำเนินงานการลดความรุนแรงของปัญหาจิตเวชจากยาเสพติดในพื้นที่ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค1 ในฐานะหน่วยงานกลางที่มีบทบาทในการประสานส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมในระดับพื้นที่ รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในทุกมิติ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ปปส.ภาค 1 ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อเน้นกลไกลสร้างการรับรู้การดำเนินงานการลดความรุนแรงของปัญหาจิตเวชจากยาเสพติด ในพื้นที่ ปปส.ภาค 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมสุพร แกรนด์ โฮเต็ล อ่างทอง และศึกษาดูงานในพื้นที่อำเภอสามโก้ และอำเภอเมืองอ่างทอง เพื่อสร้างการรับรู้การดำเนินงานลดความรุนแรงของปัญหาจิตเวชจากยาเสพติดในพื้นที่ภาค 1 เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงาน ปปส. ภาค 1
โดยมี นายวชิระ โชติรสเศรนี นายอำเภอสามโก้ เป็นประธาน นางจีระพรรรณ กาญจนประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 1 และนายชาตรี จันแรง ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ สำนักงาน ปปส. ภาค1 พร้อมคณะผู้จัดโครงการฯ และเครือข่ายสื่อมวลชนสนับสนุน เผยแพร่และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับจังหวัด หมู่บ้าน/ชุมชน/ประชาสัมพันธ์จังหวัด/สื่อมวลชน จาก 9 จังหวัดในพื้นที่ภาค 1 รวมจำนวน 100 คน เข้าร่วมประชุมฯ
โดยพื้นที่ภาค 1 มีเป้าหมายการดำเนินงาน 2 จังหวัด 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง และอำเภอวังม่วงจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้มีอาการทางจิตจากยาเสพติดโดยการบำบัดรักษาและพื้นฟูสภาพจิตใจด้วยกลไกการขับเคลื่อน งานในระดับพื้นที่รวมถึงการพัฒนาศักยภาพทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่จากหน่วยภาคีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อนำไปสู่หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
จากนั้นลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ที่บำบัดที่ได้หายป่วยโดยการบำบัดได้ประกอบอาชีพเช่นการค้าขายอาหารตามสั่งและประกอบอาชีพด้านเกษตรจำนวน 2 ราย และในช่วงบ่ายของวันที่ 30 เม.ย.67 นายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานปิดโครงการฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกระบวนการบำบัดผู้ติดยาเสพติด /ผู้ติดยา/ผู้มีอาการทางจิต /เฝ้าติดตามและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะครอบครัวต้องให้ความใกล้ชิดบุตรหลานให้มากขึ้น