“ภาษีโซเดียม” ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เชื่อมั่นให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
เมื่อ : 22 ธ.ค. 2564 ,
992 Views
เครือข่ายลดเค็มจับมือกรมสรรพสามิตแจงภาษีโซเดียมหลังประชาชนกังวลหวั่นสินค้าแพง ชี้เป้าหมายทำเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน หากไม่มีมาตรการควบคุมใด ๆ ประเทศต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล 2 ล้านล้านบาทใน 10 ปีข้างหน้า พร้อมคำมั่นจะสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน
หลังจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทยไปก่อนหน้านี้ โดยเสนอให้มีการเก็บภาษีโซเดียม เป็นหนึ่งในแนวทางสร้างสุขภาพให้คนไทยนั้น พบว่าประชาชนได้แสดงความสนใจและเสนอข้อคิดเห็นต่อมาตรการภาษีโซเดียมในอาหารอย่างกว้างขวางตามสื่อต่าง ๆ มากมาย
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชี้แจงว่า ประชาชนยังมีความกังวลว่าราคาสินค้าในกลุ่มอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นแช่แข็งและขนมขบเคี้ยว จะมีการปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักที่เริ่มดำเนินการในอาหารทั้ง 3 กลุ่ม เนื่องจากเป็นกลุ่มอาหารที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่จากการศึกษาวิจัยกลับพบว่าเป็นกลุ่มอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าค่าแนะนำมาก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอความร่วมมือให้ธุรกิจอาหารลดปริมาณโซเดียมลงตั้งแต่ปี 2560 แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นกรมสรรพสามิตและกระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นกลุ่มที่ต้องควบคุมปริมาณโซเดียม เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมลงเฉลี่ยปีละ 100 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวัน จากเดิมที่บริโภคเฉลี่ย 3600 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวันซึ่งเกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเกือบ 2 เท่า โดยจะกำหนดมาตรฐานปริมาณโซเดียมสูงสุดในอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ถ้าสูตรใดมีปริมาณโซเดียมไม่เกินมาตรฐานก็จะไม่ต้องเสียภาษี ส่วนสูตรที่มีโซเดียมสูงก็จะถูกเก็บภาษี ซึ่งจะทำให้สินค้าสูตรที่มีโซเดียมต่ำมีราคาถูกกว่า เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตหันมานิยมอาหารโซเดียมต่ำ
“มาตรการภาษี เป็นมาตรการที่ทรงประสิทธิภาพเป็นอันดับ 2 รองจากการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน หากอุตสาหกรรมปรับลดโซเดียมในอาหารลงก็จะช่วยให้ประชาชนลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ช่วยให้ประเทศประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเหล่านี้ด้วย หากไม่มีมาตรการใดเลยประเทศเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายกว่า 2.28 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปีข้างหน้า” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
ทางด้าน นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต และโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ภาษีโซเดียมไม่ได้มีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล แต่ทำเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและการสูญเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมเกินพอดี รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารได้คำนึงถึงประโยชน์ของการลดปริมาณโซเดียมที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน
นายณัฐกร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ภาษีโซเดียมยังอยู่ในระหว่างการศึกษาแนวทางและหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรมสรรพสามิตจะดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ อีกทั้งยังมีระยะเวลาให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารก่อนอย่างน้อย 2 ปี
“มาตรการภาษี ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างกรณีจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวานที่ได้มีการดำเนินการมากว่า 4 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำเพิ่มขึ้นในร้านสะดวกซื้อจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 30 ดังนั้น ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ามาตรการภาษีโซเดียมจะเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน” นายณัฐกร กล่าวและย้ำว่า หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เกิดมาตรการภาษีโซเดียมอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บนพื้นฐานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนกับประชาชน
หลังจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการประชุมสัมมนาเพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทยไปก่อนหน้านี้ โดยเสนอให้มีการเก็บภาษีโซเดียม เป็นหนึ่งในแนวทางสร้างสุขภาพให้คนไทยนั้น พบว่าประชาชนได้แสดงความสนใจและเสนอข้อคิดเห็นต่อมาตรการภาษีโซเดียมในอาหารอย่างกว้างขวางตามสื่อต่าง ๆ มากมาย
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชี้แจงว่า ประชาชนยังมีความกังวลว่าราคาสินค้าในกลุ่มอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นแช่แข็งและขนมขบเคี้ยว จะมีการปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักที่เริ่มดำเนินการในอาหารทั้ง 3 กลุ่ม เนื่องจากเป็นกลุ่มอาหารที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่จากการศึกษาวิจัยกลับพบว่าเป็นกลุ่มอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าค่าแนะนำมาก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอความร่วมมือให้ธุรกิจอาหารลดปริมาณโซเดียมลงตั้งแต่ปี 2560 แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นกรมสรรพสามิตและกระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นกลุ่มที่ต้องควบคุมปริมาณโซเดียม เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมลงเฉลี่ยปีละ 100 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวัน จากเดิมที่บริโภคเฉลี่ย 3600 มิลลิกรัม ต่อคน/ต่อวันซึ่งเกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเกือบ 2 เท่า โดยจะกำหนดมาตรฐานปริมาณโซเดียมสูงสุดในอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ถ้าสูตรใดมีปริมาณโซเดียมไม่เกินมาตรฐานก็จะไม่ต้องเสียภาษี ส่วนสูตรที่มีโซเดียมสูงก็จะถูกเก็บภาษี ซึ่งจะทำให้สินค้าสูตรที่มีโซเดียมต่ำมีราคาถูกกว่า เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตหันมานิยมอาหารโซเดียมต่ำ
“มาตรการภาษี เป็นมาตรการที่ทรงประสิทธิภาพเป็นอันดับ 2 รองจากการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน หากอุตสาหกรรมปรับลดโซเดียมในอาหารลงก็จะช่วยให้ประชาชนลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ช่วยให้ประเทศประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเหล่านี้ด้วย หากไม่มีมาตรการใดเลยประเทศเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายกว่า 2.28 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปีข้างหน้า” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
ทางด้าน นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต และโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ภาษีโซเดียมไม่ได้มีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล แต่ทำเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและการสูญเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมเกินพอดี รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารได้คำนึงถึงประโยชน์ของการลดปริมาณโซเดียมที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน
นายณัฐกร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ภาษีโซเดียมยังอยู่ในระหว่างการศึกษาแนวทางและหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรมสรรพสามิตจะดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ อีกทั้งยังมีระยะเวลาให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารก่อนอย่างน้อย 2 ปี
“มาตรการภาษี ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างกรณีจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวานที่ได้มีการดำเนินการมากว่า 4 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำเพิ่มขึ้นในร้านสะดวกซื้อจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 30 ดังนั้น ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ามาตรการภาษีโซเดียมจะเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน” นายณัฐกร กล่าวและย้ำว่า หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เกิดมาตรการภาษีโซเดียมอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บนพื้นฐานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนกับประชาชน