เมื่อ : 19 ธ.ค. 2564 , 1037 Views
เที่ยวสุขใจ ไหว้พระอ่างทอง

วันที่ 14 - 16 ธันวาคม 2564 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำโดย นางสาวพิมพกานต์ พิพิธธนานันท์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าพื้นที่ จ.อ่างทอง เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว โดยมี นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้การต้อนรับที่วัดสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง  

 

   


ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัดอ่างทอง โดยมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจเช่น ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จวัดขุนอินทประมูล วัดไชโยวรวิหาร วัดม่วง และบ้านหุ่นเหล็ก เป็นต้น 
 

   


จุดแรกเรามากันที่ 
ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทองเป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร ภายในหมู่บ้านบางเสด็จ  จากนั้นเรามาต่อที่ วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย ภายในวัดมี พระพุทธไสยาสน์ มีความยาวจากพระเมาลีถึง พระบาท 22 เมตร พระเศียรหนุนพระเขนย รูปทรงกระบอก 3 ใบ ลดหลั่นกันจากใหญ่ขึ้นไปหาเล็กแล้วคลุมด้วยผ้าทิพย์จัดเป็นผ้าทิพย์ที่มีลวดลายวิจิตรงดงามที่สุด หมู่บ้านทำกลองเอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นหมู่บ้านผลิตกลองที่มีชื่อเสียงและดีที่สุดมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ เช่น กลองทัด กลองสั้น กลองยาว กลองรำวง และกลองเพลที่ใช้ในวัด 
 

   


อาหารมื้อกลางวัน ที่ร้านปิ่นโต  อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
 


ออกเดินทางไหว้พระ
 - วัดสังกระต่าย ตัวโบสถ์เก่าแก่มีต้นโพธิ์ ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมรอบโบสถ์ 4 ต้น รวมถึงปกคลุมภายในโบสถ์ด้วย โดยในโบสถ มีพระบูชา คือ หลวงพ่อแก่น เมื่อเข้ามาในห้องใหญ่มีพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ คือ หลวงพ่อวันดี และอีก 2 องค์มีขนาดย่อม ลงมา คือ หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสุข  ต้นโพธิ์ที่ปกคลุมจนเปรียบเสมือนหลังคาไปแล้ว ส่วนผนังโบสถ์ก็อยู่ในสภาพที่เก่าแก่ ได้รากต้นโพธิ์ ทั้ง 4 ต้น ที่ขึ้นอยู่ 4 มุม รากได้ชอนไชยึดผนังโบสถ์ไว้ทั้งหลังอย่างแน่นหนา 

 

   


- วัดสี่ร้อย มีตำนานเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้ มังระและมังฆ้องนรธา ยกกองทัพพม่ามาตีเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดของไทย 
ครั้งนี้ ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เข้าสมทบกองทัพ ของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยให้ชื่อว่า กองอาฑมาต ขุนรองปลัดชู ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งสกัดทัพได้ปะทะกับมังระ และมังฆ้องนรธา แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะกองทัพพม่าเมื่อทราบข่าวต่างเศร้าโศกเสียใจ ประชาชนจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังของชาวแขวงวิเศษไชยชาญ โดยให้ชื่อวัดว่า "วัดสี่ร้อย" 

 


วัดม่วง ประดิษฐาน “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 63 เมตร สูง 95 เมตร 

 


Check In คาเฟ่ เดอะลาว เก็บภาพวัดม่วงยามเย็น จุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยอีกแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอ่างทอง
 

   


วัดธรรมนิมิต อ.สามโก้ กราบหลวงพ่อภู พระเกจิชื่อดังของจังหวัดอ่างทอง
 

   


วัดท่าอิฐ อ.โพธิ์ทอง วัดที่สวยงามที่สุดวัดหนึ่งของภาคกลาง ชมความอลังการของพระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง ที่ตั้งตระหง่านทองอร่ามมาแต่ไกล

 


วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง สร้างในสมัยสุโขทัย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากวัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ 
มีความยาว 50 เมตร มีชื่อว่า “พระศรีเมืองทอง” 

 

   


ชมสาธิตการทำเครื่องจักสานและ ณ ชุมชนบางเจ้าฉ่า อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ผลิตภัณฑ์จักรสานของชุมชนบ้านเจ้าฉ่า
ชุมชนไม้มงคล บ้านทองเลื่อน อ.แสวงหา เป็นหมู่บ้านที่ส่งเสริมการปลูกไม้ประดับและ ไม้มงคล รวมทั้งไม้หายากหลายพันธุ์ โครงการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงหนองเจ็ดเส้น  ซึ่งมีพันธุ์ใม้หายาก อ.เมือง จ.อ่างทอง  

 

   

   

   


วัดต้นสน สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2310 แต่ไม่มีการจดบันทึกประวัติเป็นหลักฐานแน่ชัด ต่อมากลายเป็นวัดร้าง จน พ.ศ. 2488 พระราชสุวรรณโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัด
อ่างทอง ได้บูรณะก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นและขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง ท่านได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ นามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตร ธัมมบดีศรีเมืองทอง หรือ สมเด็จพระศรีเมืองทอง

 


วัดจันทรังษี ภายในวัดมีวิหารจัตุรมุขมียอดบุษบกกลาง 5 ชั้น สูง 48 เมตร กว้าง 24 เมตร ยาว 33 เมตร มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามที่บ่งบอกถึงภายในประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (หลวงพ่อสด จันทสโร) หล่อด้วยโลหะองค์ใหญ่สุดในโลก
 


วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า "วัดไชโย ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้ง กล่าวว่าการก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”

 


บ้านหุ่นเหล็ก บ้านหุ่นเหล็กเป็นการสร้างสรรค์ดินแดนแห่งจินตนาการบอกเล่าความมหัศจรรย์เหล่านี้ผ่านทางหุ่นเหล็กแต่ละตัวที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าถูกใจคุณหนูๆ แน่นอน เพราะที่นี่มีทั้งหุ่นซุปเปอร์ฮีโร่และตัวละครจากในการ์ตูนเรื่องต่างๆ รวบรวมเอาไว้อย่างมากมาย

 

   


#ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี #