เปิดตัว’สมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน’คึกคัก 2กูรูห่วงสงครามการค้า/ชูไทยเป็นพ่อสื่อ
กรุงเทพฯ-เปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน สมาชิกสมาคม สื่อมวลชน บริษัทเอกชนองค์กร และบุคคลทั่วไปเข้าร่วมคึกคัก แขกรับเชิญที่ปรึกษานายกฯพิชัย นริพทะพันธุ์ ปาฐกถา ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยในมิติความร่วมมือกับจีน ชู 10 ประเด็นที่ต้องรับมือ ของอดีตนายกฯอภิสิทธิ์ ปาฐกถาถึง ’ระเบียบโลกใหม่และภูมิรัฐศาสตร์ : ผลต่อเศรษฐกิจและการไทย-จีน’ ให้ไทยแสดงบทบาทเป็นผู้นำเปิดเวทีแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 18.30 น.ที่ห้องพาโนรามา โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ได้มีการจัดงานเปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน โดยนายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมฯกล่าวรายงานโดยสรุปว่า ความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี และความสัมพันธ์ทางการทูตยุคใหม่ที่จะฉลอง 50ปีในปีหน้านั้นมีเรื่องราวมากมายให้สื่อไทย-จีน ได้ติดตามนำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนสองฝ่าย โดยสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน จะทำหน้าที่เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการค้าการลงทุนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนด้วย
งานนี้ทางสมาคมฯได้เชิญนายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสรสินธุ ไตรจักรภพ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมีแขกรับเชิญที่มีทั้งสมาคม บริษัทเอกชนองค์กร และบุคคลเข้าร่วมฟังปาฐกถาและแสดงความยินดีต่อสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีนอย่างคับคั่ง
สำหรับการปาฐกถาพิเศษของที่ปรึกษานายกฯและอดีตนายกฯโดยมีสาระสำคัญดังนี้
ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยในมิติความร่วมมือกับจีน
นายพิชัย นริพทะพันธ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ถึงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยในมิติความร่วมมือกับจีนไว้อย่างน่าฟังว่า จีนมีการพัฒนาตัวเองได้เร็วมาก ก่อนหน้านี้ไปปักกิ่งยังเห็นประชาชนใช้จักรยานกันทั้งเมืองแต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นรถยนต์รถไฟฟ้ากันหมด ก้าวหน้าแซงไทยไปมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ตนทำธุรกิจกับจีนและสหรัฐฯมานานทั้งจิวเวลรี ไม้และเยื้อกระดาษ ทำให้รู้ความคิดทั้งสองประเทศเป็นอย่างดี สหรัฐฯเน้นเรื่องธุรกิจเป็นสำคัญ แต่จีนจะค้าขายแบบเพื่อนกัน เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการค้าของจีนแข็งแกร่งมาก อย่างรถไฟฟ้า DYB ปัจจุบันขายดีกว่า เทสล่าของสหรัฐฯอีก
ตนตามเศรษฐกิจของจีนมาโดยตลอดโดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯที่ซบเซา แต่จีนก็สามารถพลิกจีดีพี.มาโตได้ถึง 5.2% และคาดว่าในปี 2567 จะโตได้อีก ดังนั้นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในอนาคตที่อยากฝากไว้ใน10ประเด็นสำคัญดังนี้
1. การใช้เทคโนโลยี่ AI มาพัฒนาทำงานแทนมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นทำงานแทนคนได้แล้ว เช่นการเรียนแบบเสียงและอื่นๆ
2. สภาพอากาศรุนแรงเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากขึ้น ก่อนอากาศในประเทศไทยอุณหภูมิแค่ 38-39องศา เราก็ร้อนแทนไม่มีที่อยู่แล้ว แต่ขณะนี้ได้ขยับขึ้นต่อเนื่องคาดว่าปีนี้ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 45% ร้อนใกล้เคียงกับซาอุดิอาระเบีย
3. การแข่งขั้วทางสังคม ซึ่งประเทศไทยเคยเกิดมาแล้ว เราจะหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพราะมีผลกระทบต่อการพัฒนามาก
4. ความปลอดภัยทางไซเบอร์จะรุนแรงมากขึ้น เพราะคนสร้างไวรัสกับคนสร้างแอนตี้ไวรัสคือคนคนเดียวกัน
5. ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศปัจจุบันเกิดขึ้นแล้ว อย่าง รัสเซีย-ยูเครนและอิสราเอล-อัลมาสและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกไม่น้อย แต่ที่กังวลมากกว่านั้นจะรุกรามไปอีกหรือไม่โดยเฉพาะฉนวนจีนกับไต้หวันและกับทะเลจีนใต้
6. สถานะทางเศรษฐกิจไม่ง่ายเหมือนอดีต สื่อผืนหมอนใบมาอยู่ไทยทำค้าขายไม่นานก็รวยได้ แต่ปัจจุบันทำยากมากด้วยสภาวะปัจจุบันมีการแข่งขันสูง “เกิดมาจนถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่จนแล้วตายน่าห่วง”
7. ปัญหาเงินเฟ้อ ยังเป็นปัญหาหลักประเทศไทยติดลบมา5เดือน และล่าสุดติดลบ 0.77%
8. การถูกบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศและจะกลายเป็นปัญหาของโลกในที่สุด
9. ปัญหาเศรษฐกิจโลกยังซบเซาและปีนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นคาดว่าเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยแค่2% แต่ที่น่าห่วงประเทศไทยการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังต่ำค่าเฉลี่ยของเศรษฐกิจโลก หากปีต่อไปเศรษฐกิจโลกต่ำลงอีก ประเทศไทยจะลดลงแค่ไหน
10. มลภาวะเป็นปัญหาใหญ่ที่เผชิญอยู่ฝุ่นPM2.5 ทำให้คนไทยตายจากโลกมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นสิ่งที่หวังว่า สิ่งดีๆ ในตอนนี้คือ ไชน่าพาสปอร์ต กับปัญหาความขัดแย้งและกีดกันทางการค้าของมหาอำนาจอาจส่งผลดีให้กับไทยโดยการลงทุนจากจีนจะใช้ประเทศไทยในการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ระเบียบโลกใหม่และภูมิรัฐศาสตร์ : ผลต่อเศรษฐกิจและการไทย-จีน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยได้ขึ้นปาฐกถาพิเศษ “ระเบียบโลกใหม่และภูมิรัฐศาสตร์ : ผลต่อเศรษฐกิจและการไทย-จีน” โดยได้กล่าวว่า วันนี้ความสัมพันธ์ไทย-จีน มันเกินเลยไปแล้ว จีนเป็นคู่ค้าอันดับ1ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีน
ปีนี้ย่างเข้า50ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ตนเคยคิดสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงการขยายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทยจีนเป็นสิ่งสำคัญ และทุกอย่างก็เป็นตามที่ที่เคยได้พูดไว้ ในปี2567 ใน2เดือนแรก นักท่องเที่ยวชาวจีนได้กลับมายังประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งเหมือนเช่นก่อนการเกิดโควิด 19 และได้แรงกระตุ้นจากการฟรีวีซ่าระหว่างกัน
ปัญหาความขัดแย่งทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯมาสู่สงครามจริงระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและอิสราเอล-อัลมาส ส่งผลกระทบไม่น้อยในด้านราคาน้ำมัน ราคาโภคภัณฑ์ อาหาร แต่ ความขัดแย่งระดับภูมิรัฐศาสตร์น่ากลัวมาก ตนอยู่การเมืองมา30ปี ตอนนี้ออกมาแล้ว ตนมองว่าความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น แม้จะมองว่าไทยจะได้ประโยชน์จากนักลงทุนจีนย้ายฐานผลิตมาไทยเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่ามันส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจโลกขาดประสิทธิภาพ
เราจะเห็นชัดถึงการนำเอาความขัดแย่งมาเป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า ไทยโดนมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชนและอีกหลายเหตุผลและแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น ไทย-จีนควรช่วยกันร่วมกันแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะเชื่อว่า ทั้งไทยและจีนไม่ประสงค์อยากอยู่ในความขัดแย้ง แต่จากความแตกต่างทางการเอง ความคิด ค่านิยมทำให้เกิดความหวาดระแวง วิตก กังวลกลัวจะถูกครอบงำเปลี่ยนแปลง
สหรัฐฯกลัวจะสูญเสียความเป็นผู้นำเดี่ยวของโลก จีนก็ไม่ต้องการให้โลกตะวันตก เข้ามาขีดเส้นโลกตะวันออก ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องมีเวทีเป็นกลางเข้ามาแก้ปัญหานี้ โดยร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้
รัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน มีความพยายามอย่างสูงสร้างบทบาทในต่างประเทศมากขึ้นในด้านการค้า ลงทุน แต่ควรเป็นสะพานเป็นตัวรุกแก้ปัญหานี้ ไทยมีเพื่อนที่เป็นสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศต้องร่วมกันแก้ปัญหานี้ ลดความขัดแย้งระหว่างกันของ2ประเทศมหาอำนาจและร่วมกันสร้างกติกาใหม่ของโลกจึงจะช่วยแก้ปัญหาได้