เทคโนโลยีตรวจสอบคุณภาพอากาศจาก Dyson ชี้ มลภาวะในฤดูหมอกส่งผลกับอัตราการสัมผัสมลพิษของคนกรุงเทพได้แม้อยู่ในบ้าน
เมื่อ : 17 ธ.ค. 2564 ,
1087 Views
กรุงเทพมหานคร, 17 ธันวาคม 2564 – Dyson ได้จัดทำโครงการเพื่อสำรวจและวัดค่ามลพิษที่บุคคลได้รับในการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเดินทางไปทำงานจนไปถึงนั่งพักผ่อนอยู่ภายในอาคาร พบว่าปริมาณมลภาวะที่บุคคลได้รับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหมอกควันหนาแม้จะอยู่ภายในบ้าน
โครงการนี้ได้จัดทำขึ้นในหลายเมืองทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยได้คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ คุณพ่อและดิจิทัลครีเอเตอร์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มาร่วมกระตุ้นการตระหนักรู้ในเรื่องสภาพมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการระยะยาวของ Dyson ในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศรวมถึงสนับสนุนให้ทุกคนหันมาดูแลและควบคุมการสัมผัสกับมลภาวะของตนเอง
อเล็กซ์ น็อกซ์, รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศของ Dyson กล่าวว่า “ทีมวิศวกรของเราได้พัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะขึ้นมาจากประสบการณ์และการวิจัยอย่างหนักหน่วงและยาวนานในด้านเทคโนโลยีเพื่ออากาศที่สะอาด และด้วยอัลกอริทึมที่จะมาช่วยประมวลข้อมูลมลภาวะที่ตรวจจับได้ เทคโนโลยีอันนี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทั้งภายในอาคาร นอกอาคาร หรือแม้แต่ขณะกำลังเดินทาง และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือทั้งหมดนี้สามารถติดตั้งอยู่ในกระเป๋าเป้”
ในระหว่างการสำรวจคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร คุณหนุ่ย พงศ์สุข สะพายกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2563 และอีกครั้งในเดือนมกราคมปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองช่วงได้ใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมเหมือนกันเพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศที่ได้รับ
คุณหนุ่ย พงศ์สุข ได้กล่าวเกี่ยวกับการร่วมงานกับ Dyson ไว้ว่า “กรุงเทพมหานครจะเผชิญกับฝุ่นและหมอกควันในช่วงหน้าหนาวของทุกๆ ปี โดยที่ค่ามลพิษในอากาศสามารถเพิ่มสูงเกินระดับปลอดภัยไปได้มากถึง 2 เท่า[1] ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก[2] ในฐานะของพ่อที่มีลูกสาวสองคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งมากๆ ความสำคัญของคุณภาพอากาศที่ครอบครัวผมหายใจเข้าไปทำให้ผมตัดสินใจร่วมโปรเจกต์นี้กับ Dyson ครับ”
Dyson Air Quality Backpack
Dyson Air Quality Backpack ได้นำเทคโนโลยีเซนเซอร์ในเครื่องฟอกอากาศของ Dyson มาพัฒนาและติดตั้งในกระเป๋าเป้ที่พกพาง่าย ทำให้สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศได้ในขณะเดินทาง เพียบพร้อมด้วยแผงเซนเซอร์ แบตเตอรี่ และ ระบบ GPS โดยหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเรื่องการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศของแต่ละบุคคลและนำไปสู่วิธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสดังกล่าว
ทีมวิศวกรของ Dyson ได้ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ และระบบ GPS จากกระเป๋ารวมถึงบันทึกประจำวันของคุณหนุ่ย ที่บันทึกกิจกรรมในแต่ละวันที่สะพายกระเป๋าตรวจวัดคุณภาพอากาศนี้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่ากิจกรรมไหนส่งผลต่อคุณภาพของอากาศที่ได้รับและจะมีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง
ผลการวัดค่าคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร
จากการเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในสองช่วง ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศในช่วงที่ 2 ที่เป็นช่วงฝุ่นหนาวัดค่าได้มากกว่าถึง 9 เท่า[3] โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนที่มีอากาศเย็นที่ฝุ่นควัน PM2.5 หนาแน่น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งไอเสียจากยานยนต์ สภาพอากาศ ควันจากโซนอุตสาหกรรม รวมไปถึงควันจากกิจกรรมทางการเกษตร[4]
โดยในช่วงนี้ Dyson Air Quality Backpack สามารถวัดค่า PM2.5 ระหว่างที่คุณหนุ่ยลงจากรถและเดินทางเข้าอาคารได้ว่าระดับฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงขึ้นถึง 3.8 เท่า[5] เทียบกับในรถยนต์ โดยสาเหตุมาจากการเผชิญกับระดับฝุ่นในสถานที่กลางแจ้งในช่วงฝุ่นหนาแน่น
นอกจากนั้น กิจกรรมในแต่ละวันยังส่งผลต่อการเพิ่มของค่ามลภาวะในอากาศด้วย ตัวอย่างเช่นการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ทำให้ค่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO2 สูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 50 เท่า ซึ่งถือเป็นคุณภาพอากาศในระดับ แย่มาก เมื่อเทียบกับดัชนีวัดค่าคุณภาพอากาศของ Dyson โดยสาเหตุการเกิดไนโตรเจนไดออกไซด์อาจจะมาจากไอเสียจากยานยนต์
และถึงแม้ขณะที่ขับรถยนต์อยู่ภายในห้องโดยสาร ก็ยังสามารถวัดค่า PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound: VOCs) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากการเบรกรถยนต์และการสึกของยางรถยนต์ที่ถึงแม้จะอยู่ภายในห้องโดยสารก็ยังสามารถสัมผัสกับมลภาวะจากทางนี้ได้
โดยปกติแล้วคุณภาพอากาศภายนอกอาคารจะส่งผลต่ออากาศภายในอาคาร แต่ในบางกรณีสาเหตุจากมลภาวะก็มาจากภายในอาคารได้เช่นกัน โดยจากการวัดค่าด้วยกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ของคุณหนุ่ย พงศ์สุข พบค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศแม้จะอยู่ในบ้าน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่การไหลเวียนของอากาศที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย รวมไปถึงเมื่อเปิดประตูหรือหน้าต่างทำให้อากาศภายนอกซึ่งมีฝุ่น PM2.5 ไหลเข้ามาในบ้าน
แม้ในช่วงนอนหลับ ค่ามลภาวะในอากาศก็ยังคงที่อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่ได้ลดลงในช่วง 10 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก[6] ถึงสองเท่า[7] ซึ่งสาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของอากาศที่น้อยเกินไปทำให้มลภาวะเกิดการสะสมภายในบ้าน
ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศภายในอาคารในกรุงเทพมหานคร[8]
ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศแสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ภายในอาคารในช่วงหมอกควันหนาสูงขึ้นถึงสองเท่า[9] เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีหมอกควัน ซึ่งตรงกับการตรวจวัดค่าด้วย Dyson Air Quality Backpack ซึ่งทำให้เห็นค่าคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนจากระดับ “ดี” ในช่วงแรก เป็นระดับ “ปกติ” ในช่วงที่สอง
โดยหนุ่ย พงศ์สุขได้กล่าวถึงผลการสำรวจจากความร่วมมือกับ Dyson ไว้ว่า “พวกเราทราบกันอยู่แล้วนะครับเรื่องสภาวะมลพิษในอากาศ ผมคิดว่าข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้ทำให้เราเห็นภาพความแตกต่างระหว่างสองช่วงและช่วยให้เราตระหนักถึงปัญหานี้ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งถ้าเรารับรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ เราจะสามารถลดการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ”
โครงการนี้ได้จัดทำขึ้นในหลายเมืองทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยได้คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ คุณพ่อและดิจิทัลครีเอเตอร์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มาร่วมกระตุ้นการตระหนักรู้ในเรื่องสภาพมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการระยะยาวของ Dyson ในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศรวมถึงสนับสนุนให้ทุกคนหันมาดูแลและควบคุมการสัมผัสกับมลภาวะของตนเอง
อเล็กซ์ น็อกซ์, รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศของ Dyson กล่าวว่า “ทีมวิศวกรของเราได้พัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะขึ้นมาจากประสบการณ์และการวิจัยอย่างหนักหน่วงและยาวนานในด้านเทคโนโลยีเพื่ออากาศที่สะอาด และด้วยอัลกอริทึมที่จะมาช่วยประมวลข้อมูลมลภาวะที่ตรวจจับได้ เทคโนโลยีอันนี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทั้งภายในอาคาร นอกอาคาร หรือแม้แต่ขณะกำลังเดินทาง และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือทั้งหมดนี้สามารถติดตั้งอยู่ในกระเป๋าเป้”
ในระหว่างการสำรวจคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร คุณหนุ่ย พงศ์สุข สะพายกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2563 และอีกครั้งในเดือนมกราคมปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองช่วงได้ใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมเหมือนกันเพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศที่ได้รับ
คุณหนุ่ย พงศ์สุข ได้กล่าวเกี่ยวกับการร่วมงานกับ Dyson ไว้ว่า “กรุงเทพมหานครจะเผชิญกับฝุ่นและหมอกควันในช่วงหน้าหนาวของทุกๆ ปี โดยที่ค่ามลพิษในอากาศสามารถเพิ่มสูงเกินระดับปลอดภัยไปได้มากถึง 2 เท่า[1] ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก[2] ในฐานะของพ่อที่มีลูกสาวสองคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งมากๆ ความสำคัญของคุณภาพอากาศที่ครอบครัวผมหายใจเข้าไปทำให้ผมตัดสินใจร่วมโปรเจกต์นี้กับ Dyson ครับ”
Dyson Air Quality Backpack
Dyson Air Quality Backpack ได้นำเทคโนโลยีเซนเซอร์ในเครื่องฟอกอากาศของ Dyson มาพัฒนาและติดตั้งในกระเป๋าเป้ที่พกพาง่าย ทำให้สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศได้ในขณะเดินทาง เพียบพร้อมด้วยแผงเซนเซอร์ แบตเตอรี่ และ ระบบ GPS โดยหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเรื่องการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศของแต่ละบุคคลและนำไปสู่วิธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสดังกล่าว
ทีมวิศวกรของ Dyson ได้ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ และระบบ GPS จากกระเป๋ารวมถึงบันทึกประจำวันของคุณหนุ่ย ที่บันทึกกิจกรรมในแต่ละวันที่สะพายกระเป๋าตรวจวัดคุณภาพอากาศนี้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่ากิจกรรมไหนส่งผลต่อคุณภาพของอากาศที่ได้รับและจะมีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง
ผลการวัดค่าคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร
จากการเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในสองช่วง ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศในช่วงที่ 2 ที่เป็นช่วงฝุ่นหนาวัดค่าได้มากกว่าถึง 9 เท่า[3] โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนที่มีอากาศเย็นที่ฝุ่นควัน PM2.5 หนาแน่น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งไอเสียจากยานยนต์ สภาพอากาศ ควันจากโซนอุตสาหกรรม รวมไปถึงควันจากกิจกรรมทางการเกษตร[4]
โดยในช่วงนี้ Dyson Air Quality Backpack สามารถวัดค่า PM2.5 ระหว่างที่คุณหนุ่ยลงจากรถและเดินทางเข้าอาคารได้ว่าระดับฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงขึ้นถึง 3.8 เท่า[5] เทียบกับในรถยนต์ โดยสาเหตุมาจากการเผชิญกับระดับฝุ่นในสถานที่กลางแจ้งในช่วงฝุ่นหนาแน่น
นอกจากนั้น กิจกรรมในแต่ละวันยังส่งผลต่อการเพิ่มของค่ามลภาวะในอากาศด้วย ตัวอย่างเช่นการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ทำให้ค่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO2 สูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 50 เท่า ซึ่งถือเป็นคุณภาพอากาศในระดับ แย่มาก เมื่อเทียบกับดัชนีวัดค่าคุณภาพอากาศของ Dyson โดยสาเหตุการเกิดไนโตรเจนไดออกไซด์อาจจะมาจากไอเสียจากยานยนต์
และถึงแม้ขณะที่ขับรถยนต์อยู่ภายในห้องโดยสาร ก็ยังสามารถวัดค่า PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound: VOCs) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากการเบรกรถยนต์และการสึกของยางรถยนต์ที่ถึงแม้จะอยู่ภายในห้องโดยสารก็ยังสามารถสัมผัสกับมลภาวะจากทางนี้ได้
โดยปกติแล้วคุณภาพอากาศภายนอกอาคารจะส่งผลต่ออากาศภายในอาคาร แต่ในบางกรณีสาเหตุจากมลภาวะก็มาจากภายในอาคารได้เช่นกัน โดยจากการวัดค่าด้วยกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ของคุณหนุ่ย พงศ์สุข พบค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศแม้จะอยู่ในบ้าน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่การไหลเวียนของอากาศที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย รวมไปถึงเมื่อเปิดประตูหรือหน้าต่างทำให้อากาศภายนอกซึ่งมีฝุ่น PM2.5 ไหลเข้ามาในบ้าน
แม้ในช่วงนอนหลับ ค่ามลภาวะในอากาศก็ยังคงที่อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่ได้ลดลงในช่วง 10 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก[6] ถึงสองเท่า[7] ซึ่งสาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของอากาศที่น้อยเกินไปทำให้มลภาวะเกิดการสะสมภายในบ้าน
ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศภายในอาคารในกรุงเทพมหานคร[8]
ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศแสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ภายในอาคารในช่วงหมอกควันหนาสูงขึ้นถึงสองเท่า[9] เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีหมอกควัน ซึ่งตรงกับการตรวจวัดค่าด้วย Dyson Air Quality Backpack ซึ่งทำให้เห็นค่าคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนจากระดับ “ดี” ในช่วงแรก เป็นระดับ “ปกติ” ในช่วงที่สอง
โดยหนุ่ย พงศ์สุขได้กล่าวถึงผลการสำรวจจากความร่วมมือกับ Dyson ไว้ว่า “พวกเราทราบกันอยู่แล้วนะครับเรื่องสภาวะมลพิษในอากาศ ผมคิดว่าข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้ทำให้เราเห็นภาพความแตกต่างระหว่างสองช่วงและช่วยให้เราตระหนักถึงปัญหานี้ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งถ้าเรารับรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ เราจะสามารถลดการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ”
[1] ค่าเฉลี่ยสูงสุดของฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ Dyson air quality backpack ตรวจวัดได้ในช่วงฝุ่นหนาเดือนมกราคา 2564 อยู่ที่ 34.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
[2] ตามข้อแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในอากาศไว้ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
[3] ค่าฝุ่น PM2.5 ที่วัดได้จาก Dyson Air Quality Backpack ในช่วงที่ไม่มีหมอกควัน (กรกฎาคม-ตุลาคม 2563) อยู่ที่ 3.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบกับช่วงที่มีหมอกควัน (เดือนมกราคม 2564) อยู่ที่ 30.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
[4] อ้างอิงจากรายงานของ Stockholm Environment Institute. https://cdn.sei.org/wp-content/uploads/2021/02/210212c-killeen-archer-air-quality-in-thailand-wp-2101e-final.pdf
[5] ค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ที่วัดได้ในรถยนต์อยู๋ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและที่วัดได้กลางแจ้งก่อนเข้าอาคารอยู่ที่ 115 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
[6] ตามข้อแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในอากาศไว้ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ambient-(outdoor)-air-quality-and-health
[7] ค่าเฉลี่ยสูงสุดของฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ Dyson air quality backpack ตรวจวัดได้ในช่วงฝุ่นหนาเดือนมกราคา 2564 อยู่ที่ 34.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
[8] ข้อมูลเก็บจากเครื่องกรองอากาศของ Dyson กว่า 4,200 เครื่องในกรุงเทพมหานคร
[9] ข้อมูลเก็บจากเครื่องกรองอากาศของ Dyson กว่า 4,200 เครื่องในกรุงเทพมหานครวัดค่า PM2.5 ในช่วงไม่มีหมอกควัน (กรกฎาคม - ตุลาคม 2563) อยู่ที่ 19.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และช่วงที่มีหมอกควัน (มกราคม 2564) อยู่ที่ 41.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร