ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
เมื่อ : 16 ธ.ค. 2564 ,
949 Views
กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองโนรา มรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน หลังจากที่ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโนรา ให้เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ผ่านมา
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานจัดงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเอกสารนำเสนอโนราขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) และนับเป็นความยินดีและภาคภูมิใจร่วมกันอีกวาระหนึ่งของคนไทยทุกคน ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานาน และนิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ให้เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.๒๐๐๓ ของ UNESCO ครั้งที่ ๑๖ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
โดยเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มีมติเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียน “โนรา” (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List) ตามที่ประเทศไทยเสนอ
มติดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ ๑๖ (Sixteenth session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในรูปแบบออนไลน์ จากสำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลฯ พิจารณาขึ้นทะเบียนโนรา เนื่องจากมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทั้ง ๕ ข้อของการขึ้นทะเบียนประเภท Representative List ได้แก่
๑. มรดกนั้นสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญา มาตรา ๒
๒. มรดกนั้นเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จะส่งเสริมความประจักษ์และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การสะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ
๓. มาตรการสงวนรักษานั้น ได้พิจารณากันมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการปกป้องและส่งเสริมมรดกนั้น
๔. มรดกที่จะเสนอนั้น เกิดจากชุมชน กลุ่มบุคคล หรือปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมกับได้รับความเห็นชอบซึ่งมาจากความรับรู้เข้าใจอย่างเป็นอิสระเสียก่อน
๕. มรดกนั้นปรากฏและดำรงอยู่ในดินแดนของรัฐภาคีที่นำเสนอ โดยบรรจุอยู่แล้วในบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของรัฐภาคีนั้น ตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มาตรา ๑๑ และ ๑๒
ทั้งนี้ โนรามีคุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางด้านศิลปะการแสดงที่มีพัฒนาการสืบทอดมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๘-๑๙ และมีลักษณะสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ถึง ๔ สาขา คือ ๑) มุขปาฐะ ๒) ศิลปะการแสดง ๓) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล และ ๔) งานช่างฝีมือดั้งเดิม โดยเป็นศิลปะการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่ภาคใต้มาช้านาน มีรากฐานมาจากความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนที่ให้ความเคารพบูชาต่อบรรพบุรุษ มีการร่ายรำที่ทรงพลังงดงาม ควบคู่ไปกับการขับบทร้องเป็นภาษาถิ่นใต้ที่ต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบ โดยมีดนตรีประกอบจังหวะที่ให้ทำนองเร้าใจ เรื่องราวที่แสดงนำมาจากนิทาน ตำนาน และวรรณกรรมพื้นบ้าน ส่วนเครื่องแต่งกายสะท้อนให้เห็นถึงงานช่างฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ปัจจุบันมีคณะโนราอาชีพในประเทศไทย จำนวน ๓๘๗ คณะ โดย ๗๐% กระจุกตัวอยู่มากบริเวณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการสืบทอดศิลปะทั้งด้านการแสดง ช่างฝีมือ ดนตรี และพิธีกรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัด และเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วภาคใต้
โนราเป็นทั้งพิธีกรรมและศิลปะการแสดงเพื่อความบันเทิง ที่มีรากฐานมาจากศรัทธาความเชื่อของชุมชน มีการถือปฏิบัติสืบทอดอย่างยาวนาน มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้ง ผู้ถือครองและผู้ปฏิบัติโนราได้ส่งต่อศรัทธาความรู้ที่ได้รับจากบรรพบุรุษ เพื่อสืบทอดจริยธรรมแนวทางปฏิบัติตนเพื่อสร้างความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เชื่อมโยงจารีตทางวัฒนธรรมผ่านศิลปะการแสดงที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นภาคใต้ เป็น “มหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา” เป็น “นาฏยลักษณ์ของคนใต้” การแสดงประกอบไปด้วยการร่ายรำที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง การขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ ใช้ปฏิภาณในการด้นกลอนสด และเจรจาด้วยสำเนียงท้องถิ่นใต้ มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไว การได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก ถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นการพัฒนาการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของไทยให้เข้มแข็ง นอกจากนี้ยังทำให้คนในชาติเกิดจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกันและยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม จุดประกายให้เกิดความสนใจในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสงวนรักษา อันจะนำไปสู่ความสามัคคีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมและดำเนินงานปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินโนราในฐานะศิลปินแห่งชาติ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อดำเนินโครงการถ่ายทอดการแสดงพื้นบ้านโนราให้แก่เยาวชน พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาวิจัย และจัดให้มีเวทีการแสดงโนราในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังกำหนดจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณค่าความสำคัญของโนรา ในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของโนราในลำดับต่อไป
โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
๑) การจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ การประกาศขึ้นทะเบียนโนรา เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
๒) การสร้างความตระหนักรับรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของโนรา ให้กับสื่อมวลชน/ประชาชน/เยาวชน โดยประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
๓) การสร้างการมีส่วนร่วมของศิลปิน ชุมชนโนรา และสถาบันการศึกษา
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการสืบทอดโนรา และขยายฐานผู้ปฏิบัติ ผู้ถือครองให้กว้างขวางและเข้มแข็ง
๔) การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล/กลุ่มบุคคล/ชุมชน/องค์กร ที่มีการส่งเสริมการสืบสานโนรา
สำหรับบรรยากาศภายในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ประกอบด้วย นิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การขึ้นทะเบียนโนรา ในฐานะตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับโนรา เครื่องแต่งกายของโนรา เครื่องดนตรีของโนรา และท่ารำของโนรา โดยจัดงานภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid ๑๙ ) อย่างเคร่งครัด ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานจัดงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเอกสารนำเสนอโนราขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) และนับเป็นความยินดีและภาคภูมิใจร่วมกันอีกวาระหนึ่งของคนไทยทุกคน ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานาน และนิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ให้เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.๒๐๐๓ ของ UNESCO ครั้งที่ ๑๖ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
โดยเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มีมติเห็นชอบให้ขึ้นทะเบียน “โนรา” (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List) ตามที่ประเทศไทยเสนอ
มติดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ ๑๖ (Sixteenth session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในรูปแบบออนไลน์ จากสำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลฯ พิจารณาขึ้นทะเบียนโนรา เนื่องจากมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทั้ง ๕ ข้อของการขึ้นทะเบียนประเภท Representative List ได้แก่
๑. มรดกนั้นสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญา มาตรา ๒
๒. มรดกนั้นเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จะส่งเสริมความประจักษ์และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การสะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ
๓. มาตรการสงวนรักษานั้น ได้พิจารณากันมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการปกป้องและส่งเสริมมรดกนั้น
๔. มรดกที่จะเสนอนั้น เกิดจากชุมชน กลุ่มบุคคล หรือปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมกับได้รับความเห็นชอบซึ่งมาจากความรับรู้เข้าใจอย่างเป็นอิสระเสียก่อน
๕. มรดกนั้นปรากฏและดำรงอยู่ในดินแดนของรัฐภาคีที่นำเสนอ โดยบรรจุอยู่แล้วในบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของรัฐภาคีนั้น ตามที่นิยามไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มาตรา ๑๑ และ ๑๒
ทั้งนี้ โนรามีคุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางด้านศิลปะการแสดงที่มีพัฒนาการสืบทอดมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๘-๑๙ และมีลักษณะสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ถึง ๔ สาขา คือ ๑) มุขปาฐะ ๒) ศิลปะการแสดง ๓) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล และ ๔) งานช่างฝีมือดั้งเดิม โดยเป็นศิลปะการแสดงซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่ภาคใต้มาช้านาน มีรากฐานมาจากความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนที่ให้ความเคารพบูชาต่อบรรพบุรุษ มีการร่ายรำที่ทรงพลังงดงาม ควบคู่ไปกับการขับบทร้องเป็นภาษาถิ่นใต้ที่ต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบ โดยมีดนตรีประกอบจังหวะที่ให้ทำนองเร้าใจ เรื่องราวที่แสดงนำมาจากนิทาน ตำนาน และวรรณกรรมพื้นบ้าน ส่วนเครื่องแต่งกายสะท้อนให้เห็นถึงงานช่างฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ปัจจุบันมีคณะโนราอาชีพในประเทศไทย จำนวน ๓๘๗ คณะ โดย ๗๐% กระจุกตัวอยู่มากบริเวณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการสืบทอดศิลปะทั้งด้านการแสดง ช่างฝีมือ ดนตรี และพิธีกรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัด และเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วภาคใต้
โนราเป็นทั้งพิธีกรรมและศิลปะการแสดงเพื่อความบันเทิง ที่มีรากฐานมาจากศรัทธาความเชื่อของชุมชน มีการถือปฏิบัติสืบทอดอย่างยาวนาน มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้ง ผู้ถือครองและผู้ปฏิบัติโนราได้ส่งต่อศรัทธาความรู้ที่ได้รับจากบรรพบุรุษ เพื่อสืบทอดจริยธรรมแนวทางปฏิบัติตนเพื่อสร้างความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เชื่อมโยงจารีตทางวัฒนธรรมผ่านศิลปะการแสดงที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นภาคใต้ เป็น “มหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา” เป็น “นาฏยลักษณ์ของคนใต้” การแสดงประกอบไปด้วยการร่ายรำที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง การขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ ใช้ปฏิภาณในการด้นกลอนสด และเจรจาด้วยสำเนียงท้องถิ่นใต้ มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไว การได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก ถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นการพัฒนาการส่งเสริมรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของไทยให้เข้มแข็ง นอกจากนี้ยังทำให้คนในชาติเกิดจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกันและยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม จุดประกายให้เกิดความสนใจในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสงวนรักษา อันจะนำไปสู่ความสามัคคีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมและดำเนินงานปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินโนราในฐานะศิลปินแห่งชาติ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อดำเนินโครงการถ่ายทอดการแสดงพื้นบ้านโนราให้แก่เยาวชน พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาวิจัย และจัดให้มีเวทีการแสดงโนราในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังกำหนดจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณค่าความสำคัญของโนรา ในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของโนราในลำดับต่อไป
โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
๑) การจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ การประกาศขึ้นทะเบียนโนรา เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
๒) การสร้างความตระหนักรับรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของโนรา ให้กับสื่อมวลชน/ประชาชน/เยาวชน โดยประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
๓) การสร้างการมีส่วนร่วมของศิลปิน ชุมชนโนรา และสถาบันการศึกษา
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการสืบทอดโนรา และขยายฐานผู้ปฏิบัติ ผู้ถือครองให้กว้างขวางและเข้มแข็ง
๔) การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล/กลุ่มบุคคล/ชุมชน/องค์กร ที่มีการส่งเสริมการสืบสานโนรา
สำหรับบรรยากาศภายในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ประกอบด้วย นิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การขึ้นทะเบียนโนรา ในฐานะตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับโนรา เครื่องแต่งกายของโนรา เครื่องดนตรีของโนรา และท่ารำของโนรา โดยจัดงานภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid ๑๙ ) อย่างเคร่งครัด ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย