เมื่อ : 08 ก.พ. 2567 , 85 Views
สุดยอดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ สจล. และ INNOPA อินโดนีเซีย คว้ารางวัลสูงสุด Grand Prize จากงาน IPITEx 2024

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ Indonesian Invention and  Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คว้ารางวัล Grand Prize สุดยอดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติจากงาน IPITEx 2024 ในปีนี้ นักประดิษฐ์จากนานาชาติที่เข้าร่วมงานต่างชื่นชมประเทศไทย ที่ให้การต้อนรับนักประดิษฐ์อย่างดียิ่งและจัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่ ได้รับผลตอบรับที่ดีทั้งโอกาสทางการตลาด สู่การเรียนรู้สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม สร้างเครือข่ายนักประดิษฐ์นานาชาติ

 

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ Bangkok International Intellectual Property Invention Innovation and Technology Exposition 2024 (IPITEx 2024) ภายในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 (Thailand Inventors’ Day 2024)” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิและคณะผู้บริหาร วช. ร่วมยินดี โดยมีคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาชาติเข้าร่วมกิจกรรมมอบรางวัลอย่างเนืองแน่น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.  มุ่งมั่นในการนำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักประดิษฐ์นักวิจัยนานาชาติและไทย เข้าร่วมนำเสนอผลงานในมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ Bangkok International Intellectual Property Invention Innovation and Technology Exposition (IPITEx ) อย่างต่อเนื่องทุกปี ในงาน “วันนักประดิษฐ์ (Thailand Inventors’ Day)”  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกในการสร้างแรงบันดาลใจแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาผลงานประดิษฐ์คิดค้น และเป็นแรงจูงใจในการประดิษฐ์คิดค้นแก่นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ตลอดจนเปิดโอกาส ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักประดิษฐ์นานาชาติ ซึ่งในปี 2567 นี้ นับว่าประสบความสำเร็จอย่างดีทั้งในการตอบรับการเข้าร่วมงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ IPITEx 2024 และคุณภาพของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีการสร้างสรรค์และมีคุณภาพสูง

 

ในปีนี้ สุดยอดนักประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลสูงสุดของงาน Grand Prize จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 
- ผลงานเรื่อง “Mobile High-capacity Oxygen Generator for positive pressure ventilator” จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ 
- ผลงานเรื่อง “Increase Oil Production with Electric Desalter’s Reliability Improvement using U-Channel Electrode Clamp in DS7 West Qurna 1 Field (Iraq)” จาก Indonesian Invention and  Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

พร้อมนี้ ยังมีรางวัล The Outstanding International Invention & Innovation Award จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ 
- ผลงานเรื่อง “Morphing eyewear VIAMOF” จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) สาธารณรัฐเกาหลี  
- ผลงานเรื่อง “GreenfilV” Nanocellulose additives and fillers” จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย 
- ผลงานเรื่อง “A wearable gadget for correcting the knee angle of rickets patients” The First Institute of Researchers and Inventors in I.R.IRAN (FIRI) จาก สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และ
- ผลงานเรื่อง “Air Purification Tower with Plasma Technique”   จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

รางวัล ASEAN Excellence Invention and Innovation Award จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ 

ผลงานเรื่อง “GET: A Smart Wastewater System for Industry” จาก Malaysian Invention & Design Society (MINDS) จาก มาเลเซีย

 

รางวัล INTER YOUNG จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ 
- ผลงานเรื่อง “The Smart Mechanized Farm 2.0” จาก Malaysian Invention & Design Society (MINDS) จาก มาเลเซีย

 

รางวัล NRCT Special Award จำนวน 25 รางวัล 
- รางวัล Medal Prize จำนวน 3 รางวัล 
- รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) 
- รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) และ
- รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal)

 

ในงานวันนักประดิษฐ์ปีนี้มีการจัดแสดงผลงานจากประเทศต่าง ๆ มากกว่า 25 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรจากนานาประเทศจำนวน 30 องค์กร และ 38 องค์กร จากประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือเพื่อเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การจัดงานให้ครั้งนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี และเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศใหม่ ๆ เพื่อจะช่วยเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ยิ่งใหญ่ขึ้นคาดว่าในงานวันนักประดิษฐ์ปีต่อไปจะมีการขยายขอบข่ายในการนำเสนอผลงานให้มีความหลากหลายขึ้นทั้งในด้านปริมาณและผลงานที่มีการพัฒนายิ่งขึ้นในหลากหลายมิติขึ้น