VEOCEL™ เตรียมนำระบบจำแนกเส้นใยระบบแรกของอุตสาหกรรม มาใช้ในประเทศไทย ตอบรับกระแสตลาด เปิดเผยวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมความงามอย่างโปร่งใส
เมื่อ : 15 ธ.ค. 2564 ,
986 Views
♦ เลนซิ่ง มองเห็นโอกาสการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของแบรนด์ VEOCEL™ ในประเทศไทย ที่ตลาดให้ความสำคัญกับระบบซัพพลายเชนของผลิตภัณฑ์ความงามที่โปร่งใส ทั้งในกลุ่มผู้บริโภคและธุรกิจที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม
♦ ระบบนี้ จะช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงที่มาของวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับประกันคุณภาพที่มั่นใจได้ว่า แผ่นมาสก์หน้าจากแบรนด์เพื่อความงาม VEOCEL™ ผลิตมาจากเส้นใยไลโอเซลล์พรีเมียมแท้ ๆ
15 ธันวาคม 2564, เลนซิ่ง – ภาพรวมตลาดทั่วโลกของอุตสาหกรรมความงาม เป็นที่คาดกันว่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดแผ่นมาสก์หน้าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ภายในปี 2030[1] ยิ่งผู้บริโภคมองหาแนวทางการใช้ชีวิตด้วยความยั่งยืนกันมากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ยิ่งจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความโปร่งใส ตอบสนองความต้องการตลาดให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ความงามในประเทศไทย แบรนด์ VEOCEL™ Beauty จึงได้นำระบบจำแนกเส้นใย (Fiber Identification System) มาจำแนกผิวสัมผัสของเส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่ง (LENZING™) ทั้งแบบธรรมดา แบบผิวละเอียด และเส้นใยไมโคร ซึ่งเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ไปยังวัตถุดิบที่ใช้ทำแผ่นมาสก์ได้ทั่วโลก ซึ่งระบบนี้ มีเทคโนโลยีการตรวจสอบที่ล้ำหน้า รับประกันได้ถึงคุณภาพ และสื่อสารให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ใช้เส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์ของเลนซิ่งแท้ ๆ ที่ให้คุณภาพผิวสัมผัสพรีเมียมตามประเภทของแผ่นมาสก์นั้น ๆ
นายเยอร์เกิน ไอซิงเงอร์ รองประธานสายงานธุรกิจโกลบอลนอนวูฟเวน (Global Nonwovens Business) ของ Lenzing AG กล่าวว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมความงาม จากที่เน้นด้านคุณภาพของเส้นใยที่ไม่ผ่านการถักทอหรือนอนวูฟเวน มาถึงการรับประกันวัตถุดิบที่ใช้ในแผ่นมาสก์หน้าว่าเป็นของแท้และตรวจสอบได้ด้วยความโปร่งใส เมื่อสหภาพยุโรปมีคำสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสดีที่จะเปิดตัวระบบจำแนกเส้นใยไลโอเซลล์ภายใต้แบรนด์ VEOCEL™ เพราะแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ล้วนตระหนักว่า ความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งสำคัญ และถือเป็นประเด็นลำดับต้น ๆ ในโมเดลธุรกิจและการบริหารชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งเราประเมินว่า ระบบการจำแนกเส้นใยนี้ จะมีบทบาทสำคัญสำหรับแบรนด์ VEOCEL™ Beauty ในปี 2565 และต่อไปในอนาคต”
เส้นใยระดับพรีเมียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ระบบจำแนกเส้นใย (Fiber Identification System) สามารถนำมาใช้กับผิวสัมผัสเส้นใยประเภทต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ VEOCEL™ Beauty ซึ่งเป็นเส้นใยที่เหมาะนำไปใช้ผลิตแผ่นมาสก์หน้า เส้นใยเหล่านี้ เป็นเส้นใยจากพืชแท้ ๆ ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable) และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable) ที่ผลิตขึ้นในออสเตรเลีย เส้นใยผิวสัมผัสต่าง ๆ จากใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่งนั้น เป็นเทคโนโลยีโปร่งแสงที่ได้รับสิทธิบัตร ทำให้แผ่นมาสก์หน้าเรียบเนียนอย่างเป็นธรรมชาติและโปร่งแสงมากกว่าวัสดุประเภทอื่น และนอกจากจะมีคุณภาพชั้นเลิศ เส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่งในผิวสัมผัสแบบต่าง ๆ ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (CarbonNeutral®) จากการที่สามารถลดร่องรอยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ (net-zero) ได้
ผู้บริโภคสร้างการซื้อสินค้าอย่างรับผิดชอบได้ โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
ระบบจำแนกเส้นใยสามารถระบุถึงเส้นใยที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ควบคุมคุณภาพ และรับรองว่าเป็นแบรนด์แท้ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบที่มีคุณภาพด้อยกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตรวจสอบจากระบบยังช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจและสบายใจได้ยิ่งขึ้นว่า วัสดุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ความงามของตน ได้รับการรับรองว่าสะอาดและทำจากเส้นใยพรีเมียมแท้ ๆ เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนให้แก่ผู้บริโภคผู้ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเลือกซื้อสินค้า
“ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่อยากจะเข้าใจถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ต้องการความโปร่งใสในการใช้ส่วนผสมต่าง ๆ ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ระบบใหม่ในการจำแนกเส้นใยนี้ จะเปิดทางให้ผลิตภัณฑ์ความงามของไทยมีแต้มต่อในการแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเราเล็งเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสการเติบโตสูงในอุตสาหกรรมความงามและของใช้ส่วนบุคคลของไทย เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับด้านสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น” นายสตีเวน ไช่ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ธุรกิจนอนวูฟเวนในภูมิภาคเอเชียของ Lenzing กล่าว “เมื่อสามารถยกระดับความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทานได้ แบรนด์ไทยก็จะสามารถโฟกัสในด้านอื่น ๆ ของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและเติบโตของแบรนด์ได้ในระยะยาว”
♦ ระบบนี้ จะช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงที่มาของวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับประกันคุณภาพที่มั่นใจได้ว่า แผ่นมาสก์หน้าจากแบรนด์เพื่อความงาม VEOCEL™ ผลิตมาจากเส้นใยไลโอเซลล์พรีเมียมแท้ ๆ
15 ธันวาคม 2564, เลนซิ่ง – ภาพรวมตลาดทั่วโลกของอุตสาหกรรมความงาม เป็นที่คาดกันว่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดแผ่นมาสก์หน้าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ภายในปี 2030[1] ยิ่งผู้บริโภคมองหาแนวทางการใช้ชีวิตด้วยความยั่งยืนกันมากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ยิ่งจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความโปร่งใส ตอบสนองความต้องการตลาดให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ความงามในประเทศไทย แบรนด์ VEOCEL™ Beauty จึงได้นำระบบจำแนกเส้นใย (Fiber Identification System) มาจำแนกผิวสัมผัสของเส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่ง (LENZING™) ทั้งแบบธรรมดา แบบผิวละเอียด และเส้นใยไมโคร ซึ่งเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ไปยังวัตถุดิบที่ใช้ทำแผ่นมาสก์ได้ทั่วโลก ซึ่งระบบนี้ มีเทคโนโลยีการตรวจสอบที่ล้ำหน้า รับประกันได้ถึงคุณภาพ และสื่อสารให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ใช้เส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์ของเลนซิ่งแท้ ๆ ที่ให้คุณภาพผิวสัมผัสพรีเมียมตามประเภทของแผ่นมาสก์นั้น ๆ
นายเยอร์เกิน ไอซิงเงอร์ รองประธานสายงานธุรกิจโกลบอลนอนวูฟเวน (Global Nonwovens Business) ของ Lenzing AG กล่าวว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมความงาม จากที่เน้นด้านคุณภาพของเส้นใยที่ไม่ผ่านการถักทอหรือนอนวูฟเวน มาถึงการรับประกันวัตถุดิบที่ใช้ในแผ่นมาสก์หน้าว่าเป็นของแท้และตรวจสอบได้ด้วยความโปร่งใส เมื่อสหภาพยุโรปมีคำสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสดีที่จะเปิดตัวระบบจำแนกเส้นใยไลโอเซลล์ภายใต้แบรนด์ VEOCEL™ เพราะแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ล้วนตระหนักว่า ความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งสำคัญ และถือเป็นประเด็นลำดับต้น ๆ ในโมเดลธุรกิจและการบริหารชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งเราประเมินว่า ระบบการจำแนกเส้นใยนี้ จะมีบทบาทสำคัญสำหรับแบรนด์ VEOCEL™ Beauty ในปี 2565 และต่อไปในอนาคต”
เส้นใยระดับพรีเมียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ระบบจำแนกเส้นใย (Fiber Identification System) สามารถนำมาใช้กับผิวสัมผัสเส้นใยประเภทต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ VEOCEL™ Beauty ซึ่งเป็นเส้นใยที่เหมาะนำไปใช้ผลิตแผ่นมาสก์หน้า เส้นใยเหล่านี้ เป็นเส้นใยจากพืชแท้ ๆ ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable) และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable) ที่ผลิตขึ้นในออสเตรเลีย เส้นใยผิวสัมผัสต่าง ๆ จากใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่งนั้น เป็นเทคโนโลยีโปร่งแสงที่ได้รับสิทธิบัตร ทำให้แผ่นมาสก์หน้าเรียบเนียนอย่างเป็นธรรมชาติและโปร่งแสงมากกว่าวัสดุประเภทอื่น และนอกจากจะมีคุณภาพชั้นเลิศ เส้นใยไลโอเซลล์ลิขสิทธิ์เฉพาะของเลนซิ่งในผิวสัมผัสแบบต่าง ๆ ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (CarbonNeutral®) จากการที่สามารถลดร่องรอยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ (net-zero) ได้
ผู้บริโภคสร้างการซื้อสินค้าอย่างรับผิดชอบได้ โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
ระบบจำแนกเส้นใยสามารถระบุถึงเส้นใยที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ควบคุมคุณภาพ และรับรองว่าเป็นแบรนด์แท้ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบที่มีคุณภาพด้อยกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตรวจสอบจากระบบยังช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจและสบายใจได้ยิ่งขึ้นว่า วัสดุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ความงามของตน ได้รับการรับรองว่าสะอาดและทำจากเส้นใยพรีเมียมแท้ ๆ เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนให้แก่ผู้บริโภคผู้ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเลือกซื้อสินค้า
“ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่อยากจะเข้าใจถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ต้องการความโปร่งใสในการใช้ส่วนผสมต่าง ๆ ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ระบบใหม่ในการจำแนกเส้นใยนี้ จะเปิดทางให้ผลิตภัณฑ์ความงามของไทยมีแต้มต่อในการแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเราเล็งเห็นว่ามีศักยภาพและโอกาสการเติบโตสูงในอุตสาหกรรมความงามและของใช้ส่วนบุคคลของไทย เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับด้านสุขภาวะหรือคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น” นายสตีเวน ไช่ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ธุรกิจนอนวูฟเวนในภูมิภาคเอเชียของ Lenzing กล่าว “เมื่อสามารถยกระดับความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทานได้ แบรนด์ไทยก็จะสามารถโฟกัสในด้านอื่น ๆ ของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและเติบโตของแบรนด์ได้ในระยะยาว”
[1] ที่มา: Transparency Market Research