เมื่อ : 09 ต.ค. 2566 , 118 Views
วัยเกษียณควรระวัง!! หูตึง ภัยเงียบ เสี่ยงโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า แพทย์ จุฬาฯ จัด ‘ซุ้มโดมบ้านนก’ ประเมินการได้ยินเบื้องต้น ผ่าน “เสียงนก”

ปัจจุบันสถานการณ์ทั่วโลกมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ( มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ) และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 

 

ระดับสุดยอดในปี พ.ศ.2574โดยปัญหาการได้ยินและการทรงตัว เป็นปัญหาหลัก1ใน3ของผู้สูงอายุทั่วโลก โดยเฉพาะวัยเกษียณอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อีกทั้งปัญหาการได้ยินยังเป็นสัญญาณความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม เนื่องจากเมื่อการได้ยินลดลง ส่งผลให้การกระตุ้นสมองลดลงตามไปด้วย เมื่อสมองขาดการกระตุ้นเป็นเวลานาน  5 - 10 ปี ล้วนส่งผลให้สมองเสื่อมถอย และฝ่อเร็วขึ้น ทั้งนี้ยังพบว่าปัญหาการได้ยินเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม สูงสุดถึง 2 เท่า 

 

อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์เฉพาะทางด้านโสตประสาทวิทยา ศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความรู้ในหัวข้อปัญหาการได้ยินกับความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม พร้อมทั้งเผยว่า ในบรรดาคนไข้ภาวะสมองเสื่อมจากจำนวน 2 ใน 5 คน ปัญหาด้านการ ได้ยินซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่สามารถป้องกันได้ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยการกระตุ้นการได้ยิน และกระตุ้นสมองก็สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันและ อยู่ร่วมกับสังคมได้ตามปกติ และสำหรับนิทรรศการสื่อผสม “เสียงนั้น เธอได้ยินไหม” ถูกทำขึ้นมาในรูปแบบบ้านนกสีเหลืองสดใส ของนก 5 ประเภทด้วยกัน  นกเร็น นกเดินดง นกเดินดงสีดำ นกคัคคู และนกเขา ซึ่งเมื่อกดปุ่ม นกในบ้านแต่ละหลังจะส่งเสียงร้องออกมา เพื่อให้ผู้เข้าชมประเมินตนเองว่า สามารถได้ยินเสียงนกร้องหรือไม่

 

‘ซุ้มโดมบ้านนก’ นิทรรศการศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว

‘ซุ้มโดมบ้านนก’ เป็นนิทรรศการที่ออกแบบและจัดโดยศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย British Council กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านโครงการ Thai-UK World-class university consortium catalyst grant University College London หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษาการวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.)  สำหรับตรวจวัดระดับการได้ยินของตนเองผ่านเสียงนก ซึ่งนกแต่ละกรงจะปล่อยเสียงแต่ละความถี่เพื่อทดสอบ การได้ยินและความสามารถในการรับเสียงสัญญาณทุกย่านความถี่ของผู้เข้ารับการทดสอบ

 

  • บ้านที่ 1 นกเร็น (Wren) ความถี่ 4000-8000 Hz เสียงแหลมมาก
  • บ้านที่ 2 นกเดินดง (Song thrush) ความถี่ 3000-4000 Hz เสียงแหลม
  • บ้านที่ 3 นกเดินดงสีดำ (Blackbird) ความถี่ 1000-2000 Hz เสียงกลาง
  • บ้านที่ 4 นกคัคคู (Cuckoo bird) ความถี่ 350-750 Hz เสียงกลางค่อนข้างทุ้ม
  • บ้านที่ 5 นกเขา (Collared bird dove) ความถี่ 250-350 Hz เสียงทุ้ม

เสียงของนกแต่ละชนิดจะแทนย่านความถี่ที่แตกต่างกันซึ่งตามปกติความถดถอยด้านการรับเสียงของมนุษย์จะสูญเสียความ  สามารถในการรับเสียงแหลมหรือเสียงที่สูง และตามมาด้วยอาการสื่อสารไม่เข้าใจเนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเสียงที่ทุ้มต่ำลงมาตามลำดับ เมื่อตรวจพบว่าหูไม่สามารถรับเสียงได้ตามปกติผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา และกระตุ้นการได้ยิน เพื่อให้สามารถกลับมาได้ยินชัดเจนอีกครั้งซึ่งเสียง ที่ได้ยินจะกลับเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท  และสมองต่อไป   

 

สำหรับผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการได้ยิน สามารถติดตาม ข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook ของทางศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ https://www.facebook.com/ChulaHearingBalance  หรือติดต่อขอนิทรรศการสื่อผสม “ซุ้มโดมบ้านนก” เพื่อนำไปแสดง ได้ที่email: info.loylombon@gmail.com

             

ตรวจการได้ยินด้วยตนเองง่ายๆได้ฟรี!  ด้วยแอปพลิเคชันแรกในไทย 

EarTest by Eartone

 

สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่สนใจตรวจการได้ยินด้วยตนเองผ่าน Smart Phone หรือ Tablet โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน EarTest by Eartone ตรวจการได้ยินเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบระดับการได้ยิน และป้องกัน ภาวะสมองเสื่อมซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นความสำเร็จที่ร่วมพัฒนาโดย เอียร์โทน จากห้องปฏิบัติการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน University College London​ ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศอังกฤษ Royal Academy of Engineering British Council กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านโครงการ Thai-UK World-class University Consortium catalyst grant สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข) และบริษัท เอียร์โทน (ประเทศไทย) จำกัด

 

คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก มีปณิธานที่จะสร้างคน สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม สร้างเสริมสังคมไทยให้ก้าวไกลในสังคมโลก โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ มีวิสัยทัศน์มุ่งเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและสร้างมาตรฐาน ระดับนานาชาติ สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ตลอดจน ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงวิชาการของชาติและนานาชาติและชี้นำสังคม ซึ่งความร่วมมือในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและทุนวิจัย ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุด้านการได้ยินและทรงตัว ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาการวิจัยและร่วมมือ หลักสูตรเพื่อนำไปสู่การเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำในระดับชาติและนานาชาติแล้วยังสามารถต่อยอดงานวิจัยให้กลายเป็นงานให้บริการกับบุคคลโดยทั่วไปได้ อย่างแท้จริง