สศท.3 เผยผลศึกษา “ฟางข้าว” จ.อุดรธานี วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตา ตามแนวทาง BCG Model
นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดันการใช้ทรัพยากรในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง BCG Model (Bio Circular Green Economy) โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งวัดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่สำคัญและมีปริมาณมาก คือ “ฟางข้าว” โดยข้อมูลปี 2565 (ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน และ สศก.) พบว่า ประเทศไทย มีปริมาณฟางข้าวทั้งหมด 27.05 ล้านตัน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ จึงเป็นแหล่งที่เกิดฟางข้าวปริมาณมาก มีปริมาณฟางข้าว 856752 ตัน
เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดันการใช้ทรัพยากรในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง BCG Model (Bio Circular Green Economy) โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งวัดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ที่สำคัญและมีปริมาณมาก คือ “ฟางข้าว” โดยข้อมูลปี 2565 (ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน และ สศก.) พบว่า ประเทศไทย มีปริมาณฟางข้าวทั้งหมด 27.05 ล้านตัน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ จึงเป็นแหล่งที่เกิดฟางข้าวปริมาณมาก มีปริมาณฟางข้าว 856752 ตัน
จากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น เรื่อง การจัดการโซ่อุปทาน และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษาฟางข้าว เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 เป็นประธาน ซึ่ง สศท.3 ในฐานะหน่วยงานหลักผู้รับผิดชอบ ได้จัดประชุมเพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการฟางข้าว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อุดรธานี สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี ศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟางข้าว
สำหรับการใช้ประโยชน์และการลดต้นทุนจากฟางข้าวในจังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้ใช้ประโยชน์สินค้าฟางข้าว ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ จากข้อมูลปศุสัตว์ในประเทศไทย 2566 จังหวัดอุดรธานี มีจำนวนโคเนื้อ กระบือ และโคนม รวมกว่า 267539 ตัว ผู้เลี้ยงรับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 32.27 ของผลผลิตทั้งหมด เมื่อนำฟางข้าวมาใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงปศุสัตว์เปรียบเทียบกับการใช้หญ้าแพงโกล่าหรืออาหารหยาบ (TMR 16%) สามารถช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือได้ 15.79 บาท/ตัว/วัน (ลดลงร้อยละ 52.63) และลดต้นทุนการเลี้ยงโคนมได้ 28.96 บาท/ตัว/วัน (ลดลงร้อยละ 48.27) 2) ผู้เพาะเห็ด รับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 0.95 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ในการเพาะเห็ดเปรียบเทียบกับการใช้เปลือกมันสำปะหลังสามารถลดต้นทุนได้ 2965 บาท/ปี (ลดลงร้อยละ 24.71) 3) ผู้เพาะเลี้ยงประมง รับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 0.64 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้เป็นอาหารปลาเปรียบเทียบกับการใช้อาหารปลาสำเร็จรูปสามารถลดต้นทุนได้ 13843.20 บาท/ไร่/รุ่น (ลดลงร้อยละ 62.40) 4) ผู้ผลิตปุ๋ย รับซื้อสินค้าฟางอัดก้อน ร้อยละ 0.32 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยเปรียบเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์สามารถลดต้นทุนได้ 305 บาท/ไร่/รอบการผลิต (ลดลงร้อยละ 30.50) และ 5) เกษตรกรเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง โดยการเก็บฟางข้าวที่อัดก้อนไว้ใช้ประโยชน์เอง ร้อยละ 48.56 ของผลผลิตทั้งหมด และไถกลบในนาข้าว ร้อยละ 17.26 ของผลผลิตทั้งหมด