เมื่อ : 04 ส.ค. 2566 , 247 Views
รพ.พานาซี พระราม 2 ตระหนักถึงอัตราการฆ่าตัวตายจากภาวะโรคซึมเศร้าของคนไทย  เปิดตัวศูนย์จิตต์สราญ ใช้นวัตกรรมสร้างความสมดุลทั้งกายและใจ ลดภาวะเครียดและรักษาโรคซึมเศร้า

ในทุก ๆ ปีทั่วโลกมีคนมากกว่า 7 แสนคนฆ่าตัวตายสำเร็จ โดยเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที สำหรับประเทศไทย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2563 สูงขึ้นทุกปี โดยตัวเลขล่าสุด ในปี 2565 ประเทศไทยมีคนคิดฆ่าตัวตาย ปีละ 50000 กว่าคน ในขณะคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 4800 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหามาจากโรคซึมเศร้า และพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุคิดฆ่าตัวตายมากขึ้น อันเป็นเพราะปัญหาของฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดภาวะซึมเศร้า ในขณะที่กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15 - 34 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น โดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเรื่อง ความเครียด ความกดดันครอบครัว ทั้งในสถานที่ทำงานและในโรงเรียน จากการคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตกว่าล้านคนในประเทศไทย พบว่ามีภาวะเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมาคือเกิดจากความเครียดสูง และเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย 

 

ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้ โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 หันมาศึกษา ภาวะเครียด ซึมเศร้า จากร่างกาย สมอง จิตใจ ที่ไม่สมดุล และค้นหาวิธีรักษาเพื่อลดการใช้ยา มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อให้คนไข้มีสุขภาพกายที่ดี  สุขภาวะที่แข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง โดยทำการเปิดตัวศูนย์จิตต์สราญ เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า Mental Health Center พร้อมจัดงานเสวนา “Mental Well-Being สุขภาพจิตอ่อนไหว หรือข้างในไม่สมดุล”  โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารรพ.พานาซี  คุณหมอ และบุคลากรชื่อดังในด้านจิตวิทยาเข้าร่วมแชร์ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน อาทิ คุณศิริญา เทพเจริญ กรรมการบริหาร PANACEE MEDICAL CENTER  คุณยุรนันท์ ภมรมนตรี ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ PANACEE MEDICAL CENTER  นพ.โอม สุดชุมแพ (ผู้อำนวยการพานาซีเวลล์เนส เขาใหญ่ และแพทย์ที่ปรึกษาประจำโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ  จิตแพทย์ / นักแต่งเพลง และ ที่ปรึกษาด้าน People & Mindful Leadership นพ.ภัทรพล คำมูลตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 และ คุณเขื่อน ภัทรดนัย เสตสุวรรณ นักจิตวิทยา เพื่อร่วมเสวนาถึงปัญหาของโรคซึมเศร้า และภาวะเสี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้าที่กำลังเป็นที่กังวลของสังคมไทยในยุคนี้

 

นายแพทย์ โอม สุดชุมแพ แพทย์ชำนาญการด้าน functional medicine and integrative mental health หัวแรงสำคัญของการสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งกายใจ ของโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2  ได้กล่าวว่า  “จริงๆ สมอง ร่างกาย จิตใจ สัมพันธ์กันหมด เราทราบกันดีว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์ย่อมช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่ว่าอาหารไม่ได้ช่วยให้พลังงานหรือทำให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์สามารถช่วยในการทำงานของสมองได้เช่นเดียวกัน มีวิตามินบางชนิดที่ช่วยในเรื่องของสารสื่อประสาท เช่น วิตามิน B6 กรดอะมิโน หรือโปรตีนบางชนิด ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าเราขาดสารอาหารเหล่านี้ ก็จะทำให้สารสื่อประสาทของสมองผิดพลาดได้”​ 

 

“ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องกินอาหารที่มีความสามารถในการเพิ่มระดับ เซโรโทนิน หรืออาหารจำพวกโปรตีน สามารถสร้างสารสื่อประสาท เช่น ฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน ทำให้สมองทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นขั้นตอนการรักษาของเรา จะเป็นการตรวจหาสารอาหารในร่างกาย และตรวจหาระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อภาวะเครียด เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อร่างกายเครียด ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น เราเชื่อว่า การรักษาโรคซึมเศร้า ไม่ใช่เพียงแค่จะทานยาเคมี เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญคือ การตรวจหา ต้นตอ ที่อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะเครียด เช่น การนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน”

 

นพ.โอม ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงขบวนการรักษาโรคซึมเศร้าแนวใหม่ของ ศูนย์จิตต์สราญ โรงพยาบาล พานาซี พระราม 2 ว่า   “หลังจากการตรวจหาสารอาหาร หรือ ฮอร์โมนขั้นต้นแล้ว เรามีการตรวจยูรีน เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ ของสารในร่างกาย จากนั้นขั้นตอนของการรักษาที่ศูนย์จิตต์สราญ เราสร้างความเข็มแข็งของสุขภาวะกาย และใจ ด้วยการ ใช้ IV treatment เพื่อให้ปรับสมดุล การเติมสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายต้องการ ตลอดจนการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ทั้งการทา หรือการรับประทาน  อีกทั้งการรักษาร่วมอีกหนึ่งศาสตร์ที่เราได้นำมาใช้ คือ scientific therapeutic essential oil เพื่อการบำบัดด้วยกลิ่น น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อจิตใจ การที่เราได้กลิ่นหรือสูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเข้าไปนั้น กลิ่นจะเดินทางไปยังสมองส่วนลิมบิกโดยตรง ซึ่งสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกและฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับจิตใจนั่นเอง” คุณหมอโอม ได้อธิบายถึงการนำกลิ่นมาใช้เพื่อการบำบัดภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการรักษาสำคัญของโรงพยาบาลพานาซี พระรามสอง 

 

นอกจากที่ รพ.พานาซี พระราม 2 จะเป็น ศูนย์บำบัดจิตใจแล้ว พานาซี เขาใหญ่ ก็ถือเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ได้นำศาสตร์แห่งการสร้างสมดุลกายใจ เพื่อการบำบัดภาวะเครียด และการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเช่นกัน “ที่เขาใหญ่ เราเน้น ศาสตร์ที่เรียกว่า Therapeutic landscape and psychiatric care facilities หรือการนำทัศนียภาพ วิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาใช้ในการบำบัดจิตใจ ยิ่งถ้าได้เห็นภูเขา อยู่ท่ามกลางแมกไม้สีเขียวแล้ว คนไข้ย่อมผ่อนคลายได้ง่ายขึ้น” คุณหมอโอม กล่าว

 

พานาซี เขาใหญ่ สถานที่ที่เรียกว่า มีเพียงหนึ่งเดียวที่มี facilities ดังกล่าว เนื่องจาก พานาซี เขาใหญ่ ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่สวยงาม พร้อมด้วยอากาศที่ติด 1 ใน 10 ของโลก ที่มีโอโซน ในปริมาณที่มาก ทางพานาซี เขาใหญ่ จึงสร้างความแตกต่างด้วยการเปิดศูนย์ retreat mind and body เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการลดภาวะความเครียด และต้องการเข้าแคมป์บำบัดโรคซึมเศร้าอีกด้วย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่ www.panacee.com     และ  www.panaceehospital.com 

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ