มิติใหม่แห่งวงการบำบัด สร้างสุขภาวะที่ดีให้คนในสังคม เปิดตัว “ทีมสุนัขนักบำบัดฯ” รุ่นแรกของไทย การันตีด้วยหลักสูตรอบรมมาตรฐานระดับโลกจากสวิตฯ
สมาคมสุนัขนักบำบัด จัดงาน First in Thailand Therapy Dog Thailand Team Debut!” เพื่อ เปิดตัวทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 ที่ผ่านการอบรม “หลักสูตร Certified Therapy Dog Thailand” ซึ่ง allfine เป็นผู้ริเริ่มโครงการและพัฒนาหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2563 เพื่อฝึกฝนเจ้าของสุนัขและสุนัขที่มีศักยภาพให้เป็น “ทีมสุนัขนักบำบัด" มาตรฐานระดับโลกเป็นครั้ง แรกในประเทศไทย ตามแนวทางของ Therapy Dog Association Switzerland VTHS ประเทศสวิตเซอร์ แลนด์ โดยหวังว่างานในครั้งนี้จะสร้างการรับรู้ให้สังคม ในวงกว้างถึงความพร้อมของทีมสุนัขนักบำบัดแห่ง ประเทศไทย ในการต่อยอดความรู้ไปสู่ การลงมือ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างความรัก และความสุขให้แก่ สังคมไทย
คุณวรกร โอสถารยกุล ผู้ก่อตั้งโครงการและหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย (Therapy Dog Thailand) และนายกสมาคมสุนัขบำบัด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2563 allfine ได้มีการเปิดอบรมหลักสูตร Certified Therapy Dog Thailand จนวันนี้ มี “ทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่1” ที่ผ่านการทดสอบ และทำงานในฐานะจิตอาสา เพื่อทดลองบำบัดผู้รับบริการกว่า 150 ราย ในหลากหลาย สถานที่ อาทิ การบำบัดเด็กหูหนวก ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ การบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าของ โรงพยาบาลศรีธัญญา การบำบัดผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อม ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหลอดเลือดสมอง The Senizens และการบำบัดเด็กพิเศษที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำหรับก้าวต่อไปของโครงการ คุณวรกร เผยว่าภายหลังมีการจัดตั้งสมาคมสุนัขบำบัด จะให้ทีม สุนัขนักบำบัดฯ ที่จบการศึกษาได้สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสุนัขบำบัด เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการ กำหนดทิศทางและการทำงานภาคการบำบัด เพื่อสร้างความรักและความสุขให้แก่สังคมไทย ในมิติต่างๆ อาทิ การเป็นหนึ่งในทางเลือกของเครื่องมือแพทย์ในการบำบัดผู้ป่วย การเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับ เด็กพิการหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การเป็นผู้นำในการส่งเสริมการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีของ เจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการเลี้ยงดู ตลอดจนการจัดพื้นที่ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคน และสุนัข ไปจนถึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงานภาคสังคมร่วมกับภาครัฐ ในการพัฒนาสุนัขชุมชน ต่อไป
“จากนี้ การทำงานของเรา จะดำเนินไปแบบคู่ขนานทั้งการฝึกอบรมและการบำบัด ดังนั้น ก้าวแรก ที่สำคัญ คือ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัขนักบำบัด ว่าป็นการฝึกอบรมให้เจ้าของได้มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้รับการบำบัดในแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะเป็นภาวะโรค ลักษณะพื้นฐานที่พึงรู้ สภาวะ ทางร่างกายและจิตใจ การออกแบบการบำบัดซึ่งเป็นหลักสำคัญในการเข้าบำบัดให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างดี ทั้งหมดเป็นเหมือนวิชาชีวิต ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่ากับคนในครอบครัว หรือคนรอบตัว เราเรียนกันจริงจังทั้งเจ้าของและสุนัข ตามแนวทางมาตรฐานหลักสูตรระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจและ อุ่นใจในการไปทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงส่งเสริมภาคธุรกิจในการพัฒนาสังคมต่อไป อีกส่วนหนึ่ง คือ การสร้างทีมสุนัขนักบำบัดฯ ซึ่งตอนนี้เรากำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3 เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจ มาร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการบำบัดไทย ด้วยการใช้ “ทีมสุนัขนักบำบัด” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเครื่องมือแพทย์สำหรับ การบำบัดผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องการบำบัด
ด้านคุณนุ่น-อาจารี เกียรติเฟื่องฟู ข้าราชการ นักไตรกีฬา และเจ้าของเพจรองเท้าสองคู่ เจ้าของน้องซัมเมอร์ ตัวแทนทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจ มาอบรม เป็นทีมสุนัขนักบำบัดฯ ว่านอกจากซัมเมอร์จะเป็นหมาที่แอกทีฟ และทำกิจกรรมเยอะอยู่แล้ว เธอยังเชื่อว่าสุนัขเกิดมาเพื่อมี Purpose บางอย่าง ซัมเมอร์ไม่ได้เกิดมาเพื่อรักเจ้าของเท่านั้น แต่ยังเผื่อแผ่ ความรักไปถึงคนรอบข้างด้วยเช่นกัน
“ก่อนหน้านี้ เคยได้ยินเกี่ยวกับหลักสูตรสุนัขบำบัดในต่างประเทศมาบ้าง แต่ยังไม่ได้มีโอกาสเข้า ร่วม จนพอรู้ว่ามีหลักสูตรสุนัขนักบำบัดในประเทศไทย เลยตัดสินใจมาเรียน พอมาเรียนทำให้รู้ว่า หลักสูตร นี้ ค่อนข้างตอบโจทย์ และเหมาะกับซัมเมอร์มาก ความสุขที่ได้จากการมาอบรม คือ นอกจากตัวเราและ ซัมเมอร์จะมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ยังดีใจที่เห็นว่าคนเราเข้าไปช่วยบำบัดก็มีความสำคัญเช่นกัน ที่สำคัญ เรายังได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการสังเกต ปฏิกิริยาของผู้คน ที่มีต่อสุนัขของเรา รู้ว่าเราควรจะเข้าหาคนแต่ละประเภทอย่างไร เพราะเวลาเราไปทำงานบำบัด เราก็ต้อง รู้จักสังเกต และทำความรู้จักผู้ป่วยหลายๆ ประเภทเช่นกัน เพื่อให้การบำบัดบรรลุเป้าหมาย ซึ่งนุ่นหวังว่า การมีทีมสุนัขนักบำบัดที่ผ่านการอบรมหลักสูตรฯที่ได้มาตรฐาน จะสร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานต่างๆ พร้อมเปิดใจให้ทีมสุนัขนักบำบัดเข้าไปปฎิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม
ด้านคุณตาม-วันวิสาข์ ล่ำซำ ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย เจ้าของ “ยุ่งยิ่ง” อีกหนึ่ง ตัวแทนทีม สุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 กล่าวเสริมว่า จริงๆ แล้วยุ่งยิ่งเป็นสุนัขของลูกสาว ซึ่งไปเรียนต่อต่างประเทศ เลยฝากให้ช่วยเลี้ยง ช่วงแรกๆ ที่ลูกสาวทั้งสองคนไม่อยู่บ้านค่อนข้างเหงา แต่ พอทุกเช้าตื่นมาเจอยุ่งยิ่งที่มีท่าทีตื่นเต้น ดีใจทุกครั้งที่เจอกันทุกเช้า ทำให้รู้สึกว่ามีความสุข เหมือนได้ เติมเต็มพลังบวกในการเริ่มต้นทุกวัน จนพอมาเข้าร่วมหลักสูตรสุนัขนักบำบัดฯ ทำให้ค้นพบศักยภาพ ในตัวของยุ่งยิ่ง และยังได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ที่เป็นคนรักสุนัขด้วยกัน และยังได้เห็นมุมมองของคนที่ทุ่มเท เพื่อช่วยเหลือคนอื่น และได้สัมผัสกับพลังของการทำงานเป็นทีมเวิร์คอีกด้วย
นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ “Therapy Dog for All Well-Being in Thailand” เพื่อฉายภาพอนาคตของชุมชนสุนัขนักบำบัด ที่สอดแทรกอยู่ในมิติต่างๆของการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่ การมีสุขภาวะที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ของเจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการ เลี้ยงดู การจัดพื้นที่เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคนและสุนัข และการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงาน ภาคสังคมเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุนัขชุมชนต่อไป ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึง ส่งเสริมภาคธุรกิจที่กำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต อาทิ เทรนด์ธุรกิจเพื่อผู้สูงวัย และ เทรนด์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ รวมไปถึงงานออกแบบเชิงสถาปัตย์
คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ ที่ปรึกษาและกรรมการกิติมศักดิ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ว่า ก่อนหน้านี้ เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องสุนัขบำบัดในต่างประเทศมาก่อน แต่ที่ผ่านมา หลายคนจะคุ้นกับคอนเซปต์ของสุนัข นำทางคนตาบอดมากกว่า ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มมี แต่ยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้น พอเห็นว่าประเทศไทยจะมี โครงการสุนัขนักบำบัดฯ จึงมองว่าเป็นเรื่องที่ดี และยิ่งตอนนี้มีทีมสุนัขนักบำบัดฯที่ผ่านการอบรมเรียบร้อย เชื่อว่าจะยิ่งทำให้การใช้สุนัขบำบัดเป็นที่แพร่หลายและได้รับความสนใจ
พญ.นาฏ ฟองสมุทร คณะกรรมการกองทุนผู้สูงวัย กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ เสริมว่า ด้วยความที่เป็นแพทย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจว่าหนึ่งในเรื่องใหญ่ ของผู้สูงอายุไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บแต่เป็นความเหงา โครงการสุนัขนักบำบัดฯ ถือเป็นหนึ่งในกุศโลบาย ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุยอมออกจากห้องที่พักมาทำกิจกรรม และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนรอบข้าง เพื่อกระตุ้น สมองและร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงมองว่าโครงการฯนี้เป็นประโยชน์มาก และยังสามารถขยายผลเข้าไป ยังกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ในชมรม หรือที่บ้าน ตลอดจนใช้ในการบำบัดในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่ค่อนข้างเหงา เพราะต้องเผชิญกับความเจ็บปวด หรือบางคนอาจจะเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ได้ ดังนั้นการได้กอดหรือเล่นกับสุนัข ก็สามารถช่วยลดความกังวลและความเจ็บปวดให้คนกลุ่มนี้ได้เป็น อย่างดี”
ขณะที่ สพ.ญ.กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ผู้ก่อตั้งและ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาล สัตว์ทองหล่อ จำกัด กล่าวว่า สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่คน ในครอบครัวได้ ยิ่งหากมีการออกแบบและจัดการพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงได้ดีแล้ว จะทำให้สัตว์เลี้ยงมี สุขภาพที่ดี และมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ทำให้คนเลี้ยงก็มีความสุขในการเลี้ยงไปด้วย สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ของทั้งคนเลี้ยงและสัตว์
ปิดท้ายด้วย รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อ ความยั่งยืน (RISC) บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะมองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจให้กับมนุษย์ แต่โครงการ สุนัขนักบำบัดฯ ช่วยเปิดมุมมองใหม่ว่า สุนัขสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการแพทย์ได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นอีกโจทย์ที่น่าสนใจในการนำไปต่อยอดในเชิงสถาปัตย์ฯ
“ปกติเวลาจะพัฒนาเมืองแห่งอนาคต เราจะตั้งโจทย์ว่า จะมีส่วนผสมอะไรที่จะนำเข้ามาใช้ได้บ้าง ซึ่งที่ผ่านมาสัตว์เลี้ยงจะถูกนำมาต่อยอดในเชิงของการสร้างพื้นที่ให้อยู่ร่วมกับเจ้าของ แต่กลับไม่เคยมอง ในมิติว่าสัตว์เลี้ยงทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ ด้วยการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้คน ซึ่งเป็นเรื่องที่สนใจ เพราะถ้า ดูโครงสร้างประชากรไทยที่เลี้ยงสัตว์เป็นเหมือนลูก จะพบว่ามีมากกว่าอัตราเติบโตแซงหน้าอัตราการเกิด ของประชากรไปเป็นที่เรียบร้อย จากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อัตราการเกิดอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อปี แต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 5 แสนคนต่อปี ดังนั้นในอนาคต เราจะเห็นภาพของคนที่อยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน จึงไม่แปลกที่วันนี้อาคารที่ออกแบบให้สัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกับเจ้าของได้จะขายดีกว่าอาคารที่ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ และเชื่อว่า ถ้าโครงการสุนัขนักบำบัดฯยิ่งเป็นที่รู้จัก อาจจะทำให้เราเห็นทางเลือกใหม่ๆในการพัฒนาเมืองในอนาคต” รศ. ดร. สิงห์ กล่าวทิ้งท้าย