ฟอร์ดประกาศ 10 ทีมเยาวชนระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Ford Innovator Scholarship 2021
เมื่อ : 16 พ.ย. 2564 ,
966 Views
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย, 15 พฤศจิกายน 2564 – ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมมือกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association - PDA) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (Institute of Field Robotics - FIBO) และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ประกาศผลผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายในโครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021 เวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ในหัวข้อ นวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่ (Plus For A Better World Challenge) จากนักศึกษาทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาผลงานก่อนจะเข้าสู่รอบตัดสินเพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษารวมมูลค่า 840,000 บาท ในวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564
ฟอร์ด ประเทศไทย เดินหน้าส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเยาวชนไทยผ่านการจัดประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีนี้ โครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021 มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่มีโอกาสต่อยอดให้เกิดขึ้นจริงโดยคำนึงถึงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและภัยพิบัติ และการพัฒนาอาชีพและธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งหลังจากเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา มีทีมเยาวชนจากทั่วประเทศร่วมส่งผลงานเข้ามาประชันไอเดียถึง 74 ทีม แบ่งเป็นระดับอาชีวศึกษา 42 ทีม และระดับอุดมศึกษา 32 ทีม โดยในจำนวนนี้ ทางคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาและคัดเลือกผลงานจำนวน 10 โครงงานจากระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาอย่างละ 5 ทีม เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ประกอบด้วย
ระดับอาชีวศึกษา
นักศึกษาจากทั้งระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 10 โครงงาน จะได้รับการเสริมพลังความรู้ด้านการออกแบบนวัตกรรม การทำการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านคลาสออนไลน์เป็นระยะเวลากว่าสองสัปดาห์ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงโครงงานก่อนที่จะนำเสนอครั้งสุดท้ายในรอบตัดสินวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาจำนวน 20 ทุน มูลค่ารวม 840,000 บาท ประกอบด้วย ทุนการศึกษาสำหรับทีมระดับอาชีวศึกษาและสถาบันฯ รวม 10 ทุน (5 ทีม) และทุนการศึกษาสำหรับทีมระดับอุดมศึกษาและสถาบันฯ รวม 10 ทุน (5 ทีม) โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนโครงงานต่างๆ จากความคิดสร้างสรรค์ แนวโน้มในการนำโครงการไปพัฒนาต่อเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมได้จริง และไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้รางวัลในปีที่ผ่านมา
ฟอร์ด ประเทศไทย เดินหน้าส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเยาวชนไทยผ่านการจัดประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีนี้ โครงการ Ford+ Innovator Scholarship 2021 มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่มีโอกาสต่อยอดให้เกิดขึ้นจริงโดยคำนึงถึงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและภัยพิบัติ และการพัฒนาอาชีพและธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งหลังจากเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา มีทีมเยาวชนจากทั่วประเทศร่วมส่งผลงานเข้ามาประชันไอเดียถึง 74 ทีม แบ่งเป็นระดับอาชีวศึกษา 42 ทีม และระดับอุดมศึกษา 32 ทีม โดยในจำนวนนี้ ทางคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาและคัดเลือกผลงานจำนวน 10 โครงงานจากระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาอย่างละ 5 ทีม เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ประกอบด้วย
ระดับอาชีวศึกษา
- 1. นวัตกรรมเตาปิ้งย่างลดควัน ระบบป้องกันการไหม้ด้วยน้ำประหยัดพลังงาน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี
2. ชุดช่วยอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุอำนวยความสะดวก สะอาด ปลอดภัย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี
3. Clean Oysters: Street Food วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี
4. ถังขยะกำจัดขยะติดเชื้อระบบอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จ. สุราษฎร์ธานี
5. เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอด วิทยาลัยเทคนิคสารภี จ.เชียงใหม่
- 1. ปลาเม็ง PLUS+ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
2. เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
3. อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลังความเเข็งสูงเพื่อป้องกันความเสียหาย จากการใช้งานด้วยกระบวนการปรับผิวแบบการยิงอนุภาคละเอียด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
4. AppointMed สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี
5. โมดูลซับแรงกระแทกน้ำ จากการขับรถในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม Water shock-absorbing module from driving during a flood situation มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
นักศึกษาจากทั้งระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 10 โครงงาน จะได้รับการเสริมพลังความรู้ด้านการออกแบบนวัตกรรม การทำการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านคลาสออนไลน์เป็นระยะเวลากว่าสองสัปดาห์ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงโครงงานก่อนที่จะนำเสนอครั้งสุดท้ายในรอบตัดสินวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาจำนวน 20 ทุน มูลค่ารวม 840,000 บาท ประกอบด้วย ทุนการศึกษาสำหรับทีมระดับอาชีวศึกษาและสถาบันฯ รวม 10 ทุน (5 ทีม) และทุนการศึกษาสำหรับทีมระดับอุดมศึกษาและสถาบันฯ รวม 10 ทุน (5 ทีม) โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนโครงงานต่างๆ จากความคิดสร้างสรรค์ แนวโน้มในการนำโครงการไปพัฒนาต่อเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมได้จริง และไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้รางวัลในปีที่ผ่านมา