วช. จับมือ จ.ศรีสะเกษ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาคฯ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” มุ่งพัฒนาทุเรียนภูเขาไฟด้วยวิจัยและนวัตกรรม
วันที่ 24 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ จังหวัดศรีสะเกษ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับชุมชน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน ซึ่งมี นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ คุณปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร แห่งกรมส่งเสริมการเกษตร ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มีภารกิจสำคัญในการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน นับเป็นงานที่สําคัญของ วช. ที่ได้ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาค ในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาล เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้ วช. เชื่อมโยง บูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชน” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการให้ชุมชน สังคม ได้เข้าถึงงานวิจัย ได้นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้และเชื่อมโยงในการพัฒนาการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ช่วงเวลาที่ผ่านมา เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนไปแล้ว 11 แห่ง และในครั้งนี้เป็นการเปิดตัวศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ได้แก่ ศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ทุเรียนภูเขาไฟเป็นหลัก จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดย่อม ในการได้รับองค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างบุคลากรในพื้นที่เพื่อทําหน้าที่เป็นวิทยากร และผู้ชํานาญการงานบริการวิชาการแก่ศูนย์วิจัยชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัย นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชน สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีความยินดีที่ได้รับเกียรติจาก วช. และ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกจังหวัดศรีสะเกษในการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ของเครือข่ายวิจัยฯ โดยทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2531 และได้ผลผลิตครั้งแรก ในปี พ.ศ.2537 จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่สามารถปลูกทุเรียนได้ผลดี โดยเฉพาะพื้นที่อําเภอกันทรลักษ์ และอําเภอขุนหาญ ที่มีทุเรียนติดอันดับความนิยมของประเทศ อันเป็นผลมาจากการปลูกในพื้นที่ภูเขาไฟโบราณที่มีธาตุอาหารสําคัญ สภาพภูมิอากาศไม่ชื้น ทำให้เนื้อทุเรียนแห้งพอดี นุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จนถูกเรียกว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”
คุณปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร แห่งกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีบทบาทในการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ ในภาพรวมของการปลูกทุเรียนในประเทศ ประมาณ 1300000 ไร่ นอกจากภาคตะวันออกและภาคใต้ จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุด กว่า 20000 ไร่ แต่ถ้านับเรื่องคุณภาพของทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษถือเป็นที่หนึ่งในประเทศ มากกว่าทุเรียนจากภาคตะวันออกและภาคใต้ กรมส่งเสริมการเกษตรมีความมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานของทุเรียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า วช. ได้มอบหมายให้ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดําเนินกิจกรรมการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน เพื่อส่งเสริมการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ แก้ปัญหาของชุมชน หรือเพิ่มศักยภาพรายได้ของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้ สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนหรือพื้นที่นั้น ๆ ในปัจจุบันเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนแล้ว จํานวน 11 แห่งในจังหวัดต่าง ๆ ของภูมิภาค การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทเุรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ในครั้งนี้ เป็นการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ซึ่งทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ได้
รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ วช. และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ เรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัย นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ วช. และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ เรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัย นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑม์วลรวม (GDP) ของจังหวัด อีกทั้งจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่สามารถปลูกทุเรียนได้ผลดี จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 15110 ไร่ เกษตรกรรวม 2350 ครัวเรือน ให้ผลผลิตแล้ว 5750 ไร่ (คิดเป็น 38%) ยังไม่ให้ผลผลิต 9360 ไร่ (คิดเป็น 62%) ปลูกในพื้นที่ภูเขาไฟโบราณแถบเทือกเขาพนมดงรัก มีดินชนิดหินบะซอลต์เป็นดินเหนียวสีแดง มีคุณสมบัติระบายน้ำได้ดีและมีธาตุอาหารที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสสูง เอื้อประโยชน์ให้เนื้อทุเรียนแห้งพอดี นุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน โดยปลูกในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ รวม 5596 ไร่ (คิดเป็น 98%) ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรนิยม ปลูกพันธุ์หมอนทอง ชะนี และก้านยาว และจังหวัดศรีสะเกษได้ทําการจดบันทึกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นทุเรียนที่อัตลักษณ์เฉพาะ คือ “เนื้อทุเรียนเหนียวนุ่ม กรอบนอกนุ่มใน เส้นใยละเอียด กลิ่นหอมละเมียด เมล็ดลบี เปลือกบาง” เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก