ฟินบิส โดย ทีทีบี ติดอาวุธให้เอสเอ็มอี กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ลับคมธุรกิจ รู้ทันเกมส์การตลาด สร้างยอดขายให้เติบโตอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 19 เมษายน 2566 – ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดงานสัมมนาในรูปแบบ Interactive ภายใต้แนวคิด finbiz industry hack 2023 ติดอาวุธอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลับคมธุรกิจ รู้ทันพฤติกรรมลูกค้า อ่านเกมส์คู่แข่งให้ขาด พร้อมวางแผนธุรกิจ เพื่อลดต้นทุน สร้างยอดขาย สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นางพรรณวลัย อินทราพิเชฐ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Product) ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักและสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยในปี 2565 มีมูลค่าตลาดรวมเกือบ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น ส่วนในปี 2566 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องได้อีก 5.5% โดยธนาคารเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดงานสัมมนาในรูปแบบ Interactive ภายใต้ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ด้วยองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก พันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์มทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกธุรกิจปัจจุบัน พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นางสาวสุทิพา ปัญญามหาทรัพย์ Chief PC & HCC Business Officer บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตดีขึ้นหลังซบเซามานานจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม Personal Care ที่โตถึง 11.7% สำหรับเทรนด์ผู้บริโภคที่คาดว่าจะมาแรงในตลาดอุปโภคบริโภคของไทย คือ Power to the Peopleการที่ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้า ทางบริษัทผู้ผลิตหรือแบรนด์ต่าง ๆ ได้เริ่มเปิดโอกาสและรับความคิดเห็นด้านต่าง ๆ จากผู้บริโภค พร้อมนำ data มาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของอีคอมเมิร์ซนั้นมีแนวโน้มที่เติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่เติบโตขึ้นปีละ 100% แต่สินค้าที่ขายทางออนไลน์นั้นกำไรค่อนข้างน้อย เพราะต้นทุนค่อนข้างสูง เช่น ค่ากล่อง ค่าขนส่ง ฯลฯ อีกทั้งยังต้องแข่งขันกันสูงเรื่องโปรโมชัน ซึ่งผู้บริโภคมักมองหาก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ อย่างไรก็ตาม อีคอมเมิร์ซเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ยังต้องมีตามพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยประเทศไทยนิยมซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ ในปี 2566 เป็นยุคของ Hybrid World ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายที่ร้านค้า (Physical Store) มากขึ้น หลังจากอัดอั้นและช้อปผ่านออนไลน์มาตลอด ผู้ประกอบการจึงต้องดูแลช่องทางการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้สมดุล ไม่ควรทุ่มไปช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ซึ่งในปีนี้คาดว่าช่องทางออนไลน์จะเติบโตเพิ่มขึ้น เพียง 10-20% โดยสินค้าที่ขายดีคือ สินค้าแฟชั่น อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเพื่อสุขภาพและดูแลร่างกาย
ด้าน นางปิยนุช ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ Co-Founder & Head of Strategies บริษัท เฮด วันฮันเดรด จำกัด ได้เล่าถึงธุรกิจกับการสร้างแบรนด์ยุค 2023 ที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่เปรียบเสมือนยุคที่ทำธุรกิจแบบนั่งตกปลา นั่งอยู่เฉย ๆ ปลาก็มางับเหยื่อ แต่ยุคนี้ต่อให้นำเบ็ดตกปลามาหมดทุกรูปแบบ ปลาก็อาจจะยังไม่มากินเหยื่อ นั่นเป็นเพราะบริบทของตลาดได้เปลี่ยนไป ปัจจุบันจึงต้องเชื่อมทุกช่องทางแบบ Omni-Channel เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และทำให้ทุก Touch Point เป็นประสบการณ์ที่ดี ลูกค้ารักแบรนด์และอยากอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ นอกจากนั้นยังบอกถึงเทคนิคการสร้างแบรนด์ยุคดิจิทัล 1. ไปไหนไปด้วย (Be Where the Customer is) ผู้บริโภคอยู่ไหน แบรนด์ต้องอยู่ตรงนั้น 2. ยกระดับประสบการณ์ (Seamless Experience) ทำทุกอย่างให้ผู้บริโภคประทับใจ ทำ Omni-Channel Marketing โดยเชื่อมต่อทุกช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ 3. คอนเทนต์โดน ให้จดจำ (Content with Impact) บอกเล่าสั้น ๆ ได้ใจความและตรงประเด็น ใช้การตัดสินใจด้วยอารมณ์ให้เป็นประโยชน์
นางสาวสุวิดา จิรประเสริฐกุล Head of SME Business Development LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีหลายช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า แอปพลิเคชัน LINE ซึ่งมีผู้ใช้งานคนไทยเกินกว่า 50 ล้านราย จึงได้สร้างสรรค์โซลูชันใหม่เพื่อการทำธุรกิจแบบ Chat Commerce อย่างครบวงจร ส่งเสริมกลยุทธ์ Omni-channel ให้เกิดขึ้นบนระบบนิเวศน์ของ LINE โดยเชื่อมโยงการใช้งาน 3 เครื่องมือหลัก ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนการทำมาร์เก็ตติ้งได้ง่าย หลากหลาย ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า และที่สำคัญ ตอบโจทย์ 3 Omni-Channel ที่ลูกค้ามองหาได้อย่างลงตัว ประกอบด้วย 1) LINE Official Account สร้างและรักษาฐานลูกค้าประจำ LINE OA เป็นเหมือนพื้นที่ส่วนตัวของแบรนด์ที่ผู้ประกอบการสามารถสร้างคอนเทนต์ สร้างโปรโมชันที่รู้ใจ เจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด รวมถึงช่วยแก้ปัญหาของลูกค้า เพิ่มคุณค่าของสินค้า ซึ่งจะช่วยสร้างฐานลูกค้า ทำให้ลูกค้ารักแบรนด์ของเรามากขึ้น 2) LINE Ads ค้นหาลูกค้าที่ใช่ นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายมาทำ Custom Audience เพื่อลงโฆษณาหาลูกค้าใหม่มาเติมเต็ม 3) LINE Shopping ปิดการขายง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมีพนักงานขายมาช่วย ทั้งยังไม่ต้องตั้งราคาแข่งขันกับคนอื่น เพราะเป็นพื้นที่เฉพาะของแบรนด์เราเท่านั้น
ขณะที่ นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ความท้าทายของผู้ประกอบการรายเล็กคือ “ต้นทุน” ที่สูงกว่ารายใหญ่ โดยต้นทุนการขายของผู้ประกอบการรายเล็กในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 75% ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่อยู่ที่ 70% ซึ่งส่งผลต่ออัตรากำไรที่ต่างกันเป็นเท่าตัว ยิ่งในปีนี้ยังมีแรงกดดันด้านต้นทุนอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ ในขณะที่การปรับราคาขายในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นทำได้ยาก การบริหารจัดการต้นทุนและประสิทธิภาพการดำเนินงานจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อกำไรของธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาตจึงได้พัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ttb sme one bank บัญชีธุรกิจที่ช่วยประหยัดต้นทุนttb smart shop ตัวช่วยในการจัดการร้านค้าและรับชำระผ่าน QR ttb quick pay บริการสร้าง Link เพื่อการรับชำระเงินออนไลน์และบริการที่ทางธนาคารให้ความสำคัญ นั่นคือ ttb payroll plus บริการโอนจ่ายเงินเดือนโดยไม่มีค่าธรรมเนียมและดูแลสวัสดิการพนักงานแบบครบวงจรด้วยต้นทุนที่ประหยัด เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการด้าน บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของ ทีทีบี) หรือ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร
* * * * * *
#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange
* * * * * *