“แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย” ก้าวต่อไปของการต่อยอดและขยายผล “เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย”
เมื่อ : 02 พ.ย. 2564 ,
1019 Views
งานเปิดตัวเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจไว้หลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือความร่วมมือของเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยจะเป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ลดการกระจุกตัวทางนวัตกรรม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมุมมองและความคิดต่อนวัตกรรม ซึ่งหลังจากการเกิดขึ้นของเครือข่ายนวัตกรรมประเทศแล้ว ก้าวต่อไปที่จะต่อยอดและขยายผล คือ แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย
แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย หรือ Innovation Thailand Dashboard เป็นอีกหนึ่งกรอบการดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์ม นวัตกรรมประเทศไทย ที่ NIA ตั้งเป้าให้เกิดข้อมูลด้านนวัตกรรมประเทศไทย ด้วยการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลด้านนวัตกรรมของประเทศที่มีความหลากหลายจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศทุกภาคส่วนภายใต้เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย ซึ่งนำมาแสดงรวมกันไว้ในแดชบอร์ดเดียวที่ data.nia.or.th เพื่อให้นักลงทุน หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย จะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการสร้างนวัตกรรมของประเทศในหลากหลายมิติ และเกิดมุมมองของประเทศไทยที่แตกต่างจากเดิม
นางธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า data.nia.or.th ประกอบด้วยข้อมูลหลากหลายมิติ ทั้งสถิติผู้ประกอบการที่มีการแยกตามประเภทของอุตสาหกรรม การจัดเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ทราบถึงการกระจายตัว และข้อมูลระดับพื้นที่ สามารถค้นหาและเข้าถึงผู้ประกอบการนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น ช่วยสนับสนุนการวางแนวทางพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจทางด้านนวัตกรรมกับพื้นที่ สามารถใช้โอกาสและทรัพยากรในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม อาทิ ข้อมูลศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และห้องปฏิบัติการของภาครัฐ ซึ่งมีกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่และมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ข้อมูลของผู้รับจ้างผลิตและโรงงานต้นแบบ อีกทั้งยังมีข้อมูลของ Co-Working Space หรือสถานที่สำหรับจัดงานและกิจกรรมในพื้นที่ รวมถึงกิจกรรมเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมและธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ที่มีไอเดียและกำลังมองหาการสนับสนุนทางด้านงานวิจัยและพัฒนา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
“ไม่เพียงแต่ฐานข้อมูลนวัตกรรมที่แสดงถึงข้อมูลเชิงสถิติ และเชิงพื้นที่เท่านั้น แต่แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทยยังให้ข้อมูลในระดับองค์กร โดยร่วมกับเครือข่ายวิชาการพัฒนาโมเดลศักยภาพนวัตกรรมองค์กร จัดทำระบบประเมินเพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแนวทางการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทขององค์กร ทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับผู้จัดการนวัตกรรมในองค์กร รวมถึงการสร้างเครือข่ายบุคลากรในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันของพันธมิตรในเครือข่ายฯ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนให้เครือข่ายนวัตกรรมไทยมีความเข้มแข็ง”
อย่างไรก็ตาม แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย จะก้าวไปข้างหน้าได้หรือไม่นั้น ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันของ เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เป็นกลไกหลักในการผลักดันให้แดชบอร์ดนวัตกรรมไทยขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงความสำคัญของเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยว่า เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม นวัตกรรมประเทศไทย โดยดึงมิติทางนวัตกรรมที่น่าสนใจของพันธมิตรในทุกภาคส่วน เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมในการเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพ ต่อยอดและขยายผล รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลให้เกิด แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย ตั้งแต่ระดับเมืองกระจายไปสู่ระดับภูมิภาค
“ที่ผ่านมา NIA พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ร่วมกันจัดกิจกรรมนำร่องด้านนวัตกรรมหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” หรือ Yothi Medical Innovation District (YMID) “โครงการนิลมังกร” กิจกรรมระดับภูมิภาคที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี หรือโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่มีอัตลักษณ์และความโดดเด่นด้านนวัตกรรมได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่”
นอกจากนี้ NIA ยังมีการจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร IDE to IPO ภายใต้ NIA Academy ที่ทำร่วมกับตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ดิจิทัล สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี หรือท่องเที่ยว และหลักสูตร SME to IBE ทำงานร่วมกับเอสซีบี เพื่อทรานส์ฟอร์มจาก SME ให้เป็น Innovation-based Enterprise กิจกรรม Accelerator Program และ Incubator Program สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีโครงการ Space F ที่ทำร่วมกับไทยยูเนี่ยน และมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ NIA ยังร่วมกับทรู ดิจิทัล พาร์ค ขยายผลพื้นที่ให้เป็น Bangkok CyberTech District ที่เป็นแพลตฟอร์มบริการเชิงพื้นที่สำหรับบริษัทนวัตกรรมด้านดิจิทัล และล่าสุด ARI Innovation District ที่มี แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เป็นพาร์ทเนอร์หลักในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายในปี 2568 พื้นที่อารีย์จะต้องเป็นเมืองฉลาดรู้ เป็นย่านแห่งดิจิทัล และเทคโนโลยีต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น NIA ยังให้ความสำคัญนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยร่วมกับนิสสันจัดโครงการแค่ใจก็เพียงพอ เพื่อทำให้ชุมชนมีการเติบโตที่ยั่งยืน
ผู้สนใจดูนวัตกรรมไทยที่น่าภาคภูมิใจได้ที่ www.innovationthailand.org หรือ FB : Innovation.THA และสามารถดูข้อมูลความรู้ การให้บริการนวัตกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างและใช้ประโยชน์นวัตกรรมอย่างแพร่หลาย ได้ที่ data.nia.or.th
แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย หรือ Innovation Thailand Dashboard เป็นอีกหนึ่งกรอบการดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์ม นวัตกรรมประเทศไทย ที่ NIA ตั้งเป้าให้เกิดข้อมูลด้านนวัตกรรมประเทศไทย ด้วยการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลด้านนวัตกรรมของประเทศที่มีความหลากหลายจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศทุกภาคส่วนภายใต้เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย ซึ่งนำมาแสดงรวมกันไว้ในแดชบอร์ดเดียวที่ data.nia.or.th เพื่อให้นักลงทุน หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย จะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการสร้างนวัตกรรมของประเทศในหลากหลายมิติ และเกิดมุมมองของประเทศไทยที่แตกต่างจากเดิม
นางธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า data.nia.or.th ประกอบด้วยข้อมูลหลากหลายมิติ ทั้งสถิติผู้ประกอบการที่มีการแยกตามประเภทของอุตสาหกรรม การจัดเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ทราบถึงการกระจายตัว และข้อมูลระดับพื้นที่ สามารถค้นหาและเข้าถึงผู้ประกอบการนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น ช่วยสนับสนุนการวางแนวทางพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจทางด้านนวัตกรรมกับพื้นที่ สามารถใช้โอกาสและทรัพยากรในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม อาทิ ข้อมูลศูนย์วิจัยเฉพาะทาง และห้องปฏิบัติการของภาครัฐ ซึ่งมีกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่และมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ข้อมูลของผู้รับจ้างผลิตและโรงงานต้นแบบ อีกทั้งยังมีข้อมูลของ Co-Working Space หรือสถานที่สำหรับจัดงานและกิจกรรมในพื้นที่ รวมถึงกิจกรรมเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมและธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ที่มีไอเดียและกำลังมองหาการสนับสนุนทางด้านงานวิจัยและพัฒนา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
“ไม่เพียงแต่ฐานข้อมูลนวัตกรรมที่แสดงถึงข้อมูลเชิงสถิติ และเชิงพื้นที่เท่านั้น แต่แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทยยังให้ข้อมูลในระดับองค์กร โดยร่วมกับเครือข่ายวิชาการพัฒนาโมเดลศักยภาพนวัตกรรมองค์กร จัดทำระบบประเมินเพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแนวทางการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทขององค์กร ทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับผู้จัดการนวัตกรรมในองค์กร รวมถึงการสร้างเครือข่ายบุคลากรในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันของพันธมิตรในเครือข่ายฯ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนให้เครือข่ายนวัตกรรมไทยมีความเข้มแข็ง”
อย่างไรก็ตาม แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย จะก้าวไปข้างหน้าได้หรือไม่นั้น ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันของ เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เป็นกลไกหลักในการผลักดันให้แดชบอร์ดนวัตกรรมไทยขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงความสำคัญของเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยว่า เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม นวัตกรรมประเทศไทย โดยดึงมิติทางนวัตกรรมที่น่าสนใจของพันธมิตรในทุกภาคส่วน เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมในการเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพ ต่อยอดและขยายผล รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลให้เกิด แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย ตั้งแต่ระดับเมืองกระจายไปสู่ระดับภูมิภาค
“ที่ผ่านมา NIA พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ร่วมกันจัดกิจกรรมนำร่องด้านนวัตกรรมหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” หรือ Yothi Medical Innovation District (YMID) “โครงการนิลมังกร” กิจกรรมระดับภูมิภาคที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี หรือโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่มีอัตลักษณ์และความโดดเด่นด้านนวัตกรรมได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่”
นอกจากนี้ NIA ยังมีการจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร IDE to IPO ภายใต้ NIA Academy ที่ทำร่วมกับตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ดิจิทัล สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี หรือท่องเที่ยว และหลักสูตร SME to IBE ทำงานร่วมกับเอสซีบี เพื่อทรานส์ฟอร์มจาก SME ให้เป็น Innovation-based Enterprise กิจกรรม Accelerator Program และ Incubator Program สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีโครงการ Space F ที่ทำร่วมกับไทยยูเนี่ยน และมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ NIA ยังร่วมกับทรู ดิจิทัล พาร์ค ขยายผลพื้นที่ให้เป็น Bangkok CyberTech District ที่เป็นแพลตฟอร์มบริการเชิงพื้นที่สำหรับบริษัทนวัตกรรมด้านดิจิทัล และล่าสุด ARI Innovation District ที่มี แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เป็นพาร์ทเนอร์หลักในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายในปี 2568 พื้นที่อารีย์จะต้องเป็นเมืองฉลาดรู้ เป็นย่านแห่งดิจิทัล และเทคโนโลยีต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น NIA ยังให้ความสำคัญนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยร่วมกับนิสสันจัดโครงการแค่ใจก็เพียงพอ เพื่อทำให้ชุมชนมีการเติบโตที่ยั่งยืน
ผู้สนใจดูนวัตกรรมไทยที่น่าภาคภูมิใจได้ที่ www.innovationthailand.org หรือ FB : Innovation.THA และสามารถดูข้อมูลความรู้ การให้บริการนวัตกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างและใช้ประโยชน์นวัตกรรมอย่างแพร่หลาย ได้ที่ data.nia.or.th