เมื่อ : 29 ต.ค. 2564 , 1104 Views
อินเทลนำเสนอผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่สำหรับกลุ่มนักพัฒนา  ในงาน Intel Innovation

Alibaba, Argonne, AT&T, Google Cloud, Microsoft, SiPearl และอีกหลากหลายแบรนด์
ร่วมโชว์พลังระบบ Open Ecosystem เพื่อสร้างเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงโลก

 
 

ประเด็นข่าวสำคัญ

  • • ประกาศการควบรวม Developer Zone ชุดเครื่องมือ oneAPI 2022 รุ่นใหม่ และศูนย์ OneAPI Centers of Excellence แห่งใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงงานออกแบบเพื่อการอ้างอิง ชุดเครื่องมือ และทรัพย์สินอื่นๆ ทั้งสำหรับด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลูกค้า คลาวด์ 5G/edge รวมไปถึงการเล่นเกม ด้วยสภาพแวดล้อมสำหรับการเขียนโปรแกรมรวมศูนย์แบบเปิดที่เป็นมาตรฐาน
    • เปิดตัวโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 12  ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีประมวลผล Intel 7 เพื่อมอบประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือกว่าให้กับคอมพิวเตอร์พีซีทุกเครื่องไปจนถึงเทคโนโลยี edge
    • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Argonne Aurora จะสามารถมอบศักยภาพการประมวลผลได้รวดเร็วมากกว่า 2 exaflops
    • Google Cloud และอินเทล เปิดเผยความร่วมมือเชิงลึกและการพัฒนาร่วมกันของ Mt. Evans ซึ่งเป็น IPU ที่ใช้ ASIC ตัวแรกของอินเทล
 
กรุงเทพฯ 28 ตุลาคม 2021 – อินเทลได้หวนคืนสู่รากฐานเดิมของการเป็นนักพัฒนา ในงาน Intel Innovation โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นครั้งใหม่เพื่อชุมชนนักพัฒนา และแนวทางการจัดการซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ให้ความสำคัญกับนักพัฒนาเป็นอันดับแรก การประกาศขยายผลิตภัณฑ์รวมไปถึงเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นการตอกย้ำความตั้งใจของอินเทลในการส่งเสริมระบบนิเวศแบบเปิด (Open Ecosystem) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเหล่านักพัฒนาจะได้เลือกใช้เครื่องมือและสภาพแวดล้อมการทำงานในแบบที่พวกเขาต้องการ ทั้งยังเป็นการสร้างความไว้วางใจและการเป็นพันธมิตรผ่านทางผู้ให้บริการคลาวด์,  ชุมชนโอเพนซอร์ซ, สตาร์ทอัพ ฯลฯ
 
นายแพท เกลซิงเกอร์ ประธานกรรมการบริหารของอินเทล กล่าวว่า ในฐานะผู้สร้างงาน Intel Developer Forum ดั้งเดิม วันนี้ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รวบรวมผู้คนจากทั่วทั้งระบบนิเวศเพื่อมาร่วมสำรวจอนาคตของเทคโนโลยีอีกครั้ง เหล่านักพัฒนาคือซูเปอร์ฮีโร่ตัวจริงของโลกดิจิทัล โลกที่มีเซมิคอนดักเตอร์เป็นรากฐานสำคัญ เราจะไม่หยุดพักจนกว่าเราจะไม่มีตารางธาตุหลงเหลืออยู่เพื่อปลดล็อกความมหัศจรรย์ของซิลิคอนอีกต่อไป ชุมชนนักพัฒนาอยู่บนแนวหน้าของการเป็นผู้นำในยุคใหม่แห่งนวัตกรรม”
 
อินเทลได้ให้รายละเอียดการลงทุนที่สำคัญเพิ่มเติมแก่นักพัฒนา ซึ่งรวมถึงการอัปเดตและการควบรวม Developer Zone เข้ากับชุดเครื่องมือ oneAPI 2022 และศูนย์ OneAPI Centers of Excellence แห่งใหม่ ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงทรัพยากรและลดความยุ่งยากในการพัฒนาสถาปัตยกรรมด้าน CPU และตัวเร่งความเร็ว (Accelerator)
 
          • Developer Zone: เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงดีไซน์ อุปกรณ์ รวมไปถึงฟีเจอร์ต่างๆ อาทิ AI, ลูกค้า, คลาวด์, 5G/edge และการเล่นเกม ทรัพยากรตัวใหม่นี้จะช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถเข้าถึง Intel® Developer Catalog ที่ได้รวบรวมนวัตกรรมซอฟต์แวร์จากอินเทล รวมไปถึงสภาพแวดล้อมการพัฒนา Intel® DevCloud ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อทดสอบและทำงานประเภทเวิร์คโหลดบนฮาร์ดแวร์ล่าสุดจากอินเทล (CPUs, GPUs, FPGAs และตัวเร่งความเร็ว) รวมถึงเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย  
          • oneAPI 2022: อินเทลกำลังเตรียมจัดส่งชุดเครื่องมือ oneAPI 2022 พร้อมฟีเจอร์ใหม่กว่า 900 รายการ และการเปิดตัวรุ่นใหม่ที่เพิ่มความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ข้ามสถาปัตยกรรมสำหรับ CPU และ GPU ผ่าน  C++/SYCL/Fortran Compiler ที่รวมเข้ากับ Data Parallel Python เป็นครั้งแรก และขยายโมเดลเร่งประสิทธิภาพและความเร็วของที่ปรึกษา (Advisor accelerator performance modeling) ซึ่งรวมถึง VTune Flame Graph เพื่อแสดงภาพด้านประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานผ่านการรวม Microsoft Visual Studio Code และการสนับสนุนจาก Microsoft WSL 2
          • One API Centers of Excellence: มหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้ง 11 สถาบันได้ประกาศที่จะส่งมอบพอร์ตรหัสเชิงกลยุทธ์ การสนับสนุนฮาร์ดแวร์ส่วนเพิ่มเติม เทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เกิดการนำระบบนิเวศของ oneAPI ไปใช้ต่อไป โดยสถาบันเหล่านี้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติประจำเมืองโอ๊คริดจ์, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์, มหาวิทยาลัยเดอรัม และมหาวิทยาลัยเทนเนสซี นอกจากนี้ยังมีการขยายสถาบัน Intel Graphics Visualization Institutes of Xellence ให้กลายเป็นศูนย์ oneAPI Centers of Excellence อีกด้วย
 
ข้อมูลเพิ่มเติม: Developer/oneAPI News from Intel Innovation
อินเทลกำลังดำเนินการตามแผนงานผลิตภัณฑ์และกระบวนการ และเร่งนวัตกรรมในกลุ่มเครื่องมือที่ทรงพลัง อาทิ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต (ubiquitous computing) โครงสร้างพื้นฐานของ Cloud to Edge การเชื่อมต่อแบบ pervasive connectivity และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลง การค้นพบ และการสร้างผลกระทบครั้งใหม่
 
การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต: จุดปฏิสัมพันธ์จากมนุษย์สู่เทคโนโลยี
ความสามารถจากคอมพิวเตอร์ได้แทรกซึมอยู่ในทุกส่วนในชีวิตของเรา โดยทำหน้าที่เป็นจุดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีบนอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน และอุปกรณ์ประเภทใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น และในเร็วๆ นี้ เราทุกคนจะมีอุปกรณ์หลายพันเครื่องพร้อมใช้ทันที ภายในสิ้นทศวรรษนี้ มีแนวโน้มว่ามนุษย์เราทุกคนจะมีการเข้าถึงการใช้งานการประมวลผลคอมพิวเตอร์ 1 petaflop และคลังข้อมูลขนาด 1 petabyte ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงเพียงแค่ไม่ถึง 1 มิลลิวินาที
 
เปรียบเสมือนการทำลายสวนที่มีกำแพงล้อมรอบและสร้างสภาพแวดล้อมแบบเปิด อินเทลกำลังขับเคลื่อนอนาคตของคอมพิวเตอร์พีซี ทั้ง CPU, GPU และความก้าวหน้าของแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ๆ โดยการขับเคลื่อนในครั้งนี้ได้สร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับนักพัฒนาสู่การสร้างประสบการณ์อันน่าทึ่งต่างๆ ได้แก่
 
          • โปรเซสเซอร์ Intel Core เจนเนอเรชั่น 12: สถาปัตยกรรมไฮบริดอันทรงประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่นี้[i]แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมที่เป็นไปได้ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ และจะมอบประสิทธิภาพความเป็นผู้นำในระดับใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่นหลังจากนี้ โดยเริ่มด้วยการมาถึงของคอร์เรือธงของอินเทล Core i9-12900K คือโปรเซสเซอร์เกมที่ดีที่สุดในโลก ตระกูล Intel Core เจนเนอเรชั่น 12 จะรวบรวมโปรเซสเซอร์ 60 รุ่นสำหรับการใช้งานทุกระดับ ตั้งแต่เดสก์ท็อปสำหรับผู้ที่ชอบเล่นเกมระดับไฮเอนด์ ไปจนถึงแล็ปท็อปที่บางและเบา โดยบริษัทฯ ได้เริ่มจัดส่งโปรเซสเซอร์ดังกล่าวมากกว่า 28 ชุดให้กับแบรนด์พันธมิตร ทั้งยังได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อปทั้ง 6 รุ่น นำโดยโปรเซสเซอร์สำหรับเล่นเกมที่ดีที่สุดในโลก Intel Core i9-12900K เจนเนอเรชั่น 12 แบบ Unlocked[ii]
          • โซลูชันวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science): นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลสามารถทำข้อมูลซ้ำ แสดงภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนตามความต้องการได้ โดยการกำหนดค่าหน่วยความจำสูงสุดของข้อเสนอต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันด้วยโซลูชันใหม่นี้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยสถาปัตยกรรม Intel® Core™ และ Intel® Xeon® ด้วยการรวมฮาร์ดแวร์เวิร์กสเตชันและชุดเครื่องมือ Intel oneAPI AI Analytics เข้าด้วยกันเพื่อเปิดใช้งานการพัฒนา AI แบบ “นอกกรอบ” โซลูชันดังกล่าวพร้อมแล้วสำหรับการใช้งานบนพีซีเวิร์กสเตชันที่ใช้ Linux จาก Dell, HP และ Lenovo นอกจากนี้ Microsoft และ Intel ยังได้ร่วมมือกันเพื่อนำห่วงโซ่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่สมบูรณ์มาใช้บน Windows ซึ่งจะพร้อมใช้งานเป็นครั้งแรกใน Surface Laptop Studio รุ่นใหม่
           • ตระกูลกราฟิก SoC ของ Intel® ArcTM Alchemist: ถูกออกแบบมาเพื่อการเล่นเกมโดยเฉพาะ GPU แบบแยกประสิทธิภาพสูงรุ่นแรกของ Intel Arc (ภายใต้ชื่อรหัส “Alchemist”) พร้อมนำเสนอ Xe Super Sampling (XeSS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเพิ่มสเกลแบบใหม่ที่นักพัฒนาเกมกำลังรวมเข้ากับเกมของพวกเขา โดย XeSS ใช้ประโยชน์จาก machine learning และตัวเร่งความเร็ว XMX AI แบบติดตั้งในตัวของ Alchemist เพื่อมอบภาพที่มีประสิทธิภาพและความเที่ยงตรงสูง XeSS ถูกใช้งานโดยใช้มาตรฐานแบบเปิดเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ในเกมและฮาร์ดแวร์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ Alchemist จะสนับสนุนเทคโนโลยี Deep Link บนแพลตฟอร์มของอินเทล ด้วยความสามารถในการประมวลผลแบบใหม่ ซึ่งรวมถึง Hyper Encode ซึ่งช่วยให้สามารถเร่งการแปลงไฟล์วิดีโอไฟล์เดียวผ่านเอ็นจิ้นกราฟิกแบบรวมและแบบแยกได้พร้อมกัน
 
ข้อมูลเพิ่มเติม: 12th Gen Intel Core/Ubiquitous Computing News from Intel Innovation 
โครงสร้างพื้นฐาน Cloud-to-Edge: ขนาดและความจุที่ไม่จำกัดในระบบคลาวด์ รวมกับการเข้าถึงที่ไร้ขอบเขตผ่านระบบ edge อัจฉริยะ
การประมวลผลกำลังแพร่กระจายไปอย่างครอบคลุมในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน ตั้งแต่ CPU, GPU, ตัวเร่งความเร็วแอปพลิเคชัน (application accelerators) ไปจนถึงโปรเซสเซอร์ที่เชื่อมต่อถึงกัน (interconnect processors), อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ edge และอุปกรณ์ FPGA ซึ่งทั้งหมดล้วนต้องใช้หน่วยความจำถาวรและซอฟต์แวร์เพื่อรวมองค์ประกอบเหล่านี้เข้ากับโซลูชันที่สมบูรณ์ การแข่งขันสู่การคำนวณระดับ zettascale ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อมุ่งสร้าง จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลตามขนาดที่ต้องการ เราใช้เวลาถึง 12 ปี ในการเปลี่ยนจากการคำนวณในระดับ terascale เป็น exascale  โดยอินเทลได้ท้าทายตัวเองเพื่อเลื่อนสู่ระดับ zetta ให้สำเร็จภายใน 5 ปี ภายใต้ชื่อแผนเป้าหมาย zetta 2027 โดยศูนย์กลางของเป้าหมายนี้คือการทำงานของอินเทลร่วมกับระบบนิเวศแบบเปิด เพื่อให้แน่ใจว่านักพัฒนาจะมีเครื่องมือและสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ที่ถูกปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมเพื่อเร่งการทำงานของพวกเขาให้มีประสิทธิภาพ 
          • Ponte Vecchio และ oneAPI สนับสนุนไมโครโปรเซสเซอร์ SiPearl: SiPearl คือไมโครโปรเซสเซอร์สำหรับการออกแบบที่จะใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ exascale ของยุโรป และได้เลือก GPU Ponte Vecchio ของอินเทลเป็นตัวเร่ง HPC ภายในโหนดประมวลผลประสิทธิภาพสูงของระบบ เพื่อเชื่อมโยงสภาพแวดล้อ

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ