เมื่อ : 18 ต.ค. 2564 , 1076 Views
เทรนด์ไมโคร ส่ง ซีโร่ ทรัสต์ โซลูชันที่ครอบคลุมสุดในอุตสาหกรรม พร้อมมุมมองเชิงลึกที่โดดเด่น ช่วยเจาะลึกความเสี่ยงได้ตามต้องการ
ผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัย ขยายวิสัยทัศน์ เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความปลอดภัยให้คนทำงาน หลังการแพร่ระบาด
 
Trend Micro Incorporated  ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ มอบความสามารถด้านการมองเห็นที่ครอบคลุมและสมบูรณ์แบบ เรื่องการระบุตัวตนและสถานะความปลอดภัยของอุปกรณ์ โดยอิงจากมุมมองเชิงลึกด้านความเสี่ยงที่ครอบคลุมที่สุดในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ลูกค้ารักษาความปลอดภัยแบบ Zero Trust ได้สำเร็จอย่างแท้จริง

จากรายงานการวิเคราะห์จากฟอเรสเตอร์ ระบุว่า Zero Trust Network Access (ZTNA) เป็นเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยที่โดดเด่นสำหรับรับมือกับการแพร่ระบาด นอกจากจะช่วยปลดล็อคผู้ใช้จากเทคโนโลยี VPN ที่ล้าสมัย ยังจุดประกายให้องค์กรต่างๆ ได้หันมาทบทวนแนวทางในการนำระบบรักษาความปลอดภัย (และการเชื่อมต่อเครือข่าย) มาใช้ทั้งในปัจจุบันและเพื่อรองรับอนาคต

“Zero Trust เป็นแนวคิดที่ถูกพูดถึงมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเรื่องนี้จะวัดความน่าเชื่อถือได้อย่างไร” ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวคิดดังกล่าวและเสริมว่า “เทรนด์ไมโครมีจุดยืนที่แตกต่างในการนำเสนอมุมมองเชิงลึกที่สำคัญในเรื่องของการระบุตัวตนและสถานะของอุปกรณ์ด้วยแนวทาง XDR ที่ครอบคลุม พร้อมความสามารถในการมองเห็นถึงความเสี่ยงจากอีเมลซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างกลยุทธ์ Zero Trust ได้ประสบความสำเร็จ”

กลยุทธ์ด้าน Zero Trust ของเทรนด์ไมโคร ใช้ความสามารถของ Trend Micro Vision One ในการทำให้เกิดมุมมองเชิงลึกพร้อมโซลูชัน XDR ที่ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อการปกป้องได้อย่างครอบคลุมทุกช่องทาง ทั้งอีเมล คลาวด์ เครือข่าย และแอปพลิเคชัน SaaS โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะมีการประเมินเพื่อวัดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้มุมมองเชิงลึกที่สมบูรณ์ เพื่อให้ทีมงานมีข้อมูลมากพอสำหรับการตัดสินใจ

ประเด็นสำคัญสำหรับธุรกิจที่ Zero Trust ส่งผลกระทบ มีดังต่อไปนี้
  • • ความเสี่ยงและสถานะความปลอดภัย ที่อิงตามการประเมินอย่างต่อเนื่องของทั้งในส่วนผู้ใช้ อุปกรณ์ แอปฯ รวมถึงเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมการเข้าถึงระบบได้แบบอัตโนมัติ ส่งสัญญาณเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย พร้อมแจ้งเตือนให้มีการสำรวจตรวจสอบ รวมถึงสร้างแดชบอร์ดสำหรับ CISOs และทีม SOC ที่ดูแลด้านความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
  • • กำหนดการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย โดยอิงจากการประเมินสถานะความปลอดภัยในทุกครั้งที่มีอุปกรณ์หรือผู้ใช้งานพยายามเข้าถึงทรัพยากรขององค์กร ซึ่งรวมถึงการผสานรวมการทำงานของ Cloud Access Security Broker (CASB) API เข้ากับแอปพลิเคชัน SaaS รวมถึงจุดบังคับการใช้งานเครือข่ายที่อยู่ส่วนหน้าของทรัพยากรในองค์กร และให้การสนับสนุนเพื่อปิดกั้นการเข้าถึงแอปพลิเคชันเฉพาะทางด้วยการใช้ endpoint agents ที่มี
สำหรับทีมงานดูแลระบบป้องกันความปลอดภัยขององค์กร สามารถมองเห็นการใช้งานต่างๆ โดยเฉพาะอีเมลที่เป็นเครื่องมือสำคัญ เนื่องจากกิจกรรมหลอกลวงในรูปฟิชชิ่งจากผู้ใช้งานภายในองค์กร สามารถบ่งชี้ได้ว่าอัตลักษณ์ของผู้ใช้ (user identities) เริ่มไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการโดนโจมตีด้วยแรนซัมแวร์อย่างต่อเนื่อง

ลูกค้าสามารถนำระบบให้คะแนนความเสี่ยงของเทรนด์ไมโครสำหรับ Zero Trust มาปรับใช้ในการฟีด SASE ของค่ายอื่น และโซลูชันอื่นๆ ผ่าน APIs เพื่อสร้างคุณค่าเสริม โดยผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ สามารถใช้มุมมองเชิงลึก และแดชบอร์ด เพื่อทำความเข้าใจแนวโน้มการรักษาความปลอดภัยขององค์กรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้
 
เกี่ยวกับ เทรนด์ไมโคร
เทรนด์ไมโคร คือผู้นำด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก ที่ช่วยให้โลกใบนี้แลกเปลี่ยนข้อมูลบนระบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยหลายสิบปี พร้อมทีมงานศึกษาและวิจัยภัยคุกคามระดับโลกรวมถึงนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แพลตฟอร์มระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเทรนด์ไมโคร ช่วยปกป้ององค์กรหลายแสนแห่ง และผู้ใช้งานหลายล้านคนในการใช้งานระบบคลาวด์ เครือข่าย อุปกรณ์ และอุปกรณ์ปลายทาง ในฐานะผู้นำด้านความปลอดภัยให้กับองค์กรและบนระบบคลาวด์ แพลตฟอร์มดังกล่าว มอบเทคนิคการป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพที่ปรับให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมการใช้งานต่างๆ เช่น AWS, Microsoft และ Google และความสามารถในการมองเห็นได้จากส่วนกลางช่วยในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้ดียิ่งขึ้นและเร็วขึ้น ด้วยพนักงาน 7,000 คนใน 65 ประเทศ เทรนด์ไมโคร ช่วยให้องค์กรต่างๆ ลดความซับซ้อนและรักษาความปลอดภัยให้กับโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.TrendMicro.com