เวทีปลุกพลังคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือแนะ ทำงานต้องมีภาคี - สร้างการรับรู้ให้กว้างขวาง - ดึงทุกส่วนเข้ามาแก้ปัญหา
เมื่อ : 02 ต.ค. 2565 ,
249 Views
สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานขององค์กรของผู้บริโภค เขตพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา ชี้ชัด ทำงานต้องแสวงหาความร่วมมือ เชื่อมประสานภาคี สร้างการรับรู้กับทุกภาคส่วนให้ทุกคนเป็นเจ้าของประเด็น พร้อมดึงทุกคนร่วมแก้ปัญหา
สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานขององค์กรของผู้บริโภค เขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยเน้นที่การจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรของผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 25 - 26 กันยายน พ.ศ.2565
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวปาฐกถาถึงการเสริมสร้างพลังประชาชนในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยยกตัวอย่างการทำงานในการจัดการปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ที่เป็นปัญหาสำคัญใน จ.เชียงใหม่ ว่า ปัญหาการบริโภคหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซับซ้อน เชื่อมหลายเรื่องหลายหน่วย ลำพังคำสั่ง แม้มีกฎหมาย หรือมีข้อห้าม ข้อบังคับออกมาแล้วแก้ไขปัญหาไม่ได้ ดังนั้น ต้องเป็นการทำงานแบบล่างขึ้นบน โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เปลี่ยนจากโทษกันไปมา ลุกขึ้นมารวมพลังกันแก้ปัญหา เพราะในความเป็นแล้วจริงแล้วทุกคนมีส่วนสร้างปัญหา โดยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาสังคมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวของภาคประชาชนทั้งหมด
สำหรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสังคม ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ มองว่า ต้องเปลี่ยนจากการทำงานแบบเน้นกิจกรรรม (Event) เป็นขับเคลื่อน (Movement) บางครั้งเราทำกิจกรรมแล้วเสร็จก็จบและทำโครงการใหม่ จึงเกิดคำถามว่าเมื่อเกิดกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร จะทำให้คนเข้าใจ รวมพลังกันมากขึ้นหรือไม่ และเกิดการรวมพลังมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องแก้ปัญหาทั้งระบบ เพราะหลายเรื่องเชื่อมโยงกันหมด ทั้งท้องถิ่น ประเทศ โลก โดยที่ชุมชน ท้องถิ่น และประชาชนจะเป็นฐานการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
แนะยกระดับประเด็นเล็ก ๆ ให้เป็นประเด็นสาธารณะ
ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า เวลามีปัญหาผู้บริโภค เป็นปัญหาที่เบี้ยหัวแตกเกี่ยวโยงกับทุกเรื่อง การทำงานให้มีพลัง ทำอย่างไรให้เรื่องเบี้ยหัวแตกทั้งหลาย กลายเป็นเรื่องทรงพลังที่สุด 1. ต้องเอาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด (Stakeholder) มานั่งคุยกันให้ได้ 2. ทำอย่างไรให้ทุกคนมองเห็นช้างตัวเดียวกัน มองเป็นองค์รวมเพราะที่ผ่านมามักมองปัญหาคนละภาพ 3. สร้างพื้นที่กลางแนวราบ 4. เรียนรู้ร่วมกัน เนื่องจากการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การมีส่วนร่วม และ 5. เห็นดาวดวงเดียวกัน เชื่อมโยงขับเคลื่อนงานตามศักยภาพ ออกแบบกระบวนการทำงานแบบคนตัวเล็กคิดการใหญ่ ยกระดับประเด็นเล็ก ๆ ให้กลายเป็นประเด็นสาธารณะ
“ภาพการประท้วงไม่ผิด ทำได้ แต่เราควรมีภาพอื่นด้วยสำหรับงานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ภาพคุยวงวิชาการ ภาพการมีข้อเสนอทางวิชาการที่คม ๆ ภาพที่เราขับเคลื่อนเชื่อมโยงเชิงบวกกับพี่น้องในสังคม เราต้องการแก้ปัญหาให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภค จึงต้องทำทั้งประสานงาน เชื่อมโยงเชิงบวก ทำงานวิชาการ และทำงานผลักดันนโยบาย ต้องทำหลาย ๆ อย่างร่วมกัน หากเป็นภาพเดียว ภาพประท้วงคนก็จะกลัว ทั้งหมดเพื่อเป้าหมาย ให้เขารู้ว่าเราต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อส่วนรวม เพื่อสังคมอย่างจริงใจ และตั้งใจ” ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ให้ความมุมมองทิ้งท้ายและว่า การขับเคลื่อนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเปิดการมีส่วนร่วมของผู้คนอย่างกว้างขวาง หรือทำอย่างไรให้เกิดการขยายแบบอะมีบา (Ameba) ทำให้เกิดเป็นกระแส
ถอดบทเรียนจากหน่วยงานเขตพื้นที่ภาคเหนือ
จากนั้นเวที ‘สร้างพลังสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้บริโภค’ ได้มีการถอดบทเรียนจากหน่วยงานเขตพื้นที่ภาคเหนือ และ หน่วยงานประจำจังหวัดสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยมีการนำเสนอกระบวนการสร้างพลังสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้บริโภค
เริ่มที่ตัวแทนหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงราย สมาคมพัฒนาประชาสังคม จังหวัดเชียงราย ถอดบทเรียนกระบวนสร้างความเข้มแข็ง ขององค์กรของผู้บริโภค เพื่อจัดตั้งองค์กรสภาองค์กรของผู้บริโภค กับการสนับสนุนการรวมกลุ่มองค์กรของผู้บริโภคขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรของผู้บริโภค (อกผ.3) เริ่มตั้งแต่บ่มเพาะความรู้ความเข้าใจ แนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 46 ซึ่งระบุว่า “สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง” พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 และเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กร โดยหลักเกณฑ์แบบประเมินองค์กรผู้บริโภค เป็นคุณภาพขั้นพื้นฐานหรือขั้นมีสิทธิ์
รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ทำงานด้านสิทธิ และประเด็นต่าง ๆ เช่น กลุ่มเกษตร กลุ่มเคลื่อนไหวทางเยาวชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ และพิจารณาพื้นที่ที่ยังไม่มีเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค
ตัวอย่างพื้นที่อำเภอเทิง เครือข่ายทำงานด้านสิทธิสตรี อำเภอเมือง ประเด็นอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย กลายเป็นเครือข่ายผู้บริโภคบ้านมั่นคง และอำเภอเชียงแสน เครือข่ายผู้บริโภคทำงานด้านสุขภาพ พื้นที่อำเภอเชียงของ เครือขายทำงานด้านเด็กและเยาวชน เป็นต้น
ตัวแทนหน่วยงานประจำจังหวัดลำพูน ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำพูน กับการสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกในเครือข่าย โดยจังหวัดลำพูน นับเป็นจังหวัดที่มีต้นทุนเดิม คือองค์กรสมาชิกเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้วยจิตอาสาด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกอำเภอ ทั้งหมด 22 องค์กร มีการสร้างและพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายให้สามารถเปิดช่องทาง รับเรื่องร้องทุกข์ในพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาชน รับรู้สิทธิ และเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารด้านการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งความโดดเด่นของหน่วยงานประจำจังหวัดลำพูน คือ การมีกลุ่มที่หลากหลาย ทั้งเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเด็กและเยาวชน และกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น และมีการนำประเด็นผู้บริโภคไปเชื่อมโยง ต่อยอดขับเคลื่อนการทำงาน
ส่วนหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงการจัดการบริหารจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด และการผลักดันการบริการสุขภาพในเขตเมือง โดยบทเรียนการทำงานหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนการทำงานขบวนการภาคประชาชนงานสุขภาพและงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โดยใช้หลักการทำงานแบบกัลยาณมิตร องค์กรและเจ้าหน้าที่นำประสบการณ์การทำงานสนับสนุนองค์กรและเครือข่ายเดิมมาสนับสนุนการทำงานเครือข่ายผู้บริโภค
ด้านหน่วยงานประจำจังหวัดลำปาง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง ได้กล่าวถึงการเสริมความความเข้มแข็งองค์กรสมาชิกประเด็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสมาชิก ปัจจุบันศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง มี 21 องค์กร ครอบคลุม 13 อำเภอ ขณะที่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งอนาคตเตรียมขยายองค์กรเพิ่มให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยจุดเด่น องค์กรของผู้บริโภคจังหวัดลำปาง คือ ต้นทุนเดิมแต่ละองค์กรทำหน้าที่หลายบทบาท สวมหมวกหลายใบ ประกอบกับแกนนำมจิตอาสาอยู่ในตัวเองพร้อมช่วยเหลือคนอื่นตลอดเวลา รวมถึงการมี “องค์กรพี่เลี้ยง” ทำหน้าที่ยกระดับองค์กรสมาชิกให้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมืออาชีพ และลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนองค์กรเครือข่ายทุกเรื่องเมื่อมีเรื่องร้องขอ
สุดท้าย หน่วยงานประจำจังหวัดพะเยา ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดพะเยา เล่าถึงพลังองค์กรผู้บริโภคกับการขับเคลื่อนสภาผู้บริโภคจังหวัด โดยมีแนวคิดว่าทุกคนมีพลังในตัวเอง เริ่มจากจุดย่อย ๆ รวมตัวกันเป็นองค์กร ทำงานเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งพะเยา มีการขับเคลื่อนโดยใช้เรื่องร้องเรียน เป็นตัวนำ ขณะเดียวกันสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดพะเยาจะไม่คิดโจทย์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดร่วมกันเสนอเป็นการทำงานร่วมกัน ก่อนมีการผลักดันสู่วาระของจังหวัดต่อไป
สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานขององค์กรของผู้บริโภค เขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยเน้นที่การจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรของผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 25 - 26 กันยายน พ.ศ.2565
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวปาฐกถาถึงการเสริมสร้างพลังประชาชนในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยยกตัวอย่างการทำงานในการจัดการปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ที่เป็นปัญหาสำคัญใน จ.เชียงใหม่ ว่า ปัญหาการบริโภคหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซับซ้อน เชื่อมหลายเรื่องหลายหน่วย ลำพังคำสั่ง แม้มีกฎหมาย หรือมีข้อห้าม ข้อบังคับออกมาแล้วแก้ไขปัญหาไม่ได้ ดังนั้น ต้องเป็นการทำงานแบบล่างขึ้นบน โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เปลี่ยนจากโทษกันไปมา ลุกขึ้นมารวมพลังกันแก้ปัญหา เพราะในความเป็นแล้วจริงแล้วทุกคนมีส่วนสร้างปัญหา โดยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาสังคมนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวของภาคประชาชนทั้งหมด
สำหรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสังคม ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ มองว่า ต้องเปลี่ยนจากการทำงานแบบเน้นกิจกรรรม (Event) เป็นขับเคลื่อน (Movement) บางครั้งเราทำกิจกรรมแล้วเสร็จก็จบและทำโครงการใหม่ จึงเกิดคำถามว่าเมื่อเกิดกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร จะทำให้คนเข้าใจ รวมพลังกันมากขึ้นหรือไม่ และเกิดการรวมพลังมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องแก้ปัญหาทั้งระบบ เพราะหลายเรื่องเชื่อมโยงกันหมด ทั้งท้องถิ่น ประเทศ โลก โดยที่ชุมชน ท้องถิ่น และประชาชนจะเป็นฐานการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
แนะยกระดับประเด็นเล็ก ๆ ให้เป็นประเด็นสาธารณะ
ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า เวลามีปัญหาผู้บริโภค เป็นปัญหาที่เบี้ยหัวแตกเกี่ยวโยงกับทุกเรื่อง การทำงานให้มีพลัง ทำอย่างไรให้เรื่องเบี้ยหัวแตกทั้งหลาย กลายเป็นเรื่องทรงพลังที่สุด 1. ต้องเอาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด (Stakeholder) มานั่งคุยกันให้ได้ 2. ทำอย่างไรให้ทุกคนมองเห็นช้างตัวเดียวกัน มองเป็นองค์รวมเพราะที่ผ่านมามักมองปัญหาคนละภาพ 3. สร้างพื้นที่กลางแนวราบ 4. เรียนรู้ร่วมกัน เนื่องจากการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การมีส่วนร่วม และ 5. เห็นดาวดวงเดียวกัน เชื่อมโยงขับเคลื่อนงานตามศักยภาพ ออกแบบกระบวนการทำงานแบบคนตัวเล็กคิดการใหญ่ ยกระดับประเด็นเล็ก ๆ ให้กลายเป็นประเด็นสาธารณะ
“ภาพการประท้วงไม่ผิด ทำได้ แต่เราควรมีภาพอื่นด้วยสำหรับงานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ภาพคุยวงวิชาการ ภาพการมีข้อเสนอทางวิชาการที่คม ๆ ภาพที่เราขับเคลื่อนเชื่อมโยงเชิงบวกกับพี่น้องในสังคม เราต้องการแก้ปัญหาให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภค จึงต้องทำทั้งประสานงาน เชื่อมโยงเชิงบวก ทำงานวิชาการ และทำงานผลักดันนโยบาย ต้องทำหลาย ๆ อย่างร่วมกัน หากเป็นภาพเดียว ภาพประท้วงคนก็จะกลัว ทั้งหมดเพื่อเป้าหมาย ให้เขารู้ว่าเราต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อส่วนรวม เพื่อสังคมอย่างจริงใจ และตั้งใจ” ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ให้ความมุมมองทิ้งท้ายและว่า การขับเคลื่อนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเปิดการมีส่วนร่วมของผู้คนอย่างกว้างขวาง หรือทำอย่างไรให้เกิดการขยายแบบอะมีบา (Ameba) ทำให้เกิดเป็นกระแส
ถอดบทเรียนจากหน่วยงานเขตพื้นที่ภาคเหนือ
จากนั้นเวที ‘สร้างพลังสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้บริโภค’ ได้มีการถอดบทเรียนจากหน่วยงานเขตพื้นที่ภาคเหนือ และ หน่วยงานประจำจังหวัดสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยมีการนำเสนอกระบวนการสร้างพลังสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้บริโภค
เริ่มที่ตัวแทนหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงราย สมาคมพัฒนาประชาสังคม จังหวัดเชียงราย ถอดบทเรียนกระบวนสร้างความเข้มแข็ง ขององค์กรของผู้บริโภค เพื่อจัดตั้งองค์กรสภาองค์กรของผู้บริโภค กับการสนับสนุนการรวมกลุ่มองค์กรของผู้บริโภคขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรของผู้บริโภค (อกผ.3) เริ่มตั้งแต่บ่มเพาะความรู้ความเข้าใจ แนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 46 ซึ่งระบุว่า “สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง” พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 และเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กร โดยหลักเกณฑ์แบบประเมินองค์กรผู้บริโภค เป็นคุณภาพขั้นพื้นฐานหรือขั้นมีสิทธิ์
รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ทำงานด้านสิทธิ และประเด็นต่าง ๆ เช่น กลุ่มเกษตร กลุ่มเคลื่อนไหวทางเยาวชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ และพิจารณาพื้นที่ที่ยังไม่มีเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค
ตัวอย่างพื้นที่อำเภอเทิง เครือข่ายทำงานด้านสิทธิสตรี อำเภอเมือง ประเด็นอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย กลายเป็นเครือข่ายผู้บริโภคบ้านมั่นคง และอำเภอเชียงแสน เครือข่ายผู้บริโภคทำงานด้านสุขภาพ พื้นที่อำเภอเชียงของ เครือขายทำงานด้านเด็กและเยาวชน เป็นต้น
ตัวแทนหน่วยงานประจำจังหวัดลำพูน ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำพูน กับการสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกในเครือข่าย โดยจังหวัดลำพูน นับเป็นจังหวัดที่มีต้นทุนเดิม คือองค์กรสมาชิกเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้วยจิตอาสาด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกอำเภอ ทั้งหมด 22 องค์กร มีการสร้างและพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายให้สามารถเปิดช่องทาง รับเรื่องร้องทุกข์ในพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาชน รับรู้สิทธิ และเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารด้านการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งความโดดเด่นของหน่วยงานประจำจังหวัดลำพูน คือ การมีกลุ่มที่หลากหลาย ทั้งเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเด็กและเยาวชน และกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น และมีการนำประเด็นผู้บริโภคไปเชื่อมโยง ต่อยอดขับเคลื่อนการทำงาน
ส่วนหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงการจัดการบริหารจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด และการผลักดันการบริการสุขภาพในเขตเมือง โดยบทเรียนการทำงานหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนการทำงานขบวนการภาคประชาชนงานสุขภาพและงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โดยใช้หลักการทำงานแบบกัลยาณมิตร องค์กรและเจ้าหน้าที่นำประสบการณ์การทำงานสนับสนุนองค์กรและเครือข่ายเดิมมาสนับสนุนการทำงานเครือข่ายผู้บริโภค
ด้านหน่วยงานประจำจังหวัดลำปาง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง ได้กล่าวถึงการเสริมความความเข้มแข็งองค์กรสมาชิกประเด็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสมาชิก ปัจจุบันศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง มี 21 องค์กร ครอบคลุม 13 อำเภอ ขณะที่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งอนาคตเตรียมขยายองค์กรเพิ่มให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยจุดเด่น องค์กรของผู้บริโภคจังหวัดลำปาง คือ ต้นทุนเดิมแต่ละองค์กรทำหน้าที่หลายบทบาท สวมหมวกหลายใบ ประกอบกับแกนนำมจิตอาสาอยู่ในตัวเองพร้อมช่วยเหลือคนอื่นตลอดเวลา รวมถึงการมี “องค์กรพี่เลี้ยง” ทำหน้าที่ยกระดับองค์กรสมาชิกให้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมืออาชีพ และลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนองค์กรเครือข่ายทุกเรื่องเมื่อมีเรื่องร้องขอ
สุดท้าย หน่วยงานประจำจังหวัดพะเยา ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดพะเยา เล่าถึงพลังองค์กรผู้บริโภคกับการขับเคลื่อนสภาผู้บริโภคจังหวัด โดยมีแนวคิดว่าทุกคนมีพลังในตัวเอง เริ่มจากจุดย่อย ๆ รวมตัวกันเป็นองค์กร ทำงานเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งพะเยา มีการขับเคลื่อนโดยใช้เรื่องร้องเรียน เป็นตัวนำ ขณะเดียวกันสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดพะเยาจะไม่คิดโจทย์ให้ผู้บริโภคในจังหวัดร่วมกันเสนอเป็นการทำงานร่วมกัน ก่อนมีการผลักดันสู่วาระของจังหวัดต่อไป