การเตรียมการรับมือของหน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก กับภูมิทัศน์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อ : 29 ก.ย. 2565 ,
404 Views
เมื่อโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์เงินฝากถูกออกแบบให้มีลูกเล่นปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทำให้ทุกวันนี้มีทางเลือกในการออมเงินและลงทุนมากกว่าในอดีต แต่ตัวเลือกที่มีความเสี่ยงน้อยและเป็นที่ยอดนิยมที่สุดก็ยังคงเป็นการฝากเงินกับธนาคาร การดูแลเงินฝากของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการเงิน และเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างวิกฤตทางการเงิน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนผู้ฝากเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของประเทศ สำหรับประเทศไทยเองมีสถาบันที่ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองบัญชีเงินฝากของทุกคนคือ “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA” ผู้อยู่เบื้องหลังในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับผู้ฝากทุกคน
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เปิดเผยว่าในการสัมมนาประจำปีสถาบันประกันเงินฝากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้สมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 (The 20th IADI APRC International Conference) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นั้น ช่วยให้มองเห็นว่าการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นแหล่งออมเงินที่มีบทบาทต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมความพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในภาวะที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ดังแนวทางจาก 5 ประเทศตัวอย่างในรายละเอียดต่อไปนี้
สำหรับสคฝ. ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ Digital DPA มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลเช่นเดียวกันกับสถาบันประกันเงินฝากในประเทศอื่นๆ โดยการวางโครงข่ายระบบดิจิทัล เทคโนโลยี เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกันได้ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ เพื่อรองรับการจ่ายเงินให้ผุ้ฝากโดยอัตโนมัติเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำไม่ว่าจะเป็นระบบ DRS, DROS, DA, CRM และ LMS ซึ่งผู้ฝากยังสามารถตรวจสอบสถานะการรับเงินได้ด้วยตนเอง และ สคฝ. ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งมีการจำลองสถานการณ์ทดสอบระบบ (Simulation) ในกระบวนการจ่ายคืน รวมถึงการทดสอบระบบร่วมกับหน่วยงานในตาข่ายความมั่นคงทางการเงิน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนจะไม่สะดุดเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น
ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเงินฝาก ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ศูนย์บริการให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158 เว็บไซต์ www.dpa.or.th หรือ เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/dpathailand
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เปิดเผยว่าในการสัมมนาประจำปีสถาบันประกันเงินฝากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้สมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 (The 20th IADI APRC International Conference) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นั้น ช่วยให้มองเห็นว่าการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นแหล่งออมเงินที่มีบทบาทต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมความพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในภาวะที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ดังแนวทางจาก 5 ประเทศตัวอย่างในรายละเอียดต่อไปนี้
- ไต้หวัน – สถาบันการเงินไร้สาขา เทรนด์ใหม่การเงินยุคดิจิทัล
- มาเลเซีย – สถาบันประกันเงินฝาก สู่องค์กรดิจิทัลรับความเปลี่ยนแปลง
- ฟิลิปปินส์ – เพิ่มประสิทธิภาพระบบประกันเงินฝากด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์
- สหรัฐอเมริกา – คุมเข้มสินทรัพย์ดิจิทัล ป้องกันความเสี่ยงต่อระบบการเงิน
- ญี่ปุ่น – รับมือกับวิวัฒนาการทางการเงิน ด้วยพัฒนาการด้านกฎหมาย
สำหรับสคฝ. ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ Digital DPA มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อให้มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลเช่นเดียวกันกับสถาบันประกันเงินฝากในประเทศอื่นๆ โดยการวางโครงข่ายระบบดิจิทัล เทคโนโลยี เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานสอดประสานกันได้ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ เพื่อรองรับการจ่ายเงินให้ผุ้ฝากโดยอัตโนมัติเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำไม่ว่าจะเป็นระบบ DRS, DROS, DA, CRM และ LMS ซึ่งผู้ฝากยังสามารถตรวจสอบสถานะการรับเงินได้ด้วยตนเอง และ สคฝ. ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งมีการจำลองสถานการณ์ทดสอบระบบ (Simulation) ในกระบวนการจ่ายคืน รวมถึงการทดสอบระบบร่วมกับหน่วยงานในตาข่ายความมั่นคงทางการเงิน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนจะไม่สะดุดเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น
ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเงินฝาก ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ศูนย์บริการให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158 เว็บไซต์ www.dpa.or.th หรือ เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/dpathailand