เมื่อ : 17 ก.ย. 2565 , 226 Views
“แผนที่” ยุคดิจิทัล เครื่องมือแห่งอนาคต กุญแจพัฒนาโลกด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือเทคโนโลยีจีไอเอส (GIS) มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และได้มีการนำมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการบูรณาการขับเคลื่อนข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และสร้างมุมมองในมิติต่าง ๆ ให้สามารถสนับสนุนการตัดสินใจและนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
    
 
จากงาน TUC2022 งานสัมมนาเชิงวิชาการระบบภูมิสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” ภายใต้ธีม GIS- Mapping Common Ground” ที่จัดไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านแผนที่ที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งความหมายของ “GIS - Mapping Common Ground” นั้นคือ การใช้แผนที่เพื่อเป็นกลยุทธ์ เป็นวิธีการและเป็นการสื่อสารที่จะสร้างความเข้าใจต่าง ๆ ร่วมกันสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถทำงาน แก้ไขปัญหา โดยมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน และนำไปสู่ผลสำเร็จของงานได้นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวภายในงาน

 


นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด
 
ทำไมต้องแผนที่
แผนที่เปรียบเสมือนเป็นสื่อหรือเป็นภาษาพื้นฐานที่สามารถจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ในการช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึงทำให้เข้าใจบริบทภาพรวมต่าง ๆ ได้มากขึ้น และแผนที่ไม่ได้บอกเพียงแค่ว่าสิ่งที่เราสนใจคืออะไร แต่ยังบอกได้อีกด้วยว่าสิ่งนั้นสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอะไรได้อีกในอนาคต ทำให้เรามีไอเดียต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย  ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับแผนที่อย่าง GIS ก้าวหน้าไปรวดเร็วมาก และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้นเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยี GIS ที่เราเชื่อว่ามีความสำคัญสำหรับทุกองค์กร Esri จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ ArcGIS ให้ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และใช้เทคโนโลยีที่มีความสามารถหลากหลาย เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ใช้งานเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
  
เทคโนโลยี GIS เป็นมากกว่าแผนที่
GIS เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาปฏิวัติการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิม ๆ ที่มีความซับซ้อน เต็มไปด้วย ข้อมูล ตัวเลข หรือตาราง ที่นำไปใช้งานยากให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งผลลัพธ์จะถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบ “รูปภาพ” หรือ “แผนที่” เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี GIS นั้นไม่ใช่เพียงการระบุตำแหน่ง และ Visualization เท่านั้น แต่ยังสามารถทำ Analysis เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี GIS ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าในการสร้างมิติมุมมองที่แตกต่างและยกระดับการวิเคราะห์สู่ Location intelligence ที่เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ คาดการณ์ในอนาคตได้ ช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาได้รอบด้าน เข้าใจทุกแง่มุมของสิ่งที่เกิดขึ้น และมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การบริหารจัดการธุรกิจให้ครอบคลุมมิติ
 
เทคโนโลยี GIS สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำเลที่ตั้งของสาขาที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจสูงสุด หรือจะเป็นการใช้ GIS ในการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ได้แก่ Smart City ภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงด้านสาธารณสุข เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี GIS ถูกพัฒนาให้ทำงานร่วมกับนวัตกรรมต่าง ๆ ของโลก เพื่อเพิ่มความสามารถและยกระดับการทำงานให้ก้าวไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็น Digital Twins, Big Data, IoT, GeoAI, Deep Learning, Data Science และ Machine Learning เป็นต้น

 
 
การทำงานของ GIS เพื่ออนาคต
ความสำคัญในการสร้างภาพอนาคตผ่านเทคโนโลยี จำเป็นต้องเริ่มจากการนำข้อมูลรอบตัวมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจอนาคตอย่างเป็นระบบและครบทุกมิติ เช่น สังคม การเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อม การมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถวัดผลได้อย่างแม่นยำ เพื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีป้องกัน ทำให้เราเข้าใจอนาคตได้ชัดขึ้น โดยเทคโนโลยี GIS ช่วยทำให้เข้าใจการเปลี่ยน แปลงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้นำข้อมูลมาทำเพียงแค่เป็นแบบจำลองเท่านั้น แต่ยังต้องมีการตีความต่อว่าสิ่งที่ออกมานั้นจะส่งผลต่อวิถีชีวิตหรือต่อระบบอื่น ๆ อย่างไร เพื่อช่วยรับมือและป้องกันความเสียหายก่อนจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการหา Hot Spot จุดพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดจากการสร้างสถาปัตยกรรม เพื่อดูข้อมูลว่าส่งผลกระทบด้านใดและมากแค่ไหน และสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก GIS มาเตรียมปฏิบัติการแก้ไขได้ทันท่วงที เป็นการนำ Data มารับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นให้กลับสู่สภาพเดิมหรือดีกว่าเดิมได้อย่างรวดเร็ว “เทคโนโลยี GIS นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบ ทำให้เมืองมีความเป็น Resilience หรือมีความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว หากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคตดร.การดี  เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab by MQDC กล่าวภายในงาน TUC 2022
 


ดร.การดี  เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab by MQDC
 
ทั้งนี้ แนวโน้มเทรนด์จากนี้พบว่าเทคโนโลยี GIS จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการดำเนินกิจการเพื่อก้าวสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเทคโนโลยีพร้อมนวัตกรรมล้ำสมัยนี้ พัฒนาและดูแลโลกของเราให้ยั่งยืนต่อไป
 
ค้นพบศักยภาพของเทคโนโลยี GIS เพิ่มเติมได้ที่ www.esrith.com