บำรุงราษฎร์ ร่วมภาคภูมิใจกับ ศ.พญ. ศิรินธรา แพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสหพันธ์สมาคมรังสีวิทยาระบบประสาทโลก
เมื่อ : 29 ส.ค. 2565 ,
374 Views
- 1. นพ. ทัศนวุฒิ เธียรปัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทางคลินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
2. ศ.นพ. นิมิต เตชไกรชนะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานวิจัยและการศึกษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
3. นพ. กรพรหม แสงอร่าม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฏิบัติการด้านคลินิกและการบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
4. คุณนภัส เปาโรหิตย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
5. ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
6. ศ.พญ. ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง ศูนย์รังสีร่วมรักษาระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
7. คุณอรภรรณ บัวม่วง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
8. คุณนุชจารี จังวณิชชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการจัดการทั่วไป โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
9. ผศ.นพ. ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการจัดการทั่วไป ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และคุณภาพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
.....................................................
ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำทีมผู้บริหารบำรุงราษฎร์ ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ.พญ.ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา (ที่ 4 จากขวา) แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง ศูนย์รังสีร่วมรักษาระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ สหพันธ์สมาคมรังสีวิทยาระบบประสาทโลก (The World Federation of Neuroradiological Societies - WFNRS) ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับวงการแพทย์ไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อนานาประเทศ ในงานประชุมวิชาการว่าด้วยรังสีร่วมรักษาระบบประสาท (Symposium NeuroRadiologicum - SNR) ครั้งที่ 22 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อเร็วๆ นี้
บทบาทสำคัญของแพทย์รังสีร่วมรักษาระบบประสาทในประเทศไทย ถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์เฉพาะทางรังสีวิทยาเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคด้านโรคหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์จำเพาะที่มีขนาดเล็กใส่เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย โดยใช้ภาพทางรังสีวินิจฉัยเพื่อนำทางอุปกรณ์ดังกล่าวไปถึงรอยโรคเพื่อทำการรักษา ปัจจุบันบำรุงราษฎร์มุ่งรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เน้นการเปิดแผลเล็ก โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า Minimal Invasive Surgery (MIS) ซึ่งเปิดแผลเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทำให้ลดระยะเวลาพักรักษาในห้อง ICU รวมถึงแทบไม่มีการอักเสบของการผ่าตัด และสามารถลดอาการแทรกซ้อนในการรักษาได้