ม.รังสิต เจ๋ง! คว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศ ระดับดีเด่น การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จากผลงาน “ผิวหนังเทียมจากเจลาติน” ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 65 ที่ผ่านมา
เมื่อ : 12 ส.ค. 2565 ,
440 Views
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 ระดับปริญญาตรี ระดับดีเด่น รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรม ระดับปริญญาตรี ระดับดี พร้อมถ้วยรางวัลและเหรียญทอง ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ ประจำปี 2565 ให้กับผลงานนวัตกรรม “ผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกำเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล” ของนายกิติพงษ์ ปาสาณพงศ์ นางสาวนพวรรณ เจริญพานิช และนายดนุพัฒน์ วิไลรัตนาภรณ์ นักศึกษาจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” เมื่อวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม ในการให้รางวัลประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” ครั้งที่ 17 ได้มีการมอบรางวัลผลงานจากการประกวด 2 ประเภท ได้แก่ 1. รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 และ 2. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ 4) ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิต/นักศึกษาเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และกลายเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป
นายกิติพงษ์ ปาสาณพงศ์ นักศึกษาหลักสูตร 4+1 (ปริญญาตรีควบโท) ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าของผลงาน กล่าวว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง ชนิดเรื้อรังเป็นจำนวนมากถึง 77 - 154 ล้านคนต่อปี นับว่าเป็น 1 - 2% ของจำนวนประชากรโลก โดยแนวทางในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยเหล่านี้ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการผ่าตัดรักษาร่วมกับการใช้ยารักษา ในบางกรณีอาจต้องนำผิวหนังจากบริเวณส่วนอื่นของร่างกายทำเป็นกราฟท์ผิวหนัง ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวนั้นทำให้เกิดบาดแผลที่บริเวณอื่นเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างความเจ็บปวดเพิ่มให้กับผู้ป่วย นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะสร้างผิวหนังเทียม สำหรับการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนัง ซึ่งอาศัยหลักของวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) ในการสร้างผิวหนังเทียมที่มีชีวิตขึ้นด้วยการนําหมึกพิมพ์ชีวภาพชนิดเจลาตินเมทาคริโลอิล (Gelatin Methacryloyl) ที่มีสารตั้งต้นจากเจลาตินเป็นวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์นำมาผสมเซลล์ต้นกำเนิดหรือที่เรียกกันว่าสเต็มเซลล์กับเกล็ดเลือดไลเซท (Platelet Lysate) ซึ่งเป็นโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) จากนั้นใช้เทคนิคการพิมพ์ชีวภาพแบบสามมิติ (3D Bioprinting) ในการขึ้นรูปเป็นผิวหนังเทียม ซึ่งการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนังด้วยผิวหนังเทียมนี้ สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของแผลได้อย่างแม่นยำ สามารถทำซ้ำได้และมีความคงที่ ลดอาการบาดเจ็บซ้ำซ้อนจากวิธีการดั้งเดิม ถือว่าเป็นวิธีการรักษาบาดแผลแบบใหม่ที่มีคุณภาพและและทันสมัยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน
สำหรับผลงานผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกำเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล มี ผศ.ดร.ณัฐพล ถนัดช่างแสง และ ผศ.ดร.ศนิ บุญญกุล อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการวัสดุชีวภาพและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ แห่งวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งผลงานนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.นพ.ตุลยพฤกษ์ ถาวรสวัสดิ์รักษ์ แห่งภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.ภญ. ฤดี เหมสถาปัตย์ แห่งภาคเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาอีกด้วย ปัจจุบันผลงานดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลองกับสัตว์ทดลอง หากมีผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจแล้วจะทำการทดลองกับมนุษย์ต่อไป ถือได้ว่าการสร้างผิวหนังเทียมสำหรับการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนังที่สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของแผลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ เป็นวิธีการรักษาบาดแผลแบบใหม่ที่มีคุณภาพและทันสมัย อีกทั้งเป็นการแปรรูปวัสดุจากอุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้และลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้วัสดุที่เป็นสารตั้งต้นจากเจลาตินหนังปลาทำให้ผิวหนังเทียมนี้สามารถนำไปใช้กับผู้นับถือศาสนาทุกศาสนาได้อีกด้วย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม ในการให้รางวัลประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” ครั้งที่ 17 ได้มีการมอบรางวัลผลงานจากการประกวด 2 ประเภท ได้แก่ 1. รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 และ 2. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2565 โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ 4) ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิต/นักศึกษาเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และกลายเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป
นายกิติพงษ์ ปาสาณพงศ์ นักศึกษาหลักสูตร 4+1 (ปริญญาตรีควบโท) ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าของผลงาน กล่าวว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง ชนิดเรื้อรังเป็นจำนวนมากถึง 77 - 154 ล้านคนต่อปี นับว่าเป็น 1 - 2% ของจำนวนประชากรโลก โดยแนวทางในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยเหล่านี้ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการผ่าตัดรักษาร่วมกับการใช้ยารักษา ในบางกรณีอาจต้องนำผิวหนังจากบริเวณส่วนอื่นของร่างกายทำเป็นกราฟท์ผิวหนัง ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวนั้นทำให้เกิดบาดแผลที่บริเวณอื่นเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างความเจ็บปวดเพิ่มให้กับผู้ป่วย นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะสร้างผิวหนังเทียม สำหรับการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนัง ซึ่งอาศัยหลักของวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) ในการสร้างผิวหนังเทียมที่มีชีวิตขึ้นด้วยการนําหมึกพิมพ์ชีวภาพชนิดเจลาตินเมทาคริโลอิล (Gelatin Methacryloyl) ที่มีสารตั้งต้นจากเจลาตินเป็นวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์นำมาผสมเซลล์ต้นกำเนิดหรือที่เรียกกันว่าสเต็มเซลล์กับเกล็ดเลือดไลเซท (Platelet Lysate) ซึ่งเป็นโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) จากนั้นใช้เทคนิคการพิมพ์ชีวภาพแบบสามมิติ (3D Bioprinting) ในการขึ้นรูปเป็นผิวหนังเทียม ซึ่งการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนังด้วยผิวหนังเทียมนี้ สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของแผลได้อย่างแม่นยำ สามารถทำซ้ำได้และมีความคงที่ ลดอาการบาดเจ็บซ้ำซ้อนจากวิธีการดั้งเดิม ถือว่าเป็นวิธีการรักษาบาดแผลแบบใหม่ที่มีคุณภาพและและทันสมัยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน
สำหรับผลงานผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกำเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล มี ผศ.ดร.ณัฐพล ถนัดช่างแสง และ ผศ.ดร.ศนิ บุญญกุล อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการวัสดุชีวภาพและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ แห่งวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งผลงานนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก รศ.ดร.นพ.ตุลยพฤกษ์ ถาวรสวัสดิ์รักษ์ แห่งภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.ภญ. ฤดี เหมสถาปัตย์ แห่งภาคเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาอีกด้วย ปัจจุบันผลงานดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลองกับสัตว์ทดลอง หากมีผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจแล้วจะทำการทดลองกับมนุษย์ต่อไป ถือได้ว่าการสร้างผิวหนังเทียมสำหรับการรักษาแผลและการฟื้นฟูผิวหนังที่สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของแผลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บได้ เป็นวิธีการรักษาบาดแผลแบบใหม่ที่มีคุณภาพและทันสมัย อีกทั้งเป็นการแปรรูปวัสดุจากอุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้และลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้วัสดุที่เป็นสารตั้งต้นจากเจลาตินหนังปลาทำให้ผิวหนังเทียมนี้สามารถนำไปใช้กับผู้นับถือศาสนาทุกศาสนาได้อีกด้วย