ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น คาดยกระดับภาคเกษตรกรรมไทยสู่เกษตร 2.0-3.0 ใน 5 ปี
เมื่อ : 26 ก.ค. 2565 ,
289 Views
25 กรกฎาคม 2565, กรุงเทพมหานคร - สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมไทย ปี 2564 ยังคงกระจุกตัวอยู่ในระดับเกษตร 1.0 ถึง 2.0 แต่คาดการณ์ว่า เกษตรกรไทยมีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยีในทุกขั้นตอนการผลิต และอาจยกระดับภาคเกษตรกรรมของประเทศไปสู่เกษตร 2.0 ถึง 3.0 ในระยะ 5 ปีข้างหน้า
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ดำเนินการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรมเป็นปีแรก โดยพัฒนารูปแบบการสำรวจมาจากการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมไทยที่ ดีป้า ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 5 ปี
ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง ดีป้า เปิดเผยว่า การจัดทำการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรมไทย ปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวม และประเมินความสามารถด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของเกษตรกรไทย และการเปลี่ยนผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ จำแนกตามห่วงโซ่มูลค่า ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรและวัตถุดิบ เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการจัดการกระบวนการผลิต เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการสนับสนุนความสัมพันธ์กับลูกค้าและการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งผลการสำรวจจะต่อยอดเป็นดัชนีวัดความเข้มข้นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเชิงลึก (Digital Density Index) จาก 2 กลุ่มเกษตรกรคือ กลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และกลุ่ม Young Smart Farmer ใน 3 ขั้นตอนการทำการเกษตร ประกอบด้วย การเตรียมปัจจัยการผลิต การจัดการกิจกรรมการเกษตร และการค้าและการพาณิชย์
ด้าน นางรัชนี เอี่ยมฐานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ ดีป้า กล่าวว่า ผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมไทย ปี 2564 ชี้ให้เห็นว่า การกระจุกตัวของระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ที่เกษตร 1.0 ถึง 2.0 โดยในขั้นตอนการทำเกษตรทุกขั้นตอน ซึ่งเกษตรกรที่ไม่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเล็ก มีเงินลงทุนน้อยและไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี จึงยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ขณะที่เกษตรกรที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุ่ม Contract Farming
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมในระยะ 5 ปี คาดการณ์ว่าเกษตรกรจะปรับตัวเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตมากขึ้น ด้วยต้นทุนเรื่องของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีแนวโน้มถูกลง และการส่งเสริมของภาครัฐในการให้ความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ทางการเกษตร ส่งผลให้ภายในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ ภาคเกษตรกรรมไทยจะยกระดับไปสู่เกษตร 2.0 ถึง 3.0
ในงานเดียวกันนี้ยังจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมกรรมไทยสู่ยุคเกษตร 4.0” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดย นายรุ่งศิริ ประสงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายตลาดนำการเกษตร ซึ่งพร้อมกระจายความช่วยเหลือทั่วถึงทุกท้องที่ ด้าน นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีทางการเกษตรของไทยในปัจจุบันมีความพร้อม ขอเพียงเกษตรกรเรียนรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง นายมิตรดนัย สถาวรมณี Co-founder บริษัท โคโร บราเธอร์ จำกัด ในฐานะผู้แทนเกษตรกรไทย กล่าวว่า บริษัทต้องการให้เกษตรกรตั้งเป้าหมายทางการตลาดให้ชัดเจน ไม่ตามกระแส และเลือกลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลแบบพอดี
ขณะที่ ดร.ปรีสาร รักวาทิน รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้า พร้อมรับความเสี่ยง และช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิต และรายได้ พร้อมนำพาภาคเกษตรกรรมไทยก้าวสู่เกษตร 4.0 ต่อไป
ทั้งนี้ ดีป้า จะจัดให้มีการแถลงผลศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการท่องเที่ยวเป็นลำดับสุดท้ายของซีรีส์ชุดข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อให้เห็นภาพรวมของภาคการผลิตและภาคบริการหลักของประเทศ ทั้งนี้ ดีป้า ยังมีการรวบรวมข้อมูลดัชนีชี้วัดระดับสากล ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Transformation) หรือแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างตรงจุด เป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับ Digital Pulse โดยเผยแพร่อยู่ในหน้าเว็บไซต์ของ ดีป้า
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงผลการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคเกษตรกรรม ปี 2564 รวมถึงผลสำรวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ที่ ดีป้า ดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.depa.or.th/th/depakm/digital-indicators , LINE OA: depaThailand และ Facebook Page: depa Thailand
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ดำเนินการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรมเป็นปีแรก โดยพัฒนารูปแบบการสำรวจมาจากการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมไทยที่ ดีป้า ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 5 ปี
ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง ดีป้า เปิดเผยว่า การจัดทำการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรมไทย ปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวม และประเมินความสามารถด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของเกษตรกรไทย และการเปลี่ยนผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ จำแนกตามห่วงโซ่มูลค่า ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรและวัตถุดิบ เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการจัดการกระบวนการผลิต เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการสนับสนุนความสัมพันธ์กับลูกค้าและการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งผลการสำรวจจะต่อยอดเป็นดัชนีวัดความเข้มข้นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเชิงลึก (Digital Density Index) จาก 2 กลุ่มเกษตรกรคือ กลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และกลุ่ม Young Smart Farmer ใน 3 ขั้นตอนการทำการเกษตร ประกอบด้วย การเตรียมปัจจัยการผลิต การจัดการกิจกรรมการเกษตร และการค้าและการพาณิชย์
ด้าน นางรัชนี เอี่ยมฐานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ ดีป้า กล่าวว่า ผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมไทย ปี 2564 ชี้ให้เห็นว่า การกระจุกตัวของระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ที่เกษตร 1.0 ถึง 2.0 โดยในขั้นตอนการทำเกษตรทุกขั้นตอน ซึ่งเกษตรกรที่ไม่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเล็ก มีเงินลงทุนน้อยและไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี จึงยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ขณะที่เกษตรกรที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุ่ม Contract Farming
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมในระยะ 5 ปี คาดการณ์ว่าเกษตรกรจะปรับตัวเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตมากขึ้น ด้วยต้นทุนเรื่องของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีแนวโน้มถูกลง และการส่งเสริมของภาครัฐในการให้ความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ทางการเกษตร ส่งผลให้ภายในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ ภาคเกษตรกรรมไทยจะยกระดับไปสู่เกษตร 2.0 ถึง 3.0
ในงานเดียวกันนี้ยังจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “การขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมกรรมไทยสู่ยุคเกษตร 4.0” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดย นายรุ่งศิริ ประสงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายตลาดนำการเกษตร ซึ่งพร้อมกระจายความช่วยเหลือทั่วถึงทุกท้องที่ ด้าน นายนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีทางการเกษตรของไทยในปัจจุบันมีความพร้อม ขอเพียงเกษตรกรเรียนรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง นายมิตรดนัย สถาวรมณี Co-founder บริษัท โคโร บราเธอร์ จำกัด ในฐานะผู้แทนเกษตรกรไทย กล่าวว่า บริษัทต้องการให้เกษตรกรตั้งเป้าหมายทางการตลาดให้ชัดเจน ไม่ตามกระแส และเลือกลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลแบบพอดี
ขณะที่ ดร.ปรีสาร รักวาทิน รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้า พร้อมรับความเสี่ยง และช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิต และรายได้ พร้อมนำพาภาคเกษตรกรรมไทยก้าวสู่เกษตร 4.0 ต่อไป
ทั้งนี้ ดีป้า จะจัดให้มีการแถลงผลศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการท่องเที่ยวเป็นลำดับสุดท้ายของซีรีส์ชุดข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อให้เห็นภาพรวมของภาคการผลิตและภาคบริการหลักของประเทศ ทั้งนี้ ดีป้า ยังมีการรวบรวมข้อมูลดัชนีชี้วัดระดับสากล ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Transformation) หรือแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างตรงจุด เป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับ Digital Pulse โดยเผยแพร่อยู่ในหน้าเว็บไซต์ของ ดีป้า
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงผลการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคเกษตรกรรม ปี 2564 รวมถึงผลสำรวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ที่ ดีป้า ดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.depa.or.th/th/depakm/digital-indicators , LINE OA: depaThailand และ Facebook Page: depa Thailand