เมื่อ : 20 ก.ค. 2565 , 444 Views
วีโร่ประกาศนโยบายใหม่เพื่อสนับสนุนครอบครัววัยทำงานทั่วอาเซียน ให้คุณแม่ลาคลอดบุตรได้นานสูงสุด 6 เดือน และให้คุณพ่อลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ 1 เดือน
ด้วยนโยบายการลาคลอดและลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่แตกต่างกัน วีโร่จึงได้ขยายระยะเวลาการลาคลอดและลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างให้กับพ่อแม่มือใหม่ในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสวัสดิการพนักงานที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 19 กรกฎาคม 2565 – เมื่อเร็ว ๆ นี้ วีโร่ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการตลาดดิจิทัลที่ได้รับรางวัลเอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์แห่งปี ได้ประกาศนโยบายใหม่สำหรับพนักงานในการลาคลอดและลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร ปัจจุบัน วีโร่มีทีมงานที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ บริการด้านงานสร้างสรรค์ การตลาดดิจิทัล และการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ กว่า 200 คน โดย 66 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานวีโร่ทั้งหมดมีอายุมากกว่า 26 ปี และ 68 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงานทั้งหมดเป็นผู้หญิง ประสบการณ์ในการเป็นพ่อแม่ของสมาชิกในทีมวีโร่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเรื่องที่วีโร่ให้ความสำคัญและใส่ใจมากขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจของวีโร่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ พนักงานหญิงของวีโร่ในเวียดนามสามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้เป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือนตามกฎหมายเวียดนาม แต่สำหรับสำนักงานของวีโร่ในประเทศอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย การลาเพื่อคลอดบุตรตามกฎหมายนั้นมีระยะเวลาที่สั้นกว่าในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ วีโร่จึงต้องการให้การลาคลอดบุตรของพนักงานในทุกสำนักงานของวีโร่ในแต่ละประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้ประกาศมาตรฐานการลาคลอดบุตรแบบได้รับค่าจ้างอย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยนโยบายนี้ครอบคลุมทั้งระยะเวลาและจำนวนเงินที่พนักงานไม่ได้รับจากระบบประกันสังคมท้องถิ่น นโยบายนี้ใช้ได้กับสมาชิกในทีมวีโร่ทุกคนทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนที่ได้ร่วมงานกับวีโร่มาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

นายราฟาเอล แลชเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคอาเซียน ของวีโร่ กล่าวว่า "แนวทางด้านวัฒนธรรมของวีโร่ คือ การส่งเสริมให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและครอบคลุมทุกประเทศในระดับภูมิภาคที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ เราจึงจำเป็นต้องใช้มาตรฐานการปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสมาชิกในทีมของเราในทุก ๆ ประเทศ เพื่อให้พนักงานซึ่งกลายมาเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างครอบครัวได้รับมาตรฐานเดียวกันจากนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้พวกเขาทำงานอย่างมืออาชีพได้ดีที่สุด วีโร่ให้ความสำคัญกับการนำมาตรฐานสูงสุดมาใช้สำหรับนโยบายนี้ เพราะเราเชื่อว่าชีวิตครอบครัวที่สามารถพึ่งพาได้นั้นสำคัญและช่วยส่งเสริมชีวิตการทำงานทียอดเยี่ยมได้นั่นเอง”

การลาคลอดบุตรและการกลับมาทำงานหลังคลอด
นอกจากการขยายระยะเวลาการลาคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตรแบบได้รับค่าจ้างแล้ว วีโร่ยังเตรียมกำหนดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกลับมาทำงาน ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่วัยทำงานสามารถปรับตัวกับการทำงานของพวกเขาได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

นางสาวสุปรียาภรณ์ สีหะวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล สำนักงานวีโร่ในกรุงเทพฯ กล่าวว่า “เราสังเกตเห็นว่าพ่อแม่วัยทำงานหลายคนที่กำลังพิจารณาการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะของพวกเขาเมื่อกลับมาทำงาน หรือกังวลว่าการขาดงานของพวกเขาจะทำให้มีความรู้สึกอยากทำงานน้อยลงหรือหมดไฟในการทำงานไป” ด้วยเหตุนี้ การให้พนักงานมีความยืดหยุ่นและสามารถควบคุมการทำงานที่เหมาะสมของพวกเขาเองได้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างประสบการณ์ชีวิตครอบครัวและการทำงานที่ราบรื่นทั้งสำหรับพ่อแม่มือใหม่และเพื่อนร่วมงานของพวกเขา

พ่อก็เป็นผู้ปกครองที่กระตือรือร้นได้เช่นเดียวกัน
ในขณะที่ผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นผู้ดูแลครอบครัวเป็นหลัก และนโยบายที่เน้นเรื่องครอบครัวมากมายมักให้ความสำคัญกับผู้หญิงมากกว่า วีโร่ได้ดำเนินการออกนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับนิยามคำจำกัดความที่ขยายกว้างขึ้นของพลวัตครอบครัวในปัจจุบัน ที่ผู้ชายหันมายอมรับบทบาทของตนในฐานะผู้ดูแลหลักของครอบครัวเช่นเดียวกัน โดยวีโร่ได้ยกระดับและให้สิทธิการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรแก่คุณพ่อมือใหม่ เพื่อปรับให้สถานที่ทำงานมีความสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างสมดุล โดยนโยบายซึ่งมีผลทั่วภูมิภาคนี้ อนุญาตให้พนักงานที่เป็นคุณพ่อมือใหม่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้เป็นระยะเวลา 1 เดือน

นายวูควน เหงียน มาส รองประธานฝ่ายวัฒนธรรมและแบรนด์ประจำภูมิภาคอาเซียน ของวีโร่ กล่าวว่า "ในฐานะที่ผมและภรรยาเองก็เป็นคู่สามีภรรยาที่มีเป้าหมายชีวิตและมีความกระตือรือร้นด้วยกันทั้งคู่ ผมตระหนักดีว่าการกำหนดนโยบายในลักษณะดังกล่าว ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งมากจนเกินไปนั้นมีความสำคัญเพียงใด การได้ใช้ประโยชน์จากการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรของคนเป็นพ่อ ทำให้เรารับรู้ได้ว่าที่ทำงานของเราเปิดโอกาสให้พ่อแม่มือใหม่สามารถเติบโตก้าวหน้าในอาชีพการงาน ไปพร้อมกับการประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวโดยไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องเพศของพวกเขาแต่อย่างใด”