เขื่อน - ภัทรดนัย พาเรียนรู้ Skill การใช้ชีวิต “พัดชา-ชนุดม สุขสถิตย์” กว่าจะสุขกับสิ่งที่เป็น
เมื่อ : 06 ก.ค. 2565 ,
471 Views
ทุกคนล้วนแล้วแต่มี Skill ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็กที่จะหล่อหลอมให้แต่ละคน ดึง Skill ที่มีอยู่ออกมาใช้ได้ถูกจังหวะและช่วงเวลา เพื่อที่จะ “อยู่รอด” ให้ได้ในโลกกว้างใหญ่ใบนี้
“พัดชา-ชนุดม สุขสถิตย์” อดีตนักร้องนำวงชนุดม เจ้าของผลงานเพลง “คราม” นักแต่งเพลง นักแสดงละครเวที และอีกหลากหลายอาชีพ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่อยู่รอดได้ในวันนี้จากการนำสารพัด Skill ที่มีอยู่มาใช้จัดการกับชีวิตของเธอ เธอภูมิใจกับความเป็น LGBTQ ที่มีความเป็นตัวของตัวเองมาตั้งแต่เกิด แต่เพราะเธอได้รับความเข้าอกเข้าใจในเพศสภาพและได้รับการยอมรับจากครอบครัวจนทำให้เธอมีความสุขกับชีวิตในแบบที่เป็นมาจนทุกวันนี้
แต่แม้ว่าเธอจะได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้างหากก็เป็นเพียงคนในครอบครัวเท่านั้น แต่กับคนอื่นนั้นยังมีความคิดและพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เธอสัมผัสได้ว่ายังไปต่อได้ยาก แต่เธอก็ใช้ Soft Skill (ทักษะทางสังคม) ในหลายๆ ด้าน ที่เธอมีอยู่ ต่อสู้และฟันฝ่ามาตลอด เพื่อปกป้องไม่ให้คนรอบตัวที่เธอต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วย มาดูถูกเหยียดหยามในเกียรติและศักดิ์ศรีของตัวเธอ ด้วยการพกพาความมั่นใจเต็มร้อยจากการได้รับความรักอัน บริสุทธ์ของครอบครัว ผนวกกับความรู้ความสามารถที่เธอมีอยู่เป็นทุนเดิม เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนยอมรับเธอ และตัดสินเธอจากความสามารถที่มีอยู่ โดยไม่นำเรื่องเพศสภาพมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
พัดชา ได้รับ Empathy Skill (ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น) มาจากที่บ้าน ที่คุณพ่อคุณแม่พยายามจะเข้าใจในตัวของเธอ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เธออยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างปลอดภัย บ่อยครั้งที่ในวัยเด็ก เธอต้องเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ทำให้บางครั้ง เธอต้องใช้ความรุนแรงในการโต้ตอบหรือป้องกันตัวเองจากเพื่อนๆ และนั่นคือจุดที่ทำให้เธอเริ่มรู้สึกไม่ชอบตัวเอง แต่เมื่อเธอกลับมาพบกับความรักความอบอุ่นของครอบครัว ก็ทำให้เธอเกิด Curiosity Skill (ความอยากรู้อยากเห็น) จึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริงๆ แล้วอยากเป็นใคร อยากได้อะไร สิ่งที่เป็นอยู่นี้คือสิ่งที่ตัวเองรักและใช่ตัวเองจริงๆ หรือเปล่า ซึ่งการค้นหาตัวเองจนพบว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เธอก้าวไปจนพบเจอกับสิ่งที่รักในที่สุด ท่ามกลางคำพูดที่เธอบอกตนเองตลอดเวลาว่า สิ่งที่ทำไปนั้นก็จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถสร้างพลังบวกให้เธอยืนหยัดมาได้ ก็คือแคร์คนที่รักเธอ ถ้าเขาเหล่านั้นสนับสนุนเธอ ก็คือจบ
และนี่คือบางช่วงบางตอนของเนื้อหา “พัดชา-ชนุดม สุขสถิตย์ กว่าจะสุขกับสิ่งที่เป็น” ที่ได้มาร่วมพูดคุยและแชร์แนวคิดกับ เขื่อน - ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หนึ่งในผู้สร้างแรงบันดาลใจในฐานะตัวแทนของคนที่เชื่อในเรื่องความเท่าเทียม
ติดตามเรื่องราวของ คุณพัดชา กว่าจะสุขกับสิ่งที่เป็น … Power Skill ที่ Gen Z ควรมีเพื่อใช้ในอนาคต โดย เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านทางช่อง YouTube: Koendanai ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอสซีจี ที่มุ่งมั่นทำกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ตามแนวคิด “Learn to Earn” ในการเสริมความรู้และทักษะที่ใช้ในการทำงาน (Hard skill) และ ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Soft skill) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARN https://www.facebook.com/LEARNtoEARNbySCGFoundation
Link VDO: https://www.youtube.com/watch?v=iY4s_QIyH3A&t=996s
#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #รุ่นนี้ต้องรอด #มูลนิธิเอสซีจี
“พัดชา-ชนุดม สุขสถิตย์” อดีตนักร้องนำวงชนุดม เจ้าของผลงานเพลง “คราม” นักแต่งเพลง นักแสดงละครเวที และอีกหลากหลายอาชีพ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่อยู่รอดได้ในวันนี้จากการนำสารพัด Skill ที่มีอยู่มาใช้จัดการกับชีวิตของเธอ เธอภูมิใจกับความเป็น LGBTQ ที่มีความเป็นตัวของตัวเองมาตั้งแต่เกิด แต่เพราะเธอได้รับความเข้าอกเข้าใจในเพศสภาพและได้รับการยอมรับจากครอบครัวจนทำให้เธอมีความสุขกับชีวิตในแบบที่เป็นมาจนทุกวันนี้
แต่แม้ว่าเธอจะได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้างหากก็เป็นเพียงคนในครอบครัวเท่านั้น แต่กับคนอื่นนั้นยังมีความคิดและพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เธอสัมผัสได้ว่ายังไปต่อได้ยาก แต่เธอก็ใช้ Soft Skill (ทักษะทางสังคม) ในหลายๆ ด้าน ที่เธอมีอยู่ ต่อสู้และฟันฝ่ามาตลอด เพื่อปกป้องไม่ให้คนรอบตัวที่เธอต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วย มาดูถูกเหยียดหยามในเกียรติและศักดิ์ศรีของตัวเธอ ด้วยการพกพาความมั่นใจเต็มร้อยจากการได้รับความรักอัน บริสุทธ์ของครอบครัว ผนวกกับความรู้ความสามารถที่เธอมีอยู่เป็นทุนเดิม เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนยอมรับเธอ และตัดสินเธอจากความสามารถที่มีอยู่ โดยไม่นำเรื่องเพศสภาพมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
พัดชา ได้รับ Empathy Skill (ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น) มาจากที่บ้าน ที่คุณพ่อคุณแม่พยายามจะเข้าใจในตัวของเธอ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เธออยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างปลอดภัย บ่อยครั้งที่ในวัยเด็ก เธอต้องเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ทำให้บางครั้ง เธอต้องใช้ความรุนแรงในการโต้ตอบหรือป้องกันตัวเองจากเพื่อนๆ และนั่นคือจุดที่ทำให้เธอเริ่มรู้สึกไม่ชอบตัวเอง แต่เมื่อเธอกลับมาพบกับความรักความอบอุ่นของครอบครัว ก็ทำให้เธอเกิด Curiosity Skill (ความอยากรู้อยากเห็น) จึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริงๆ แล้วอยากเป็นใคร อยากได้อะไร สิ่งที่เป็นอยู่นี้คือสิ่งที่ตัวเองรักและใช่ตัวเองจริงๆ หรือเปล่า ซึ่งการค้นหาตัวเองจนพบว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เธอก้าวไปจนพบเจอกับสิ่งที่รักในที่สุด ท่ามกลางคำพูดที่เธอบอกตนเองตลอดเวลาว่า สิ่งที่ทำไปนั้นก็จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถสร้างพลังบวกให้เธอยืนหยัดมาได้ ก็คือแคร์คนที่รักเธอ ถ้าเขาเหล่านั้นสนับสนุนเธอ ก็คือจบ
และนี่คือบางช่วงบางตอนของเนื้อหา “พัดชา-ชนุดม สุขสถิตย์ กว่าจะสุขกับสิ่งที่เป็น” ที่ได้มาร่วมพูดคุยและแชร์แนวคิดกับ เขื่อน - ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หนึ่งในผู้สร้างแรงบันดาลใจในฐานะตัวแทนของคนที่เชื่อในเรื่องความเท่าเทียม
ติดตามเรื่องราวของ คุณพัดชา กว่าจะสุขกับสิ่งที่เป็น … Power Skill ที่ Gen Z ควรมีเพื่อใช้ในอนาคต โดย เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านทางช่อง YouTube: Koendanai ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอสซีจี ที่มุ่งมั่นทำกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ตามแนวคิด “Learn to Earn” ในการเสริมความรู้และทักษะที่ใช้ในการทำงาน (Hard skill) และ ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Soft skill) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARN https://www.facebook.com/LEARNtoEARNbySCGFoundation
Link VDO: https://www.youtube.com/watch?v=iY4s_QIyH3A&t=996s
#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #รุ่นนี้ต้องรอด #มูลนิธิเอสซีจี