กระทรวง อว. ประกาศศักยภาพอุดมศึกษาไทยในงาน THE Asia Universities Summit ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อ : 06 มิ.ย. 2565 ,
484 Views
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประชุมระดมความคิดเห็นวิธีการด้านสถาบันอุดมศึกษาในการปรับตัวในเรื่องที่ท้าทายในระดับประเทศและเชื่อมต่อในระดับนานาชาติ พร้อมแสดงผลงานปัจจุบันหลังจากที่บริบททางสังคมปรับเปลี่ยนจากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ สถานการณ์หลังจากการระบาดของโรค COVID-19 กอปรการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านประชากรศาสตร์โดยเฉพาะเอเชีย อันเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในโลกและมีจำนวนประชากรแต่ละประเทศที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถที่เป็นแหล่งความรู้ในอนาคตและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องปรับตัวและจัดหาวิธีการเรียนรู้เพิ่มทักษะในในสังคม ในการประชุม THE Asia Universities Summit ภายใต้ Theme งาน Facing the future, creating academic talent "พวกเราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกในอนาคตได้อย่างไรกัน ถ้าบุคลากรที่จะเป็นแหล่งความรู้ในอนาคตมีจำนวนที่ลดลง ?"
ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า THE Asia Universities Summit ภายใต้งาน Facing the future, creating academic talent ถือเป็นการส่งเสริมด้านอุดมศึกษา พร้อมเชื่อมต่อผลงานด้านอุดมศึกษาไทยในระดับเอเชีย โดยการประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้ในการพัฒนาจากกลุ่มภาคการศึกษามหาวิทยาลัยในทวีปเอเชีย อีกทั้งสถาบันอุดมศึกษาไทยได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาร่วมกันในสถาบันอุดมศึกษาในเอเชีย ในเรื่องของจำนวนประชากรลดลง การปรับเปลี่ยนจากจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมีแผนงานที่ชัดเจนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ถอดบทเรียนในเรื่องของความสำเร็จของการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศต่าง เพื่อเกิดการสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงฯ ดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดี เช่น แนวคิดในการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม แนวคิดในการขับเคลื่อนและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Sciences) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเน้นออนไลน์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียน การร่วมมือการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยการใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยังได้เผยถึงโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ได้นำมาปรับในการพัฒนาในประเทศ โดยให้พลิกโฉมมหาวิทยาลัยผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยมีการดำเนินการที่มุ่งเป้า ดึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่หลงทางวางความถนัดของกลุ่มมหาวิทยาลัยไทยที่ชัดเจน โดยการดำเนินการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศที่ทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และยกระดับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้องค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัย
“ในการประชุม อว. ยังได้นำเสนอมุมมอง แผนการพัฒนาด้านอุดมศึกษาในไทย โดยตัวแทนประเทศไทยได้มีการนำเสนอแนวคิดผ่านการสัมมนาในเรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการปรับการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์มาก่อนการระบาดของโรค COVID-19 คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาในเรื่องระบบไอที องค์ความรู้ด้านดิจิตอล ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนอย่างรอบด้าน อาทิ การติดตั้งระบบไวไฟทุกวิทยาเขต พัฒนาเซิฟเวอร์ให้ทันสมัยมีบทเรียนแบบออนไลน์ มีการสร้างบุคคลากรให้มีความรู้ทำให้ในช่วงโรคระบาด COVID-19 การจัดการเรียนการสอนจึงไม่กระทบมาก แม้ว่าการมีระบบ IT ที่ดีจะเป็นเทรนด์ของอนาคต แต่การเรียนการสอนแบบซึ่งหน้า (face to face) ก็เป็นสิ่งสำคัญช่วยการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมมากกว่าโลกออนไลน์ นอกจากนี้ทาง สป.อว. ยังได้ทาบทามทาง THE ให้มาจัดการประชุม Master class ในประเทศไทยในเวลาอันใกล้นี้ต่อไป” นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวสรุป
ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า THE Asia Universities Summit ภายใต้งาน Facing the future, creating academic talent ถือเป็นการส่งเสริมด้านอุดมศึกษา พร้อมเชื่อมต่อผลงานด้านอุดมศึกษาไทยในระดับเอเชีย โดยการประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้ในการพัฒนาจากกลุ่มภาคการศึกษามหาวิทยาลัยในทวีปเอเชีย อีกทั้งสถาบันอุดมศึกษาไทยได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาร่วมกันในสถาบันอุดมศึกษาในเอเชีย ในเรื่องของจำนวนประชากรลดลง การปรับเปลี่ยนจากจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมีแผนงานที่ชัดเจนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ถอดบทเรียนในเรื่องของความสำเร็จของการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศต่าง เพื่อเกิดการสนับสนุนนโยบายที่กระทรวงฯ ดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดี เช่น แนวคิดในการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม แนวคิดในการขับเคลื่อนและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Sciences) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเน้นออนไลน์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียน การร่วมมือการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยการใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยังได้เผยถึงโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ได้นำมาปรับในการพัฒนาในประเทศ โดยให้พลิกโฉมมหาวิทยาลัยผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยมีการดำเนินการที่มุ่งเป้า ดึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่หลงทางวางความถนัดของกลุ่มมหาวิทยาลัยไทยที่ชัดเจน โดยการดำเนินการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศที่ทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และยกระดับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้องค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัย
“ในการประชุม อว. ยังได้นำเสนอมุมมอง แผนการพัฒนาด้านอุดมศึกษาในไทย โดยตัวแทนประเทศไทยได้มีการนำเสนอแนวคิดผ่านการสัมมนาในเรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการปรับการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์มาก่อนการระบาดของโรค COVID-19 คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาในเรื่องระบบไอที องค์ความรู้ด้านดิจิตอล ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนอย่างรอบด้าน อาทิ การติดตั้งระบบไวไฟทุกวิทยาเขต พัฒนาเซิฟเวอร์ให้ทันสมัยมีบทเรียนแบบออนไลน์ มีการสร้างบุคคลากรให้มีความรู้ทำให้ในช่วงโรคระบาด COVID-19 การจัดการเรียนการสอนจึงไม่กระทบมาก แม้ว่าการมีระบบ IT ที่ดีจะเป็นเทรนด์ของอนาคต แต่การเรียนการสอนแบบซึ่งหน้า (face to face) ก็เป็นสิ่งสำคัญช่วยการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมมากกว่าโลกออนไลน์ นอกจากนี้ทาง สป.อว. ยังได้ทาบทามทาง THE ให้มาจัดการประชุม Master class ในประเทศไทยในเวลาอันใกล้นี้ต่อไป” นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวสรุป