มูลนิธิเอเชีย จับมือ Google.org ติดอาวุธดิจิทัลให้คนในชุมชนไทยกว่า 53,000 คน เรียนรู้ทักษะใหม่ด้านดิจิทัลรับมือยุค ‘Digital Disruption’ ปรับธุรกิจท้องถิ่นให้ทันโลก
เมื่อ : 04 พ.ค. 2565 ,
684 Views
กรุงเทพฯ, 3 พฤษภาคม 2565 - ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้บริโภคและรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจทุกภาคส่วนตั้งแต่ธุรกิจระดับใหญ่จนถึงธุรกิจระดับเล็ก รวมไปถึงธุรกิจรายย่อยในชุมชนต่างๆ ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption
การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Digital Disruption ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรีบปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้อยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของผู้บริโภคและตลาด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างจำกัด อาทิ ผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ห่างไกล อาจไม่สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ได้ ทางมูลนิธิเอเชียจึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลในไทยได้เรียนรู้เท่าทันเทรนด์ที่เปลี่ยนไป มูลนิธิเอเชียจึงริเริ่มโครงการ Go Digital ASEAN ในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจาก Google.org เพื่อฝึกอบรมสร้างความรู้ให้แก่เหล่าคนในชุมชนพื้นที่ชนบท
โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 53,000 คน ใน 28 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และนครราชสีมา และภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก โดยมีธุรกิจท้องถิ่น อาทิ ธุรกิจเกษตรอินทรีย์และ ธุรกิจผ้าทอท้องถิ่น มาร่วมเรียนรู้การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสร้างหรือต่อยอดธุรกิจสู่ช่องทางใหม่ นอกจากนี้แล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการยังรวมไปถึงคนในชุมชนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งได้เพิ่มทักษะทางดิจิทัลในการเพิ่มโอกาสการจ้างงานของตนเอง
หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ นางสาเคละ ผู้เข้าร่วมอบรมจากจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เช่น อะโวคาโด ฝรั่ง ลูกพีช ลูกพลับ ลูกพลัม มะม่วง ลูกน้ำนม น้อยหน่า เงาะ รวมถึงข้าวหอมมะลิดำและข้าวเหนียวดำ ได้เปิดเผยว่า ตนเองได้นำทักษะความรู้การตลาดออนไลน์ที่ได้เรียนรู้จากโครงการ Go Digital ASEAN ไปต่อยอดธุรกิจโดยการโพสต์รูปภาพและเล่าเรื่องราวของผลผลิตทางเกษตรลงสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งทำให้เธอได้รายได้มากขึ้นกว่า 4 เท่าตัวในฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาและมีฐานลูกค้ามากขึ้น
ในหลักสูตรการเรียนรู้นี้มุ่งเน้นไปที่การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงการเสริมแนวคิดทางการตลาดและการรู้เท่าทันกลโกงการขายบนสื่อออนไลน์ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้แก่กลุ่มชุมชนชนบทและพื้นที่ห่างไกล
โครงการ Go Digital ASEAN นี้ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังดำเนินการในอีก 9 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมกว่า 200,000 คน รวมไปถึงกลุ่มผู้หญิง กลุ่มชนชาติพันธุ์ กลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้ทำงานต่ำกว่าระดับการศึกษา
จากผลสำรวจของโครงการนี้พบว่า กว่า 97% ของผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบทางธุรกิจในเชิงบวก โดยพบว่า 2 ใน 3 มีส่วนร่วมกับลูกค้าเพิ่มขึ้น และ 1 ใน 5 ได้รับผลกำไร นอกจากนี้กว่า 92% ของผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนหลังรับการฝึกอบรม โดย 42% ได้สร้างหรืออัปเดตสถานะธุรกิจออนไลน์ และ 36% ได้ขยายธุรกิจของตน ยิ่งไปกว่านั้น 90% ของผู้เข้ารับการอบรมยังได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการปกป้องและสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตน โดยมากกว่า 91% นั้นรู้สึกว่ามีความหวังและพร้อมสำหรับอนาคตมากขึ้น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Digital Disruption ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรีบปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้อยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของผู้บริโภคและตลาด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างจำกัด อาทิ ผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ห่างไกล อาจไม่สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ได้ ทางมูลนิธิเอเชียจึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลในไทยได้เรียนรู้เท่าทันเทรนด์ที่เปลี่ยนไป มูลนิธิเอเชียจึงริเริ่มโครงการ Go Digital ASEAN ในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจาก Google.org เพื่อฝึกอบรมสร้างความรู้ให้แก่เหล่าคนในชุมชนพื้นที่ชนบท
โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 53,000 คน ใน 28 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และนครราชสีมา และภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก โดยมีธุรกิจท้องถิ่น อาทิ ธุรกิจเกษตรอินทรีย์และ ธุรกิจผ้าทอท้องถิ่น มาร่วมเรียนรู้การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสร้างหรือต่อยอดธุรกิจสู่ช่องทางใหม่ นอกจากนี้แล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการยังรวมไปถึงคนในชุมชนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งได้เพิ่มทักษะทางดิจิทัลในการเพิ่มโอกาสการจ้างงานของตนเอง
หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ นางสาเคละ ผู้เข้าร่วมอบรมจากจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เช่น อะโวคาโด ฝรั่ง ลูกพีช ลูกพลับ ลูกพลัม มะม่วง ลูกน้ำนม น้อยหน่า เงาะ รวมถึงข้าวหอมมะลิดำและข้าวเหนียวดำ ได้เปิดเผยว่า ตนเองได้นำทักษะความรู้การตลาดออนไลน์ที่ได้เรียนรู้จากโครงการ Go Digital ASEAN ไปต่อยอดธุรกิจโดยการโพสต์รูปภาพและเล่าเรื่องราวของผลผลิตทางเกษตรลงสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งทำให้เธอได้รายได้มากขึ้นกว่า 4 เท่าตัวในฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาและมีฐานลูกค้ามากขึ้น
ในหลักสูตรการเรียนรู้นี้มุ่งเน้นไปที่การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงการเสริมแนวคิดทางการตลาดและการรู้เท่าทันกลโกงการขายบนสื่อออนไลน์ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้แก่กลุ่มชุมชนชนบทและพื้นที่ห่างไกล
โครงการ Go Digital ASEAN นี้ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังดำเนินการในอีก 9 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมกว่า 200,000 คน รวมไปถึงกลุ่มผู้หญิง กลุ่มชนชาติพันธุ์ กลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้ทำงานต่ำกว่าระดับการศึกษา
จากผลสำรวจของโครงการนี้พบว่า กว่า 97% ของผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบทางธุรกิจในเชิงบวก โดยพบว่า 2 ใน 3 มีส่วนร่วมกับลูกค้าเพิ่มขึ้น และ 1 ใน 5 ได้รับผลกำไร นอกจากนี้กว่า 92% ของผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนหลังรับการฝึกอบรม โดย 42% ได้สร้างหรืออัปเดตสถานะธุรกิจออนไลน์ และ 36% ได้ขยายธุรกิจของตน ยิ่งไปกว่านั้น 90% ของผู้เข้ารับการอบรมยังได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการปกป้องและสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตน โดยมากกว่า 91% นั้นรู้สึกว่ามีความหวังและพร้อมสำหรับอนาคตมากขึ้น