“ดีพร้อม” ปักธงยกระดับสินค้าชุมชน – เสริมทักษะ เอสเอ็มอี ประเดิมพื้นที่สุโขทัยแห่งแรก หวังคืนรายได้สู่ท้องถิ่น ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมแคร์”
เมื่อ : 02 พ.ค. 2565 ,
626 Views
จ.สุโขทัย 2 พฤษภาคม 2565 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าโครงการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำรายได้คืนถิ่นชุมชน” โดยเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างทักษะด้านกระบวนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยดีพร้อมได้ประเดิมลงพื้นที่จัดกิจกรรมฝึกอบรมในจังหวัดสุโขทัยเป็นแห่งแรก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด ทั้งด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้าในชุมชน การสร้างอัตลักษณ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ซึ่งดีพร้อมได้รับมอบหมาย
จากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่นที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจจากวิกฤติโควิด-19 ปฏิรูปการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ
ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะการจ้างงาน การประกอบอาชีพของประชาชนรวมถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากนำรายได้คืนถิ่นชุมชน” มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะในการประกอบธุรกิจ เสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการให้ก้าวสู่ธุรกิจสมัยใหม่ รวมถึงการบริหารจัดการขนส่งธุรกิจชุมชนและการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยได้ลงพื้นที่
จัดโครงการฝึกอบรมในจังหวัดสุโขทัยเป็นแห่งแรก และเตรียมเดินหน้าโครงการอย่างครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในการกระจายโอกาสสู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ
ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า การริเริ่มโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการที่จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในแง่การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในชุมชนรวมทั้งผลกระทบด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามพื้นที่จังหวัดสุโขทัยมีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์มูลค่าสูง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของพื้นที่ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของเมืองมรดกโลก มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน รวมถึงการยกระดับเกษตรปลอดภัย เกษตรอัจฉริยะอาหารแปรรูปอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพืชเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจังหวัดที่ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข เมืองมรดกโลกและอารยธรรม เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และนวัตกรรม”
สำหรับโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากนำรายได้คืนถิ่นชุมชน” ที่จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการความร่วมมือที่ดีพร้อมร่วมกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ตามนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ได้เดินหน้าลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การเสริมสร้างทักษะด้านกระบวนการผลิตมุ่งสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การบริหารวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม และกระตุ้นให้วิสาหกิจชุมชนสามารถปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำน้ำพริกจากเห็ด การทำไข่เค็ม การทำเจลแอลกอฮอล์ การทำสบู่ก้อน การทำน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 400 คนโดยโครงการดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เข้าถึงกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบธุรกิจ การแสวงหาโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนก่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ ขณะเดียวกันยังเป็นการตอกย้ำจุดมุ่งหมายที่ต้องการเร่งฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา ด้วยการลงพื้นที่รับทราบถึงปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเชิงลึกได้อย่างตรงจุด พร้อมกับปฏิรูปการส่งเสริมให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาดีพร้อมได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการสร้างรายได้ และคืนโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับผู้ต้องขัง เพื่อยกระดับทักษะฝีมือวิชาชีพผู้ต้องขังให้สามารถออกไปประกอบอาชีพได้เมื่อพ้นโทษในอนาคต รวมถึงการถอดรหัสอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ด้วยสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านผ่านการออกแบบมาสคอตอัตลักษณ์สุโขทัย โดยการใช้นกคุ้มสัตว์ท้องถิ่นนำมาทำเป็นลวดลายบนผลิตภัณฑ์ของฝากต่าง ๆ พร้อมกับการส่งเสริมผู้นำท้องถิ่น ผ่านโครงการ “กสอ. “คิด” กทบ. “ช่วย” ธุรกิจชุมชน เรียนแล้ว สร้างได้ ขายเป็น” ให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะการทำตลาดแบบ E – commerce นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบองค์รวม ด้วยการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดีพร้อม หรือ หมู่บ้าน DIPROM CIV อาทิ บ้านนาต้นจั่น อ.ศรีสัชนาลัย แหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดจากการส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนมีทักษะการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังมีการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน ก่อเกิดรายได้ให้กับคนในพื้นที่สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศต่อไป
สำหรับการเดินหน้าโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำรายได้คืนถิ่นชุมชน” ดีพร้อมเตรียมขยายพื้นที่ดำเนินการในอีก 5 จังหวัดทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าดึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 ราย เพื่อเสริมแกร่งการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจในยุคความปกติใหม่ (New Normal) ดร. ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66 ต่อ 4 และติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th
จากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่นที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจจากวิกฤติโควิด-19 ปฏิรูปการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ
ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะการจ้างงาน การประกอบอาชีพของประชาชนรวมถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากนำรายได้คืนถิ่นชุมชน” มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะในการประกอบธุรกิจ เสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการให้ก้าวสู่ธุรกิจสมัยใหม่ รวมถึงการบริหารจัดการขนส่งธุรกิจชุมชนและการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยได้ลงพื้นที่
จัดโครงการฝึกอบรมในจังหวัดสุโขทัยเป็นแห่งแรก และเตรียมเดินหน้าโครงการอย่างครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในการกระจายโอกาสสู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ
ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า การริเริ่มโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการที่จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในแง่การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในชุมชนรวมทั้งผลกระทบด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามพื้นที่จังหวัดสุโขทัยมีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์มูลค่าสูง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของพื้นที่ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของเมืองมรดกโลก มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน รวมถึงการยกระดับเกษตรปลอดภัย เกษตรอัจฉริยะอาหารแปรรูปอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพืชเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาจังหวัดที่ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข เมืองมรดกโลกและอารยธรรม เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และนวัตกรรม”
สำหรับโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากนำรายได้คืนถิ่นชุมชน” ที่จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการความร่วมมือที่ดีพร้อมร่วมกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ตามนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ได้เดินหน้าลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การเสริมสร้างทักษะด้านกระบวนการผลิตมุ่งสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การบริหารวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม และกระตุ้นให้วิสาหกิจชุมชนสามารถปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำน้ำพริกจากเห็ด การทำไข่เค็ม การทำเจลแอลกอฮอล์ การทำสบู่ก้อน การทำน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 400 คนโดยโครงการดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เข้าถึงกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบธุรกิจ การแสวงหาโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนก่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ ขณะเดียวกันยังเป็นการตอกย้ำจุดมุ่งหมายที่ต้องการเร่งฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา ด้วยการลงพื้นที่รับทราบถึงปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเชิงลึกได้อย่างตรงจุด พร้อมกับปฏิรูปการส่งเสริมให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาดีพร้อมได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการสร้างรายได้ และคืนโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับผู้ต้องขัง เพื่อยกระดับทักษะฝีมือวิชาชีพผู้ต้องขังให้สามารถออกไปประกอบอาชีพได้เมื่อพ้นโทษในอนาคต รวมถึงการถอดรหัสอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ด้วยสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านผ่านการออกแบบมาสคอตอัตลักษณ์สุโขทัย โดยการใช้นกคุ้มสัตว์ท้องถิ่นนำมาทำเป็นลวดลายบนผลิตภัณฑ์ของฝากต่าง ๆ พร้อมกับการส่งเสริมผู้นำท้องถิ่น ผ่านโครงการ “กสอ. “คิด” กทบ. “ช่วย” ธุรกิจชุมชน เรียนแล้ว สร้างได้ ขายเป็น” ให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะการทำตลาดแบบ E – commerce นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบองค์รวม ด้วยการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดีพร้อม หรือ หมู่บ้าน DIPROM CIV อาทิ บ้านนาต้นจั่น อ.ศรีสัชนาลัย แหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดจากการส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนมีทักษะการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ยังมีการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน ก่อเกิดรายได้ให้กับคนในพื้นที่สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศต่อไป
สำหรับการเดินหน้าโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำรายได้คืนถิ่นชุมชน” ดีพร้อมเตรียมขยายพื้นที่ดำเนินการในอีก 5 จังหวัดทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าดึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 ราย เพื่อเสริมแกร่งการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจในยุคความปกติใหม่ (New Normal) ดร. ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66 ต่อ 4 และติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th