นักวิจัยไทยค้นพบยาตำรับสมุนไพรรักษาโควิด19 ประสิทธิภาพสูงยับยั้งการแพร่เชื้อโควิดได้ผล
เมื่อ : 10 เม.ย. 2565 ,
503 Views
วันที่ 9 เม.ย.65 ที่ห้องจูปีเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดย นักวิจัย แพทย์แผนไทย แพทย์แผนปัจจุบัน นักวิชาการ คณาจารย์ และเภสัชกรร่วมแถลงผลงานวิจัยสมุนไพรไทยและเห็ดยา ต้านโควิด 19 และถ่ายทอดบทเรียนการใช้ยาตำรับสมุนไพรเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดและรักษาผู้ป่วยให้ปลอดภัย
รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ได้ทำการทดสอบวิจัยตำรับยาสมุนไพรเคอร่าจนเสร็จสิ้น และ ได้ส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ในหัวข้อเรื่อง KERRA, mixed medicinal plant extracts, inhibits SARS-CoV-2 targets enzymes and Feline corona vinus. โดยพบว่าสารสกัดของสมุนไพรตำรับเคอร่า KERRA นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ขยายตัวของไวรัสโควิด 19 ถึงสองกลไก ซึ่งตามปกติแล้วยาต้านไวรัสทั่วไป จะมีฤทธิ์ยับยั้งเพียงกลไกเดียวเท่านั้น คือ main protease และ RdRp (RNA-dependent RNA polymerase) โดยมีค่า IC50 คือค่าความเข้มข้นที่ 50% ของการยับยั้ง main protease ที่ 49.91 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร โดยเมื่อเทียบกับยาต้านไวรัส Lopninavir และ Ritronavir นั้น สารสกัดเคอร่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าถึง 1543 เท่า และ 468 เท่าตามลำคับ และเมื่อเทียบกับสารสกัดฟ้าทะลายโจรนั้น พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 650 เท่า ส่วนค่าความเข้มข้นที่ 50% ของการยับยั้งเอนไซม์ RdRp ที่ 36.23ไมโครครัมต่อมิลลิลิตร โดยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตรเท่ากันนั้น สารสกัดเคอร่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ RdRp สูงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 371% รวมทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบที่ดีเมื่อเทียบกับเพร็คนิโซโลน หรือได โคลฟีแนค
นพ.รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงผลการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง(Retrospective) ในคนไข้จำนวน 2,476 ราย ของโรงพยาบาลประชาธิปัตย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี จำนวน 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 มีผู้มี โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิดสูง ไธรอยด์ เก๊าต์ ไวรัสตับอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ภูมิแพ้ หอบหืด วัณโรค ธาลัสซีเมีย เป็นต้น จำนวน 461 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 333 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.5 พบว่า ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 67 หายป่วยภายใน 7 วัน, หายป่วยภายใน 10 วันคิดเป็นร้อยละ 88 หายป่วยภายใน 30 วัน ร้อยละ 99.92 ส่วนที่หายเกินกว่า 30 วัน หรือมีภาวะลองโควิดคิดเป็นร้อยละ 0.08 โดยไม่พบผู้มีอาการลุกลาม ที่ต้องใช้ ท่อช่วยหายใจ ต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงในการใช้ยาพบว่าร้อยละ 99.68 ไม่พบผลข้างเคียง มีรายงานพบมีอาการคล้ายท้องเสียจำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.002 ซึ่งอาการจะหายเมื่อหยุดยา ไม่มีรายงานความเป็นพิมต่อตับและไต หรือผลข้างเคียงร้ายแรงอื่น ซึ่งผู้ก็ป่วยร้อยละ 99.68 รายงานว่าอการดีขึ้นและหายเป็นปกติหลังได้รับยา
ด้าน ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร หัวหน้าศูนย์วิจัยชีวอนามัยตรัง วิทยาลัยสาธรณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และประธานอนุกรรมการด้านวิจัยและบริการวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เปีดเผยถึงข้อมูลที่ ได้ทำการทบทวนงานวิจัย เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาของยาชนิดต่างๆที่ใช้รักษาโรคโควิด 19 เช่น ฟาวิพิราเวียร์, ไอเวอร์เมคติน, คอร์ติโคเสตอรอยค์, โมลนูพิราเวียร์, ริ โทรนาเวียร์ ฯลฯ. พบว่ายาตำรับสมุนไพรเคอร่า นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสโควิค 19 ที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันหลายชนิดเมื่อเปรียบเทียบผลจากหลอดทดลอง อีกทั้งผลการวิจัยทางคลินิคในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จำนวน 2,476 รายนั้น ทุกรายหายเป็นปกติ โดยไม่พบผู้เสียชีวิตหรือมีอาการลุกลามหลังได้รับยา จึงถือเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนและภาครัฐ ในการนำมาใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ต่อไป
ดร.สุวรรณี สร้อยสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้ทำการสัมภาษณ์ถอดบทเรียนของผู้นำชุมชนและหน่วยราชการหลายหน่วยงาน เช่น ชุมชนคลองเตย, ชุมชนทุ่งสองห้อง, อบต.คลองใหญ่ จ.นครนายก, รพ.สต.คลองใหญ่ จ.นครนายก, ชุมชนริมทางด่วนบางนา, ชุมชนเคหะลำลูกกา, อบจ.สมุทรสงคราม, มูลนิธิเด็กและเยาวชน, กลุ่มสายไหมต้องรอด, ศูนย์ฝืกอบรมตำรวจกลาง, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 (นครสวรรค์) , ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 (ลำปาง) ฯลฯ พบว่า หลังจากการใช้ยาเคอร่าเข้าไปในหน่วยงานหรือชุมชนนั้น ทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของเชื้อได้ดี รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยทำให้อาการไม่ลุกลามและหายเป็นปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาในระบบ ยาเคอร่า เป็นยาสมุนไพร 100% ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ จากกระทรวงสาธารณสุข ทะเบียนยาเลขที่ G40/57 เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป ผลิตตามมาตรฐาน GMP, HALAL โดยเวชกรโอสถ...
นพ.รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงผลการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง(Retrospective) ในคนไข้จำนวน 2,476 ราย ของโรงพยาบาลประชาธิปัตย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี จำนวน 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 มีผู้มี โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิดสูง ไธรอยด์ เก๊าต์ ไวรัสตับอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ภูมิแพ้ หอบหืด วัณโรค ธาลัสซีเมีย เป็นต้น จำนวน 461 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 333 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.5 พบว่า ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 67 หายป่วยภายใน 7 วัน, หายป่วยภายใน 10 วันคิดเป็นร้อยละ 88 หายป่วยภายใน 30 วัน ร้อยละ 99.92 ส่วนที่หายเกินกว่า 30 วัน หรือมีภาวะลองโควิดคิดเป็นร้อยละ 0.08 โดยไม่พบผู้มีอาการลุกลาม ที่ต้องใช้ ท่อช่วยหายใจ ต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงในการใช้ยาพบว่าร้อยละ 99.68 ไม่พบผลข้างเคียง มีรายงานพบมีอาการคล้ายท้องเสียจำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.002 ซึ่งอาการจะหายเมื่อหยุดยา ไม่มีรายงานความเป็นพิมต่อตับและไต หรือผลข้างเคียงร้ายแรงอื่น ซึ่งผู้ก็ป่วยร้อยละ 99.68 รายงานว่าอการดีขึ้นและหายเป็นปกติหลังได้รับยา
ด้าน ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร หัวหน้าศูนย์วิจัยชีวอนามัยตรัง วิทยาลัยสาธรณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และประธานอนุกรรมการด้านวิจัยและบริการวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เปีดเผยถึงข้อมูลที่ ได้ทำการทบทวนงานวิจัย เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาของยาชนิดต่างๆที่ใช้รักษาโรคโควิด 19 เช่น ฟาวิพิราเวียร์, ไอเวอร์เมคติน, คอร์ติโคเสตอรอยค์, โมลนูพิราเวียร์, ริ โทรนาเวียร์ ฯลฯ. พบว่ายาตำรับสมุนไพรเคอร่า นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสโควิค 19 ที่ดีกว่ายาแผนปัจจุบันหลายชนิดเมื่อเปรียบเทียบผลจากหลอดทดลอง อีกทั้งผลการวิจัยทางคลินิคในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จำนวน 2,476 รายนั้น ทุกรายหายเป็นปกติ โดยไม่พบผู้เสียชีวิตหรือมีอาการลุกลามหลังได้รับยา จึงถือเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนและภาครัฐ ในการนำมาใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ต่อไป