เมื่อ : 18 มี.ค. 2565 , 754 Views
ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 เปิดงานยิ่งใหญ่  ผอ. องค์การอนามัยโลก ร่วมแสดงความยินดี ด้าน สธ. - องค์กรพันธมิตร เชิญประชาชนร่วมงานฯ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ “เด็ก-ประชาชน” พร้อมรับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขฟรี
เปิดงานยิ่งใหญ่ งานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 มหกรรมแสดงศักยภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุขครั้งยิ่งใหญ่ของไทย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธานเปิดงาน พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บทบาทความสำเร็จของประเทศไทยกับการจัดการ COVID-19 และการเปิดประเทศ” ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ดร.เทดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus) ร่วมบรรยายพิเศษหัวข้อสถานการณ์โลกภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 ระบบวัคซีนของโลก และร่วมแสดงความยินดีกับการจัดงานฯ คาดประชาชนเดินทางเข้าร่วมงานจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบ on ground และ on site จากทั้งการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Pfizer) ในเด็กอายุ 5-11 ปี และวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 (Pfizer) สำหรับประชาชน ฟรี 1,000 โดสต่อวัน และรับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ฟรี และการ

 
 
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในพิธีเปิดงาน ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 (Thailand International Health Expo 2022) ว่า รัฐบาลมีการส่งเสริมและผลักดันนโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมาโดยตลอด เพื่อให้ทั่วโลกเห็นถึงความพร้อมในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสาธารณสุขของโลก (Medical and Wellness Hub) อย่างแท้จริง ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้ได้คุณภาพมาตรฐาน มีระบบการจัดการโรคติดต่อและวัคซีนที่ดี ความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มาตรฐานในระดับสากล เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ซึ่งในปีนี้โรงพยาบาลในไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2565 (The World's Best Hospitals 2022) รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านโครงการสำคัญต่างๆ อาทิ การเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปคในปี 2565, การจัดงาน World Expo ภายใต้ชื่องาน Expo 2025 Osaka Kansai ในปี 2568, การเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo ในปี 2571 ภายใต้ชื่องาน Expo 2028 – Phuket, Thailand และการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองมหาอำนาจเวลเนสของโลกในเขตอันดามัน (Thailand Wellness Corridor) อีกทั้งประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพด้วยกัญชา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ขณะนี้ได้เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้      ด้วยความพร้อมดังกล่าวการจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการประกาศความพร้อม ทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทย รวมถึงยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพแบบไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะการปลดล็อกกัญชาให้กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำไปพัฒนาเป็น ยา และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ และยังช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ เกิดการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การแพทย์ การสาธารณสุข        การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นวัตกรรมทางการแพทย์ยุคใหม่ การจัดงานฯ ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจสุขภาพของไทยกับตลาดธุรกิจสุขภาพทั่วโลก โดยหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะสร้างมูลค่าจากการให้บริการ Magnet ที่มีศักยภาพดึงดูดผู้รับบริการ การจับคู่เจรจาทางธุรกิจ และการเผยแพร่ภาพลักษณ์ชื่อเสียงด้านสุขภาพที่ดีของไทยสู่สากล และทำให้การท่องเที่ยวของไทยกลับมาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไปได้

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า งานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 ครั้งนี้ จัดขึ้นในลักษณะห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในรูปแบบ HYBRID EXPO ภายใต้แนวคิด “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ” (Empowering Smart Healthcare Innovations) และยังได้รับเกียรติจาก ดร.เทดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ที่มาร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อสถานการณ์โลกภายใต้การระบาดของโรคโควิด 19 ระบบวัคซีนของโลก และรวมแสดงความยินดีกับการจัดงานฯ ที่เกิดขึ้น โดยกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ประกอบด้วยการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Pfizer) ในเด็กอายุ 5-11 ปี และวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 (Pfizer) สำหรับประชาชน  ฟรี 1,000 โดสต่อวัน ตั้งแต่ 17-20 มีนาคม 2565 ตลอดการจัดงาน โดยลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่านผ่านแอปพลิเคชัน QUEQ การประชุมสัมมนาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ การจัดแสดง Smart Healthcare Innovation Showcase เช่น 5G Technology ระบบนิเวศน์เทคโนโลยีสนับสนุนการบริการสุขภาพ (Health Service Support : HSS Ecosystem) คอมมูนิตี้สำหรับวัยเกษียณ นวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุ มหัศจรรย์แห่งกัญชาและสมุนไพร ฯลฯ โดยดำเนินการตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเคร่งครัด และยังมีการจัดแสดงงาน ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยนิทรรศการเสมือนจริง สัมมนา, E-Market Place จับคู่เจรจาธุรกิจ
 
ส่วนนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวถึงความสำคัญของการจัดงานฯ ว่า การจัดงานไมซ์ โดยเฉพาะงานด้านการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Quick Win ที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างทันท่วงที ซึ่งงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 เป็นงานแรกในการผนึกกำลังร่วมกันของพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนภายใต้แนวทาง "หนึ่งกระทรวง หนึ่งงานนิทรรศการ" (One Ministry One Expo) เพื่อเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศ ทั้งยังเป็นการสร้างงานมหกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติที่ใหญ่ที่สุด เกิดการสร้างรายได้ที่มีมูลค่าในเชิงธุรกิจสูง และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ โดยประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพทางด้านสาธารณสุขให้แก่ทั่วโลกได้เห็น

โดยงานนี้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนได้เข้าถึงสินค้า บริการ เทคโนโลยีและความรู้ รวมถึงบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสามารถต่อยอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการแพทย์ การสาธารณสุขกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกผ่านการสัมมนาออนไลน์ (International Webinar) ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพได้เชื่อมต่อกับผู้ประกอบการจากทั่วโลกผ่านการจัดงานแบบไฮบริด เอ็กซ์โป (Hybrid Expo) และยังมีการออกบูธในรูปแบบ Electronic Market Place (E-Market Place) การจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) กับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และนักลงทุนด้านสุขภาพจากนานาชาติอีกด้วย

 

สำหรับพื้นที่จัดแสดงพาวิลเลี่ยนของทีเส็บภายในงานฯ จะนำเสนอถึงโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมสุขภาพด้วยนวัตกรรมแห่งไมซ์ หรือ “Driving Thailand Health Industry with MICE Innovation” ผ่านแนวคิด Hygiene + Hybrid (2HY) อาทิ แนวปฏิบัติติการจัดงานไมซ์อย่างปลอดภัย ตัวอย่างการจัดงานไมซ์แบบ 2HY เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดงานด้าน Virtual / Hybrid Event Management และแนะนำเส้นทางการจัดกิจกรรมไมซ์สร้างสรรค์ใน 10 เมืองไมซ์ เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการจัดประชุม สัมมนา การจัดงานแสดงสินค้า และงานอีเวนต์ในประเทศไทยจะขับเคลื่อนได้อย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้มาตรฐานการจัดงานที่ปลอดภัย
 
ด้านนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า งานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022  มีความสำคัญและสอดคล้องกับแผนการฟื้นตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ ททท. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) การขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะปรนนิบัติดูแลสุขภาพควบคู่กับการพักผ่อนหย่อนใจ 

ประเทศไทยมีความพร้อมและมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ในระดับสูงมาก ทั้งจำนวนโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาระดับสากล Joint Commission International หรือ JCI ถึง 60 แห่ง มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นอันดับ 4 ของโลก มีศูนย์ตรวจสุขภาพเชิงป้องกันครบวงจรดีที่สุดในภูมิภาค มีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญ มีการบริการที่รวดเร็ว ให้การดูแลเป็นอย่างดีและค่าบริการสมเหตุสมผล มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัยที่ต้องการมาพักผ่อนหลังเกษียณทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีเทคโนโลยีเวชศาสตร์ฟื้นฟูและชะลอวัย รวมไปถึงโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเฉพาะที่สามารถพบได้ที่ประเทศไทยเท่านั้น เช่น แพทย์แผนไทย สมาธิบำบัดฟื้นฟูจิตใจ สปาไทย นวดแผนไทยและสมุนไพรไทย
 
ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีแนวทางทำงานที่มุ่งเสริมพลังให้แก่ทั้งองค์กรและชุมชน โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการทำงานกับหน่วยงานในระบบสุขภาพ ซึ่งทศวรรษที่สามของ สสส. กับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย ได้แก่ 1 เพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารอย่างสมดุล 2 .เพิ่มสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ 3. เพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ 4. เตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และปัจจัยเสี่ยงอื่น 5. ลดอัตราการบริโภคยาสูบ 6. ลดอัตราการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด 7.ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และ 8. ลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังนำเสนอการทำงานรูปแบบใหม่ อันเกิดจากการทบทวนบทบาทและการดำเนินงานของ สสส. ได้แก่ ศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) และ สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy)

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า สสส. ได้พ%B