สบส.เปิดสถิติออกกำลังกายช่วงโควิด 19 “เดินเร็ว” สุดฮิตวัยทำงาน
เมื่อ : 15 ส.ค. 2564 ,
1178 Views
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดสถิติพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในกลุ่มวัยทำงาน ให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เผยประเภทของการออกกำลังกายยอดนิยมอันดับแรก คือ เดินเร็วร้อยละ 43.6 เป็นการออกกำลังกายยอดฮิตและประชาชนมักจะใช้เวลาออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณ 30 นาที
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวว่า ได้ดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยการสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ ในกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 15 - 59 ปี เรื่อง พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดำเนินการใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564 (เป็นช่วงเริ่มต้นผ่อนคลายมาตรการ การควบคุมโรคโควิด 19) ผลการสำรวจ พบว่าวัยทำงานนิยมออกกำลังกายสูงสุด 3 อันดับแรก คือ เดินเร็ว โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 43.6 % ที่ยังคงออกกำลังกายประเภทนี้แม้ในสถานการณ์โรคโควิด 19 ยังคงแพร่ระบาด อันดับที่สอง คือ วิ่งเหยาะ 27.9% อันดับที่สาม คือ ปั่นจักรยาน 19.9 % ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเดินเร็วเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสำหรับคนทำงาน
นพ.ธเรศ กล่าวว่า ในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) การออกกําลังกายเป็นกลไก ที่สําคัญในการเสริมสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน โดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและใช้แรงกล้ามเนื้อ จะทำให้มีสุขภาพดี รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด ควรทำสม่ำเสมอ ให้ได้ 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องนาน ครั้งละ 20 - 60 นาที จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทําให้เกิดความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในด้านการป้องกันโรค คือ ช่วยลดความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สําคัญ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ความอ้วนและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ การเดินเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง เป็นอิสระและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ทุกเพศทุกวัยสามารถทำได้และปลอดภัย เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินไป เกิดแรงกระแทกที่ข้อเท้าต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมาก สิ่งสำคัญในการเดินออกกำลังกาย คือ ท่าเดิน ไม่ควรก้าวยาวจนเกินไป ควรก้าวสั้นๆ แต่ถี่ แกว่งแขนตามธรรมชาติ สวมรองเท้า ที่เหมาะแก่การเดิน ควรเป็นรองเท้าที่มีพื้นกันแรงกระแทกและรองรับอย่างมั่นคง ก่อนและหลังการเดิน ควรอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย
นพ.ธเรศ กล่าวว่า ในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) การออกกําลังกายเป็นกลไก ที่สําคัญในการเสริมสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน โดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ต้องใช้วิธีค่อยทำค่อยไป ให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและใช้แรงกล้ามเนื้อ จะทำให้มีสุขภาพดี รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด ควรทำสม่ำเสมอ ให้ได้ 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องนาน ครั้งละ 20 - 60 นาที จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทําให้เกิดความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในด้านการป้องกันโรค คือ ช่วยลดความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สําคัญ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ความอ้วนและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ การเดินเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง เป็นอิสระและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ทุกเพศทุกวัยสามารถทำได้และปลอดภัย เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินไป เกิดแรงกระแทกที่ข้อเท้าต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมาก สิ่งสำคัญในการเดินออกกำลังกาย คือ ท่าเดิน ไม่ควรก้าวยาวจนเกินไป ควรก้าวสั้นๆ แต่ถี่ แกว่งแขนตามธรรมชาติ สวมรองเท้า ที่เหมาะแก่การเดิน ควรเป็นรองเท้าที่มีพื้นกันแรงกระแทกและรองรับอย่างมั่นคง ก่อนและหลังการเดิน ควรอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย
ด้านนางสาวมะลิ ไพฑูรย์เนรมิต ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า การออกกำลังกายในวัยทำงานนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก เพราะร่างกายต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน การมีพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือการนั่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ และสมอง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประชาชนควรเลือกออกกำลังกายที่ไม่เสี่ยง ต่อการติดเชื้อ และควรทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ สามารถใช้พื้นที่บริเวณบ้านออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ เมื่อนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ควรลุกขึ้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกๆ 1 ชั่วโมง อาจจะใช้แอพพลิเคชั่นเปิดคลิปออกกำลังกายที่บ้าน โยคะ หรือการทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รวมทั้งกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุกด้วยความร้อน ลดหวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยง การกินอาหารร่วมกัน งดการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ทั้งภายในและภายนอกบ้าน และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7 - 9 ชั่วโมง
สามารถติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อของกองสุขศึกษา ผ่านช่องทาง Facebook และเว็บไซต์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ http://www.hed.go.th
สามารถติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อของกองสุขศึกษา ผ่านช่องทาง Facebook และเว็บไซต์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ http://www.hed.go.th