แคนนอน ฉลองครบรอบ 35 ปี Canon EOS System เปิดตัวเลนส์ไพร์มซูเปอร์เทเลโฟโต้เกรดโปรฯ สำหรับเมาท์ RF น้ำหนักเบาลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายระยะไกลได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อ : 03 มี.ค. 2565 ,
518 Views
ครบรอบ 35 ปี Canon EOS System
RF800mm f/5.6L IS USM
RF1200mm f/8L IS USM
RF800mm f/5.6L IS USM
RF1200mm f/8L IS USM
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2565 - บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด (Canon) ประกาศฉลองครบรอบ 35 ปี Canon EOS System รวมถึงกล้องแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ในตระกูล EOS Series ซึ่งเริ่มต้นจากเลนส์รุ่น EF รวมถึงกลุ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆ และด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาในเดือนมีนาคมนี้ จึงเปิดตัวเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้เกรด โปรเฟสชันนัล (L-series) สำหรับเมาท์ RF ใหม่ล่าสุด ได้แก่ เลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM เพื่อรองรับการถ่ายภาพเทเลโฟโต้ได้ระยะไกลกว่าเดิม ด้วยชุดเลนส์ที่เบากว่ามากสำหรับกล้องมิเรอร์เลส
Canon EOS System เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2530 พร้อมกับการเปิดตัวกล้อง EOS 650 SLR และชุดเลนส์ EF โดยตัวย่อชื่อรุ่น EOS หรือ Electro Optical System ที่มาจากชื่อ EOS เทพธิดาแห่งรุ่งอรุณของกรีก เลนส์รุ่นนี้เป็นระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบตัวแรกของโลก ซึ่งเป็นต้นแบบของกล้อง AF SLR รุ่นใหม่ ซึ่งรวมถึงกล้องแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ในตระกูล EOS อุปกรณ์เสริม และเลนส์รุ่น EF สำหรับเปลี่ยนใส่กับกล้องถ่ายภาพ
ในปี 2555 แคนนอนได้เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตวิดีโอ และเข้ามาเปลี่ยนเทคโนโลยีวิดีโอด้วยระบบ Cinema EOS System จากนั้นในปีพ.ศ. 2561 ระบบ EOS R System ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเสริมประสิทธิภาพของเลนส์ RF รุ่นใหม่ให้ทำงานดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นแคนนอนยังสานต่อความสำเร็จในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการเปิดตัวกล้อง EOS R5 กล้องดิจิทัลรุ่นแรกของโลกที่สามารถบันทึกวิดีโอได้บนความละเอียดระดับ 8K และในปี พ.ศ. 2564 ได้เปิดตัวกล้อง EOS R3 ที่มาพร้อมระบบโฟกัสด้วยดวงตาและระบบ EOS VR System สำหรับการถ่ายทำวิดีโอเสมือนจริง
ระบบ EOS System ได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์การบันทึกภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์กล้องในตระกูล EOS ทั้งหมด 21 รุ่น รวมถึงเลนส์ RF และ EF กว่า 104 รุ่น เพื่อให้ครอบคลุมทั้งการบันทึกภาพนิ่ง วิดีโอ หรือแม้แต่คอนเทนต์ภาพถ่ายเสมือนจริง ซึ่งนอกจากตอกย้ำถึงการดำเนินงานที่ยาวนานและฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก แคนนอนยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องดิจิทัลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งยาวนานถึง 18 ปี
กลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์รุ่นใหม่ทั้ง RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ต่างพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เคยสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการกล้องถ่ายภาพของแคนนอน
Canon EOS System เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2530 พร้อมกับการเปิดตัวกล้อง EOS 650 SLR และชุดเลนส์ EF โดยตัวย่อชื่อรุ่น EOS หรือ Electro Optical System ที่มาจากชื่อ EOS เทพธิดาแห่งรุ่งอรุณของกรีก เลนส์รุ่นนี้เป็นระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบตัวแรกของโลก ซึ่งเป็นต้นแบบของกล้อง AF SLR รุ่นใหม่ ซึ่งรวมถึงกล้องแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ในตระกูล EOS อุปกรณ์เสริม และเลนส์รุ่น EF สำหรับเปลี่ยนใส่กับกล้องถ่ายภาพ
ในปี 2555 แคนนอนได้เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตวิดีโอ และเข้ามาเปลี่ยนเทคโนโลยีวิดีโอด้วยระบบ Cinema EOS System จากนั้นในปีพ.ศ. 2561 ระบบ EOS R System ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเสริมประสิทธิภาพของเลนส์ RF รุ่นใหม่ให้ทำงานดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นแคนนอนยังสานต่อความสำเร็จในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการเปิดตัวกล้อง EOS R5 กล้องดิจิทัลรุ่นแรกของโลกที่สามารถบันทึกวิดีโอได้บนความละเอียดระดับ 8K และในปี พ.ศ. 2564 ได้เปิดตัวกล้อง EOS R3 ที่มาพร้อมระบบโฟกัสด้วยดวงตาและระบบ EOS VR System สำหรับการถ่ายทำวิดีโอเสมือนจริง
ระบบ EOS System ได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์การบันทึกภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์กล้องในตระกูล EOS ทั้งหมด 21 รุ่น รวมถึงเลนส์ RF และ EF กว่า 104 รุ่น เพื่อให้ครอบคลุมทั้งการบันทึกภาพนิ่ง วิดีโอ หรือแม้แต่คอนเทนต์ภาพถ่ายเสมือนจริง ซึ่งนอกจากตอกย้ำถึงการดำเนินงานที่ยาวนานและฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก แคนนอนยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องดิจิทัลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งยาวนานถึง 18 ปี
กลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์รุ่นใหม่ทั้ง RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ต่างพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เคยสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการกล้องถ่ายภาพของแคนนอน
เลนส์รุ่น RF 1200mm f/8L IS USM เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากที่สุดในโลกที่สามารถใช้กับกล้องมิเรอร์เลส ส่วนเลนส์ RF 800mm f/5.6L IS USM เป็นเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาและทางยาวโฟกัสสั้นที่สุดในเกรดโปรเฟสชันนัล (L-series) ของแคนนอน ทั้งสองรุ่นออกแบบมาเพื่อการใช้งานของมืออาชีพทั้งในส่วนการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ อาทิ การถ่ายภาพสัตว์ป่า การถ่ายภาพข่าว และการถ่ายภาพกีฬา นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กกว่า ทำให้เลนส์ทั้งสองรุ่นเป็นตัวเลือกที่ใช้งานได้จริงกับสถานการณ์ที่ต้องการความคล่องตัว ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการถ่ายภาพและในขณะเดียวกันยังได้ผลงานภาพถ่ายคุณภาพตอบโจทย์ช่างภาพมืออาชีพ
ระบบ Optical System ที่ถูกพัฒนาใหม่สามารถรองรับทางยาวโฟกัสที่มากขึ้นด้วยดีไซน์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้แบบเดิม นอกจากนี้ เลนส์ทั้งสองรุ่นยังรองรับระบบออโต้โฟกัสและระบบป้องกันภาพสั่นไหวแม้ใช้กับอุปกรณ์ขยายเลนส์ พร้อมให้คุณภาพของภาพถ่ายที่สวยงามน่าประทับใจด้วยชุดเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาลงอย่างชัดเจน
แม้เลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM จะมีขนาดเล็กและเบากว่าเลนส์ EF อย่างเห็นได้ชัด แต่ยังมอบคุณภาพของภาพถ่ายระดับสุดยอดอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์เกรดโปรเฟสชันนัล (L-series) และด้วยการเปิดตัวเลนส์รุ่นล่าสุดนี้ ทำให้เลนส์ RF ของแคนนอนขึ้นแท่นเป็นเลนส์ที่มีระยะโฟกัสครอบคลุมทุกระยะมากที่สุดแก่ผู้ใช้งาน ตั้งแต่เลนส์อัลตร้าไวด์ระยะ 14 มม. ไปจนถึงเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ระยะ 2400 มม.[1]
สุดยอดเลนส์ทรงพลังที่ถูกย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง และน้ำหนักที่เบาขึ้นกว่า 80%
เลนส์ RF1200mm f/8L IS USM ถูกตัดน้ำหนักออกถึง 13 กก. (ราว 80%) และลดความยาวลง 299 มม. (ราว 35%) เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์รุ่นก่อนอย่าง EF1200mm f/5.6L USM ที่หนักถึง 16.5 กก. อีกทั้งยังมีการติดตั้งเทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวมาในตัวเลนส์ ส่วนรุ่น RF800mm f/5.6L IS USM มีน้ำหนักเพียง 1.36 กก. ซึ่งเบากว่ารุ่นก่อนอย่าง EF800mm f/5.6L IS USM ราว 30% โดยยังสามารถคงประสิทธิภาพด้านออปติคขั้นสูงไว้และยังมีโครงสร้างที่ทนต่อการสั่นสะเทือนสูงและแรงกระแทก พร้อมซีลกันฝุ่นและหยดน้ำเพื่อป้องกันความชื้นเข้าสู่เลนส์
ถ่ายได้ระยะไกลขึ้นด้วยอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ที่รองรับออโต้โฟกัส
ทั้งเลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ Extender RF 1.4x และ Extender RF 2x โดยเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วจะมีทางยาวโฟกัสดังนี้
ระบบ Optical System ที่ถูกพัฒนาใหม่สามารถรองรับทางยาวโฟกัสที่มากขึ้นด้วยดีไซน์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้แบบเดิม นอกจากนี้ เลนส์ทั้งสองรุ่นยังรองรับระบบออโต้โฟกัสและระบบป้องกันภาพสั่นไหวแม้ใช้กับอุปกรณ์ขยายเลนส์ พร้อมให้คุณภาพของภาพถ่ายที่สวยงามน่าประทับใจด้วยชุดเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาลงอย่างชัดเจน
แม้เลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM จะมีขนาดเล็กและเบากว่าเลนส์ EF อย่างเห็นได้ชัด แต่ยังมอบคุณภาพของภาพถ่ายระดับสุดยอดอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์เกรดโปรเฟสชันนัล (L-series) และด้วยการเปิดตัวเลนส์รุ่นล่าสุดนี้ ทำให้เลนส์ RF ของแคนนอนขึ้นแท่นเป็นเลนส์ที่มีระยะโฟกัสครอบคลุมทุกระยะมากที่สุดแก่ผู้ใช้งาน ตั้งแต่เลนส์อัลตร้าไวด์ระยะ 14 มม. ไปจนถึงเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ระยะ 2400 มม.[1]
สุดยอดเลนส์ทรงพลังที่ถูกย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง และน้ำหนักที่เบาขึ้นกว่า 80%
เลนส์ RF1200mm f/8L IS USM ถูกตัดน้ำหนักออกถึง 13 กก. (ราว 80%) และลดความยาวลง 299 มม. (ราว 35%) เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์รุ่นก่อนอย่าง EF1200mm f/5.6L USM ที่หนักถึง 16.5 กก. อีกทั้งยังมีการติดตั้งเทคโนโลยีป้องกันภาพสั่นไหวมาในตัวเลนส์ ส่วนรุ่น RF800mm f/5.6L IS USM มีน้ำหนักเพียง 1.36 กก. ซึ่งเบากว่ารุ่นก่อนอย่าง EF800mm f/5.6L IS USM ราว 30% โดยยังสามารถคงประสิทธิภาพด้านออปติคขั้นสูงไว้และยังมีโครงสร้างที่ทนต่อการสั่นสะเทือนสูงและแรงกระแทก พร้อมซีลกันฝุ่นและหยดน้ำเพื่อป้องกันความชื้นเข้าสู่เลนส์
ถ่ายได้ระยะไกลขึ้นด้วยอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ที่รองรับออโต้โฟกัส
ทั้งเลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ Extender RF 1.4x และ Extender RF 2x โดยเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วจะมีทางยาวโฟกัสดังนี้
Extender RF 1.4x | Extender RF 2x | |
RF800mm f/5.6L IS USM | 1120mm | 1600mm |
RF1200mm f/8L IS USM | 1680mm | 2400mm |
ถือเป็นระบบกล้องเพียงไม่กี่ระบบที่ความสามารถไต่ทางยาวโฟกัสได้มากกว่า 1600mm เมื่อใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่รองรับระบบออโต้โฟกัสพร้อมอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ แต่เมื่อใช้เลนส์ของแคนนอนกับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ร่วมกับระบบออโต้โฟกัส Dual Pixel CMOS AF ของระบบ EOS R system จะทำงานครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างแม้เกินกว่าค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/8 – ครอบคลุมสูงสุด 100%ในกล้องรุ่น EOS R3 EOS R5 และ EOS R6[2]
ด้วยคุณสมบัตินี้ ผู้ใช้จึงได้สัมผัสกับความสามารถต่าง ๆ ของระบบออโต้โฟกัส อาทิ ระบบออโต้โฟกัสตรวจจับในสัตว์ ซึ่งใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากกว่าบนกล้อง DSLR นอกจากนี้ เลนส์รุ่นนี้ยังรองรับการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด 30 เฟรมต่อวินาที (ในโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) เมื่อติดตั้งกับกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง EOS R3
ผสานเทคโนโลยีเอกสิทธิ์เฉพาะของแคนนอน เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่เหนือกว่า
ด้วยการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นของเมาท์ RF ทำให้โครงสร้างของเลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อส่งมอบคุณภาพของภาพถ่ายระดับคุณภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์เกรดโปรเฟสชันนัล (L-series) ด้วยขนาดเลนส์ที่เล็กและเบากว่า รวมถึงการใช้ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ ชิ้นเลนส์ Super UD และเลนส์ UD เพื่อรับมือกับความคลาดเคลื่อนของสีที่อาจเกิดได้ไวกว่า โดยเฉพาะกับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดถึงขอบเฟรม
เสริมประสิทธิภาพระบบป้องกันภาพสั่นไหวเพื่อการถ่ายระดับซูเปอร์เทเลโฟโต้
เลนส์ทั้งสองรุ่นมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical IS มาในตัวเลนส์ ซึ่งช่วยลดการสั่นของภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะการสั่นที่มองเห็นได้เมื่อใช้ระยะโฟกัสที่ยาวมาก) โดยในรุ่น RF800mm f/5.6L IS USM มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 4.5 สต็อป[3] (โดยรุ่นก่อนหน้าทำได้เพียง 4 สต็อป) ส่วนรุ่น RF1200mm f/8L IS USM มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 4 สต็อป3 (ในขณะที่รุ่นก่อนหน้าไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว)
พกพาง่ายยิ่งกว่าเพื่อการใช้งานที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ระดับมืออาชีพทั่วไปมักมีขนาดใหญ่เทอะทะและหนักมาก ด้วยคุณสมบัติการพกพาง่ายของ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ทำให้เป็นเลนส์ที่น่าจับตามองและตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่โดยเฉพาะเมื่อผสานกับความสามารถที่เพิ่มขึ้นของกล้องมิเรอร์เลสในระบบ EOS R System
คุณสมบัติผลิตภัณฑ์
ด้วยคุณสมบัตินี้ ผู้ใช้จึงได้สัมผัสกับความสามารถต่าง ๆ ของระบบออโต้โฟกัส อาทิ ระบบออโต้โฟกัสตรวจจับในสัตว์ ซึ่งใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากกว่าบนกล้อง DSLR นอกจากนี้ เลนส์รุ่นนี้ยังรองรับการถ่ายต่อเนื่องสูงสุด 30 เฟรมต่อวินาที (ในโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) เมื่อติดตั้งกับกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง EOS R3
ผสานเทคโนโลยีเอกสิทธิ์เฉพาะของแคนนอน เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายที่เหนือกว่า
ด้วยการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นของเมาท์ RF ทำให้โครงสร้างของเลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อส่งมอบคุณภาพของภาพถ่ายระดับคุณภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์เกรดโปรเฟสชันนัล (L-series) ด้วยขนาดเลนส์ที่เล็กและเบากว่า รวมถึงการใช้ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ ชิ้นเลนส์ Super UD และเลนส์ UD เพื่อรับมือกับความคลาดเคลื่อนของสีที่อาจเกิดได้ไวกว่า โดยเฉพาะกับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดถึงขอบเฟรม
เสริมประสิทธิภาพระบบป้องกันภาพสั่นไหวเพื่อการถ่ายระดับซูเปอร์เทเลโฟโต้
เลนส์ทั้งสองรุ่นมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical IS มาในตัวเลนส์ ซึ่งช่วยลดการสั่นของภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะการสั่นที่มองเห็นได้เมื่อใช้ระยะโฟกัสที่ยาวมาก) โดยในรุ่น RF800mm f/5.6L IS USM มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 4.5 สต็อป[3] (โดยรุ่นก่อนหน้าทำได้เพียง 4 สต็อป) ส่วนรุ่น RF1200mm f/8L IS USM มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 4 สต็อป3 (ในขณะที่รุ่นก่อนหน้าไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว)
พกพาง่ายยิ่งกว่าเพื่อการใช้งานที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ระดับมืออาชีพทั่วไปมักมีขนาดใหญ่เทอะทะและหนักมาก ด้วยคุณสมบัติการพกพาง่ายของ RF800mm f/5.6L IS USM และ RF1200mm f/8L IS USM ทำให้เป็นเลนส์ที่น่าจับตามองและตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่โดยเฉพาะเมื่อผสานกับความสามารถที่เพิ่มขึ้นของกล้องมิเรอร์เลสในระบบ EOS R System
คุณสมบัติผลิตภัณฑ์
RF800mm f/5.6L IS USM | RF1200mm f/8L IS USM | |
ทางยาวโฟกัส (Focal Length) | 800 มม. | 1200 มม. |
ค่ารูรับแสงสูงสุด (Maximum Aperture) | f/5.6 | f/8 |
ระยะโฟกัสต่ำสุด (Minimum Focusing Distance) | 2.6 m | 4.3 m |
กำลังขยายสูงสุด (Maximum Magnification) | 0.34 x | 0.29 x |
โครงสร้างเลนส์ (Lens Construction) | 26 ชิ้นเลนส์ จัดเป็น 18 กลุ่ม | 26 ชิ้นเลนส์ จัดเป็น 18 กลุ่ม |
กระจกกระจายแสงต่ำพิเศษ (Special Low Dispersion Glass) | 2x ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ 1x ชิ้นเลนส์ Super UD 1x ชิ้นเลนส์ UD |
2x ชิ้นเลนส์ฟลูออไรต์ 1x ชิ้นเลนส์ Super UD 1x ชิ้นเลนส์ UD |
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ (Filter Size Diameter) | Ø52 มม. (drop-in) | ø52 มม. (drop-in) |
กลีบรูรับแสง (Aperture Blades) | 9 | 9 |
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (CIPA Standard Correction Effect) | มี (สูงสุด 4.5 สต็อป) | มี (สูงสุด 4 สต็อป) |
เส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวเลนส์สูงสุด (Maximum Diameter and length) | ประมาณ 163 มม. x 432 มม. | ประมาณ 168 มม. x 537 มม. |
น้ำหนัก | ประมาณ 3140 ก. | ประมาณ 3340 ก. |
[1] เมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ Extender RF 2x
[2] เมื่อใช้กับเลนส์ RF800mm f/5.6L IS USM และอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ RF1.4x
3 In the Yaw//Pitch directions ตามมาตรฐาน CIPA เมื่อใช้กับกล้อง EOS R/R5/R3