อัปเดตสถานการณ์โควิด-19 และมุมมองต่ออนาคตของสาธารณสุข
เมื่อ : 02 มี.ค. 2565 ,
799 Views
โควิด-19 เป็นสัญญาณทำให้ทั่วโลกตื่นตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมา เผยให้เห็นถึงจุดที่ระบบการรักษาพยาบาลและผู้ป่วย ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ช่องว่างที่เห็นได้ชัดในการป้องกันโรค และอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการในราคาที่เอื้อมถึงได้
ภาพรวมของสถานการณ์มีทิศทางบวกมากขึ้นเมื่อสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งมีอันตรายคุกคามน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา เพราะแม้ว่าการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลยังคงต่ำอยู่ การฉีดวัคซีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมโรค และแนวทางของประเทศไทยก็เป็นที่น่าชื่นชม จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ชีวิตแบบ New Normal (นิวนอร์มัล) จนทำให้สามารถเปิดประเทศได้อีกครั้ง
Sigal Atzmon
นางซิกัล อัทซ์มอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เมดิกซ์ โกลบอล กล่าว “แนวทางการรับมือโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนและรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ทั้งสำหรับรัฐบาล โรงพยาบาล ไปจนถึงระดับบุคคลและครอบครัว ซึ่งเมดิกซ์พร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือทุกเมื่อ เพราะสำหรับเราแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมรับมือสำหรับระลอกถัดไปและต้องจัดการให้ตรงจุด”
ทำความเข้าใจและรับมือกับภาวะลองโควิด (Long Covid)
ปัจจัยสำคัญด่านแรก คือ สุขภาพของแต่ละคน แต่อีกด้านหนึ่งของสมการก็คือ คนที่ติดเชื้อโควิดอาจต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก เรียกว่าภาวะหลังโควิด-19 หรือ ลองโควิด นั่นเอง โดยมี 3 อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ หายใจลำบาก ความผิดปกติของการรับรู้ (หรือสมองล้า) และความเหนื่อยล้า ซึ่งมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าประมาณ 4.5% ของผู้ที่ติดเชื้อโควิดอาจมีอาการเกี่ยวกับหัวใจในช่วง 30 วัน ถึง 1 ปี หลังจากติดเชื้อ นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับวงการสาธารณสุขไทย ที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนในอนาคตหลังจากภาวะโรคระบาดครั้งนี้
ในปัจจุบัน มีรายงานอาการต่าง ๆ มากกว่า 200 ลักษณะอาการในผู้ป่วยลองโควิด อาการที่พบ ได้แก่ เจ็บหน้าอก พูดลำบาก วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ สูญเสียการรับกลิ่น และสูญเสียการรับรส เป็นต้น โดยอาจจะมีอาการดังกล่าวประมาณ 3 – 9 เดือน ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก
เมดิกซ์เข้าใจดีว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องการการดูแลอย่างไร จึงสามารถให้แนวทางการฟื้นฟูด้วยศาสตร์แบบ สหสาขา เข้ามาช่วยผู้ป่วยลองโควิดได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีแนวการรักษาเป็นการเฉพาะเจาะจง
David Zeltser
นายแพทย์เดวิด เซลเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของเมดิกซ์ โกลบอล เสริมว่า “การตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงทดสอบการทำงานของปอด วิเคราะห์การทำงานของหัวใจ และการตรวจภาวะภูมิแพ้ ควบคู่ไปกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ครอบคลุมถึงการฝึกหายใจและออกกำลังกาย ตรวจวัดระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ รับวัคซีนและอาหารเสริมวิตามินเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึงแนวทางอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 เมื่อเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับลองโควิดและผลกระทบของภาวะนี้มากขึ้น ก็จะสามารถช่วยผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูจากอาการต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ ต้องระวังไม่ให้การ์ดตก จากงานวิจัยล่าสุดในวารสารวิทยาศาสตร์ Cell ระบุว่า ผู้ที่ยังมีเชื้อโคโรนาหลงเหลืออยู่ จะมีแอนติบอดีบางอย่างเกิดขึ้นมาต่อต้านเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของตนเอง (เรียกว่า ออโตแอนติบอดี) และการระบาดของไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus) ก็ดูจะเสี่ยงมากขึ้น ทีมนักวิจัยกว่า 50 คน พบว่ามีจุดที่สามารถบ่งชี้ได้แต่เนิ่น ๆ และมีแนวโน้มจะสัมพันธ์กับอาการที่ยังคงเป็นอยู่ ไม่ว่าการติดเชื้อนั้นจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม
อนาคตสำหรับประเทศไทย
เมื่อมีการฉีดวัคซีนและบูสเตอร์มากขึ้นทั่วโลก การรักษาก็มีความพร้อมขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มและสัญญาณที่ดีว่ากำลังมาถูกทางแล้ว แต่ทุกคนก็ยังต้องระวังอยู่ ประเทศไทยจะยิ่งได้รับผลในทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การพื้นตัวของเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร การจัดแสดงสินค้า และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ต่างเป็นอุตสาหกรรมจุดแข็งของไทย
แนวทางปัจจุบันของไทยที่เน้นเป้าหมายเป็นสำคัญนั้น มีความสมเหตุสมผล ทั้งจากอัตราการรับวัคซีน การติดตามและตรวจเชื้อ และสกัดกั้นมิให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว “ในระยะสั้นนี้ อาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง ทุกภาคส่วนก็ต้องช่วยกัน ทั้งคนไทยที่ช่วยส่งเสริมและลงทุนดูแลสุขภาพของตนเอง รัฐบาลและบริษัทประกันที่ลงทุนในระบบสาธารณสุขให้แข็งแกร่งจะช่วยพัฒนาพื้นฐานของระบบสาธารณสุขไทยให้ดีขึ้นได้” นางอัทซ์มอนกล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีใครพยากรณ์ได้ว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกเมื่อไรในอนาคต แต่ในเวลาที่คุณเตรียมพร้อม เมดิกซ์ จะเคียงข้างคุณไปในทุกย่างก้าว
ภาพรวมของสถานการณ์มีทิศทางบวกมากขึ้นเมื่อสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งมีอันตรายคุกคามน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา เพราะแม้ว่าการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลยังคงต่ำอยู่ การฉีดวัคซีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมโรค และแนวทางของประเทศไทยก็เป็นที่น่าชื่นชม จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ชีวิตแบบ New Normal (นิวนอร์มัล) จนทำให้สามารถเปิดประเทศได้อีกครั้ง
Sigal Atzmon
นางซิกัล อัทซ์มอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เมดิกซ์ โกลบอล กล่าว “แนวทางการรับมือโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนและรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ทั้งสำหรับรัฐบาล โรงพยาบาล ไปจนถึงระดับบุคคลและครอบครัว ซึ่งเมดิกซ์พร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือทุกเมื่อ เพราะสำหรับเราแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมรับมือสำหรับระลอกถัดไปและต้องจัดการให้ตรงจุด”
ทำความเข้าใจและรับมือกับภาวะลองโควิด (Long Covid)
ปัจจัยสำคัญด่านแรก คือ สุขภาพของแต่ละคน แต่อีกด้านหนึ่งของสมการก็คือ คนที่ติดเชื้อโควิดอาจต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก เรียกว่าภาวะหลังโควิด-19 หรือ ลองโควิด นั่นเอง โดยมี 3 อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ หายใจลำบาก ความผิดปกติของการรับรู้ (หรือสมองล้า) และความเหนื่อยล้า ซึ่งมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าประมาณ 4.5% ของผู้ที่ติดเชื้อโควิดอาจมีอาการเกี่ยวกับหัวใจในช่วง 30 วัน ถึง 1 ปี หลังจากติดเชื้อ นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับวงการสาธารณสุขไทย ที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนในอนาคตหลังจากภาวะโรคระบาดครั้งนี้
ในปัจจุบัน มีรายงานอาการต่าง ๆ มากกว่า 200 ลักษณะอาการในผู้ป่วยลองโควิด อาการที่พบ ได้แก่ เจ็บหน้าอก พูดลำบาก วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ สูญเสียการรับกลิ่น และสูญเสียการรับรส เป็นต้น โดยอาจจะมีอาการดังกล่าวประมาณ 3 – 9 เดือน ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก
เมดิกซ์เข้าใจดีว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องการการดูแลอย่างไร จึงสามารถให้แนวทางการฟื้นฟูด้วยศาสตร์แบบ สหสาขา เข้ามาช่วยผู้ป่วยลองโควิดได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีแนวการรักษาเป็นการเฉพาะเจาะจง
David Zeltser
นายแพทย์เดวิด เซลเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของเมดิกซ์ โกลบอล เสริมว่า “การตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงทดสอบการทำงานของปอด วิเคราะห์การทำงานของหัวใจ และการตรวจภาวะภูมิแพ้ ควบคู่ไปกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ครอบคลุมถึงการฝึกหายใจและออกกำลังกาย ตรวจวัดระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ รับวัคซีนและอาหารเสริมวิตามินเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึงแนวทางอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 เมื่อเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับลองโควิดและผลกระทบของภาวะนี้มากขึ้น ก็จะสามารถช่วยผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูจากอาการต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ ต้องระวังไม่ให้การ์ดตก จากงานวิจัยล่าสุดในวารสารวิทยาศาสตร์ Cell ระบุว่า ผู้ที่ยังมีเชื้อโคโรนาหลงเหลืออยู่ จะมีแอนติบอดีบางอย่างเกิดขึ้นมาต่อต้านเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของตนเอง (เรียกว่า ออโตแอนติบอดี) และการระบาดของไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus) ก็ดูจะเสี่ยงมากขึ้น ทีมนักวิจัยกว่า 50 คน พบว่ามีจุดที่สามารถบ่งชี้ได้แต่เนิ่น ๆ และมีแนวโน้มจะสัมพันธ์กับอาการที่ยังคงเป็นอยู่ ไม่ว่าการติดเชื้อนั้นจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม
อนาคตสำหรับประเทศไทย
เมื่อมีการฉีดวัคซีนและบูสเตอร์มากขึ้นทั่วโลก การรักษาก็มีความพร้อมขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มและสัญญาณที่ดีว่ากำลังมาถูกทางแล้ว แต่ทุกคนก็ยังต้องระวังอยู่ ประเทศไทยจะยิ่งได้รับผลในทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การพื้นตัวของเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร การจัดแสดงสินค้า และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ต่างเป็นอุตสาหกรรมจุดแข็งของไทย
แนวทางปัจจุบันของไทยที่เน้นเป้าหมายเป็นสำคัญนั้น มีความสมเหตุสมผล ทั้งจากอัตราการรับวัคซีน การติดตามและตรวจเชื้อ และสกัดกั้นมิให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว “ในระยะสั้นนี้ อาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง ทุกภาคส่วนก็ต้องช่วยกัน ทั้งคนไทยที่ช่วยส่งเสริมและลงทุนดูแลสุขภาพของตนเอง รัฐบาลและบริษัทประกันที่ลงทุนในระบบสาธารณสุขให้แข็งแกร่งจะช่วยพัฒนาพื้นฐานของระบบสาธารณสุขไทยให้ดีขึ้นได้” นางอัทซ์มอนกล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีใครพยากรณ์ได้ว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกเมื่อไรในอนาคต แต่ในเวลาที่คุณเตรียมพร้อม เมดิกซ์ จะเคียงข้างคุณไปในทุกย่างก้าว