อินโดรามา เวนเจอร์ส เข้าซื้อหุ้นบริษัท UCY Polymers CZ s.r.o. (UCY) ร้อยละ 85 ความร่วมมือครั้งใหม่นี้ จะสามารถรีไซเคิลขวดเครื่องดื่ม PET ในสาธารณรัฐเช็ก ได้กว่า 1,600 ล้านขวดภายในปี 2568
เมื่อ : 21 ก.พ. 2565 ,
911 Views
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 18 กุมภาพันธ์ 2565 – บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือไอวีแอล ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก เสร็จสิ้นการเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 85 ในบริษัท UCY Polymers CZ s.r.o. (UCY) ผู้รีไซเคิลพลาสติก PET ที่มีฐานการผลิตในสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมุ่งมั่นในการเก็บรวบรวมพลาสติกใช้งานเพื่อนำไปรีไซเคิลให้มากขึ้นทั้งในประเทศและภูมิภาคยุโรป
ผลจากการลงทุนครั้งนี้จะทำให้ไอวีแอลสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติก PET (polyethylene terephthalate) ใช้งานแล้วในสาธารณรัฐเช็กได้เพิ่มขึ้นอีก 1,120 ล้านขวดต่อปี และภายในปี 2568 ไอวีแอลจะสามารถเพิ่มจำนวนการรีไซเคิลทั้งในสาธารณรัฐเช็ก เยอรมัน และยุโรปตอนกลางได้เป็น 1,600 ล้านขวดต่อปี สอดคล้องกับเป้าหมายของไอวีแอล ในฐานะบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่กำลังลงทุนมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขยายโรงงานรีไซเคิลและการผลิตที่ยั่งยืนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลของบริษัทฯ เป็น 750,000 ตันต่อปีภายในปี 2568
การลงทุนใน UCY มีความเหมาะสมในเชิงกลยุทธ์สำหรับไอวีแอล เนื่องจากเป็นการขยายธุรกิจในลักษณะการบูรณาการย้อนกลับ (backward integration) เพื่อช่วยในการจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิล (rPET) อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ rPET ของไอวีแอลทั้งในทวีปยุโรปและทั่วโลก โดย UCY สามารถผลิตเกล็ดพลาสติก PET ได้ 40,000 ตันต่อปี ไอวีแอลจะสามารถพัฒนา UCY ให้ตอบสนองความต้องการต่อการใช้ PET รีไซเคิลที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรปได้เป็นอย่างดี
UCY จะทำงานร่วมกับโรงงานผลิตเกล็ดพลาสติก PET แห่งอื่นๆ ของไอวีแอลที่ดำเนินการอยู่แล้วในภูมิภาค โดยจะนำขวด PET ที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลจนได้เกล็ดพลาสติก PET ที่สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจาก PET เป็นวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด อีกทั้งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกเก็บรวบรวมเพื่อนำไปรีไซเคิลมากที่สุดในยุโรป
นายดีเค อากาวาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ไอวีแอลจะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของเราในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มให้ได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนของเรา ไอวีแอลกำลังสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลที่จำเป็นต่อการลดจำนวนขยะ PET ในสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลขวด PET ที่ผ่านการใช้งานแล้วให้กลายเป็นขวดใหม่ถือเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วัสดุใช้งานแล้ว แนวทางการดำเนินงานเช่นนี้จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบจัดเก็บขยะให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่มีของเสียน้อยลงและสะอาดยิ่งขึ้น”
นายยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความร่วมมือของเราในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศของการรีไซเคิลในสาธารณรัฐเช็ก การเติบโตเช่นนี้เกิดขึ้นได้จากความมุ่งมั่นของลูกค้าของเราที่มีต่อการรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มใช้งานแล้วให้เป็นขวดใหม่อีกครั้ง ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลอันเป็นที่ต้องการในยุโรป”
นาย Maximilian Josef Söllner, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UCY กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าความสามารถในการจัดหาขวดเครื่องดื่มใช้งานแล้วที่กว้างขวาง เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์จะช่วยส่งเสริมไอวีแอล ซึ่งหากเทียบกับปัจจุบัน การขยายกำลังการรีไซเคิลของไอวีแอลให้ได้ตามเป้าหมายปี 2568 ยังจะต้องมีขวดเครื่องดื่มอีกจำนวน 896 ล้านขวดต่อปีที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”
ผลจากการลงทุนครั้งนี้จะทำให้ไอวีแอลสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติก PET (polyethylene terephthalate) ใช้งานแล้วในสาธารณรัฐเช็กได้เพิ่มขึ้นอีก 1,120 ล้านขวดต่อปี และภายในปี 2568 ไอวีแอลจะสามารถเพิ่มจำนวนการรีไซเคิลทั้งในสาธารณรัฐเช็ก เยอรมัน และยุโรปตอนกลางได้เป็น 1,600 ล้านขวดต่อปี สอดคล้องกับเป้าหมายของไอวีแอล ในฐานะบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่กำลังลงทุนมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขยายโรงงานรีไซเคิลและการผลิตที่ยั่งยืนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลของบริษัทฯ เป็น 750,000 ตันต่อปีภายในปี 2568
การลงทุนใน UCY มีความเหมาะสมในเชิงกลยุทธ์สำหรับไอวีแอล เนื่องจากเป็นการขยายธุรกิจในลักษณะการบูรณาการย้อนกลับ (backward integration) เพื่อช่วยในการจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิล (rPET) อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ rPET ของไอวีแอลทั้งในทวีปยุโรปและทั่วโลก โดย UCY สามารถผลิตเกล็ดพลาสติก PET ได้ 40,000 ตันต่อปี ไอวีแอลจะสามารถพัฒนา UCY ให้ตอบสนองความต้องการต่อการใช้ PET รีไซเคิลที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรปได้เป็นอย่างดี
UCY จะทำงานร่วมกับโรงงานผลิตเกล็ดพลาสติก PET แห่งอื่นๆ ของไอวีแอลที่ดำเนินการอยู่แล้วในภูมิภาค โดยจะนำขวด PET ที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลจนได้เกล็ดพลาสติก PET ที่สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจาก PET เป็นวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด อีกทั้งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกเก็บรวบรวมเพื่อนำไปรีไซเคิลมากที่สุดในยุโรป
นายดีเค อากาวาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ไอวีแอลจะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของเราในการเพิ่มกำลังการรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มให้ได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนของเรา ไอวีแอลกำลังสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลที่จำเป็นต่อการลดจำนวนขยะ PET ในสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลขวด PET ที่ผ่านการใช้งานแล้วให้กลายเป็นขวดใหม่ถือเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วัสดุใช้งานแล้ว แนวทางการดำเนินงานเช่นนี้จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาระบบจัดเก็บขยะให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่มีของเสียน้อยลงและสะอาดยิ่งขึ้น”
นายยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความร่วมมือของเราในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศของการรีไซเคิลในสาธารณรัฐเช็ก การเติบโตเช่นนี้เกิดขึ้นได้จากความมุ่งมั่นของลูกค้าของเราที่มีต่อการรีไซเคิลขวดเครื่องดื่มใช้งานแล้วให้เป็นขวดใหม่อีกครั้ง ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลอันเป็นที่ต้องการในยุโรป”
นาย Maximilian Josef Söllner, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UCY กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าความสามารถในการจัดหาขวดเครื่องดื่มใช้งานแล้วที่กว้างขวาง เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์จะช่วยส่งเสริมไอวีแอล ซึ่งหากเทียบกับปัจจุบัน การขยายกำลังการรีไซเคิลของไอวีแอลให้ได้ตามเป้าหมายปี 2568 ยังจะต้องมีขวดเครื่องดื่มอีกจำนวน 896 ล้านขวดต่อปีที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”